Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">

                     

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม

 

 

“ คลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ หัวหิน-ชุมพร-สมุยยับ” 

“หมู่บ้านชายทะเลชุมพรถูกคลื่นซัดเสียหายหนัก”

“คลื่นยักษ์ซัดบ้านหัวแหลมชุมพรเร่งอพยพประชาชน”

“คลื่นสูงถล่มชายหาดในหลายจังหวัดภาคใต้ ประชาชนเร่งอพยพ”

เป็นพาดหัวข่าวของสำนักข่าวต่างๆ ที่นำเสนอถึงปรากฏการณ์คลื่นลมรุนแรงยังพัดกระหน่ำชายฝั่งอ่าวไทย ด้วยอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดในรอบปี ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกก่อให้เกิดภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง ยิ่งมีความซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น ตั้งแต่ 2505 พายุแฮเรียตพัดขึ้นฝั่งถล่มแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 2532 พายุใต้ฝุ่นเกย์พัดถล่มหลายพื้นที่ในจังหวัดชุมพร 2540 พายุลินดาถล่ม ซ้ำจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี 2552 พายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มประเทศพม่า พายุดีเปรสชั่นเมื่อปลายปี 2553 รวมถึงเหตุการณ์กลางปี 2554 ที่มรสุมถล่มภาคใต้เกือบทั้งภาค

เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 26 ธันวาคม 2554 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกประกาศเตือนภัย ฉบับที่ 7 (105/ 2554)เรื่อง คลื่นลมแรงในอ่าวไทย ระบุว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ความสูงของคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลของภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือและชาวประมงเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในวันที่ 26-28 ธันวาคม 2554

 

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ตอนที่มีเค้าลางว่ามรสุมจะพัดผ่านภาคใต้ ทำให้นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มีคำสั่งตั้งศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่ม จังหวัดชุมพร ขึ้นที่ห้องประชุมเกาะทองหลาง ศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 3  ทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ เพื่อให้การเตรียมการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือฟื้นฟู ทั้งระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย หลังเกิดภัย เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

พร้อมแจ้งให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการตั้งศูนย์อำนวยการฯ แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน สำรวจกำลังอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ชุดกู้ชีพกู้ภัย (otos) และสำรวจอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันเหตุและบรรเทาสาธารณภัยอยู่ในสภาพพร้อมในการปฏิบัติงาน                                    

 

 

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร
บอกถึงการแบ่งพื้นที่ของคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ ว่า นายสุรพล วาณิชเสนี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รับผิดชอบพื้นที่เขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รับผิดชอบพื้นที่เขตอำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก และอำเภอหลังสวน ส่วนนายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา ปลัดจังหวัดชุมพร รับผิดชอบพื้นที่เขตอำเภอพะโต๊ะ และอำเภอละแม

         นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานเผชิญเหตุ ซึ่งมีนายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานคณะทำงานฯ มีหน้าที่  มีหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่ม โดยมีฝ่ายวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์คอยแจ้งให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกวัน

พร้อมทั้งประสานข้อมูลจากอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่ เครือข่ายอาสาสมัคร และรับแจ้งเหตุจากประชาชน แล้วนำข้อมูลดังกล่าวส่งให้ฝ่ายวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ประมวลข้อมูลสถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือ รายงานศูนย์อำนวยการฯ

จัดชุดกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ช่วยเหลือและบรรเทาภัย ทันทีเมื่อได้รับการร้องขอ ประชาสัมพันธ์ในภาวะฉุกเฉิน ประสานงานการขอรับการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะ และวัสดุอุปกรณ์ ในช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ทั้งนี้ยังประสานการขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคจากศูนย์อำนวยการฯ ไปยังพื้นที่เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย สนับสนุนการอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย และจัดหา ที่พักอาศัยชั่วคราว รวมทั้งจัดหาสาธารณูปโภคให้แก่ผู้ประสบภัย พร้อมทั้งจัดหน่วยค้นหาผู้ที่สูญหาย

ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกถึงกระบวนการแจ้งเตือนว่า คณะทำงานประจำศูนย์บริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่ม จังหวัดชุมพร จะมีฝ่ายวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาชุมพร เป็นประธานคณะทำงานฯ มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น เรดาร์ตรวจอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่อากาศ สถานีวัดปริมาณน้ำฝน และเส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อน ข้อมูลปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำสาขา ของโครงการชลประทานชุมพร

“ข้อมูลแจ้งเตือนภัยดินและหินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ของอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครและประชาชน โดยฝ่ายติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้ประสานการเฝ้าระวัง ติดตาม การรายงานข้อมูลทางด้านอุทกภัยเขตชุมชน เส้นทางคมนาคม วาตภัย ดินและหินถล่ม และรับแจ้งเหตุ”

ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกว่า ถ้านำข้อมูลมาวิเคราะห์ถามีแนวโน้มระดับรุนแรงจะมีการแจ้งเตือนโดยฝ่ายสื่อสาร แจ้งเตือนภัยและประชาสัมพันธ ที่มีนายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา ปลัดจังหวัดชุมพร เป็นประธานฯ ซึ่งมีหน้าที่ประกาศแจ้งเตือนภัยและประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารทุกช่องทาง อาทิ วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ส่งข้อความยังโทรศัพท์มือถือ (SMS) ฯลฯ

“ส่งข้อความสั้น (SMS) ผ่านโทรศัพท์มือถือ  ไปยังเครือข่ายอาสาสมัครมิสเตอร์เตือนภัย และเครือข่ายชุมชนเป็นฐาน (CBDRM) แจ้งเตือนทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ที่มีอยู่ในพื้นที่ทุกสถานี เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยาจังหวัดชุมพร สถานีวิทยุชุมชน ศูนย์วิทยุสมัครเล่น VR สถานีวิทยุโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 สถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลท้องถิ่น เป็นต้น”

หากเกิดเหตุขัดข้องว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกว่า ให้แจ้งเตือนผ่านทางระบบวิทยุสื่อสาร ที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานในพื้นที่และเครือข่าย แล้วแจ้งข้อมูลให้ฝ่ายติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อทราบและจะได้เตรียมปฏิบัติการ และประสานความร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่

“ส่วนฝ่ายติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีหน้าที่ติดตามปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเขตชุมชน เส้นทางคมนาคม วาตภัยและภัยทางทะเล ดินและหินถล่ม และประสานความร่วมมือ ทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องจักรกล ยานพาหนะ อุปกรณ์ เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีโดยประสานข้อมูลจากอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอาสาสมัคร” ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอก

ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกถึงการเตรียมพร้อมด้วยการให้ความรู้และอบรมว่า มีการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการเครือข่ายชุมชนเป็นฐาน (CBDRM อบรมสมาชิกอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 12,000 กว่าคน ทีมกู้ชีพกู้ภัยท้องถิ่นละ 10 คน อบรมอาสาสมัครมิสเตอร์เตือนภัย นอกจากนี้เรายังมีการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติต่างๆ ทุกปี

ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกถึงอุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า มีเรือท้องแบน 10  ลำ ซึ่งสามารถขอสนับสนุนจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี ได้อีกหากไม่เพียงพอในการช่วยเหลือชาวบ้าน

ว่าที่ร้อยตรีตระกูล บอกเกี่ยวกับการประสานงานขุดลอกร่องน้ำว่า มีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ในการขุดลอกคู คลอง ท่อระบายน้ำ เพื่อให้น้ำระบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้เพียงในระดับหนึ่ง

นี่คือแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดชุมพร ในขณะที่สภาพอากาศยากจะพยากรณ์ พร้อมเกิดภัยพิบัติได้ทุกเมื่อ