Skip to main content

ฮัสซัน  โตะดง 

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( DSJ)

 

 

อ

 

 ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ  วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ราชการจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า พายุวาชิอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและจะเข้าประเทศมาเลเซีย  ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา และ บางพื้นที่จังหวัดปัตตานี อาจจะมีฝนตกหนักมากใช่ช่วงวันที่ 21- 23 เดือนธันวาคม 2554 นี้

ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ  กล่าวว่า  หากเกิดฝนตกหนักพื้นที่ท้ายเขื่อนบางลาง อำเภอบังนันสตา จังหวัดยะลา อาจส่งผลให้แม่น้ำปัตตานีมีปริมาณน้ำเพิ่ม ทำให้บางพื้นที่จังหวัดปัตตานี  เกิดน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่ท่วมซ้ำซาก เช่น พื้นที่ตำบลปากาฮะรัง บาราเฮาะ ตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

         นายปัญญาศักดิ์ โสภณวสุ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จังหวัดปัตตานี มีการเตรียมความพร้อมในการรับมืออุทกภัย ได้แก่ เรือท้องแบน  30 กว่าลำ เครื่องสูญน้ำขนาดใหญ่ 3 เครื่อง และสุขาลอยน้ำ  25 หลัง Anchor

 

 

 สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศเตือนภัยพายุ “วาชิ” ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 20 ธันวาคม 2554 พายุโซนร้อน “วาชิ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว และจะเคลื่อนตัวเข้าประเทศมาเลเซีย ในวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2554 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลระวังอันตรายจากคลื่นสูงและลมแรงที่พัดเข้าฝั่ง สำหรับชาวเรือขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 21-22 ธันวาคม 2554

อนึ่ง ในระยะ 1-2 วันนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง

แต่ในวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2554 จะมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่เสริมปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้ง ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย

สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตะวันออก

พยากรณ์อากาศตั้งแต่เวลา 17:00 น.20 ธันวาคม - 17:00 น.21 ธันวาคม 2554

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

          ส่วนสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า วันที่ 20 ธันวาคม - 26 ธันวาคม 2554    

คาดหมายว่าในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 24-26 ธ.ค.

ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 30-50 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 3-5 เมตร

ส่วนสภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตะวันตก

พยากรณ์อากาศ ตั้งแต่เวลา 17:00 น.20 ธันวาคม - 17:00 น.21 ธันวาคม 2554

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

         

ส่วนสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า วันที่ 20 ธันวาคม - 26 ธันวาคม 2554

ในช่วงวันที่ 20-23 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ในช่วงวันที่ 24-26 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่