มีณา เหตุหาก
นักศึกษาฝึกงาน
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
ในช่วงวันที่ 25 – 26 ธันวาคม 2554 ได้เกิดเหตุการณ์คลื่นทะเลซัดพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่ง ตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาสเสียหายหนัก ทุกคนจึงตั้งคำถามว่ามันเกิดปรากฏการณ์อะไรขึ้นในช่วงประจวบเหมาะกับวัน ที่ 26 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบ 7 ปีภัยพิบัติสึนามิ
ต่อไปคือการอธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าว โดย ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจาย์ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งจบปริญญาเอก normal">ด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี
..........................................
อ.สมพร ช่วยอารีย์
การเกิดคลื่นซัดฝั่งพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก จากประจวบคีรีขันธ์ ถึงนราธิวาสในช่วงวันที่ 25 -26 ธันวาคม 2554 ว่าเกิดจาก 5 ปัจจัย คือ
ปัจจัยแรก เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด ซึ่งจะเกี่ยวกับแรงดึงดูดของโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ในช่วงแรม 14 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม 2554 และขึ้น 1 ค่ำ ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม 2554
เนื่องจาก ในช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง สูงสุด ในรอบเดือนจะเกิดขึ้นสองครั้งคือช่วงข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ ซึ่งโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ จะเรียงตัวกันในแนวเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงวันที่ 25 ธันวาคม 2554 ซึ่งตรงกับแรม 14 ค่ำ และตามด้วยขึ้น 1 ค่ำ ในวันที่ 26 ธันวาคม ดวงจันทร์จะอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุดทำให้พื้นที่น้ำทะเลที่ห่อหุ้ม เปลือกโลกจะนูนขึ้นในด้านที่หันเข้าหาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั่นเอง
ปัจจัยที่สอง เกิดจากมีคลื่นลมทะเลแรงเนื่องมาจากมวลอากาศเย็นพัดลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยทำให้ภาคใต้เกิดคลื่นลมทะเลแรงขึ้น
เนื่องจาก คลื่นลมทะเลแรงเนื่องจากมวลอากาศเย็นพัดลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคอีสาน ในช่วงวันที่25-26 ธันวาคม2554 ทำให้ภาคใต้มีคลื่นลมแรงไปผนวกกับปัจจัย ที่ 1 จะทำให้คลื่นลมทะเลมีความสูงเพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่สาม เกิดคลื่นใต้น้ำเนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทะเลจีนใต้มา อย่างต่อเนื่องยาวนานและด้วยระยะทางที่ไกลเกิดเป็นคลื่นใต้น้ำ ซึ่งคลื่นใต้น้ำคลื่นที่มีความยาวคลื่นยาวและเป็นพลังงานที่เคลื่อนที่เข้า หาฝั่งมาอย่างต่อเนื่องโดยมีน้ำทะเลเป็นตัวกลางและจะทำให้คลื่นใต้น้ำไปแตก กระจายในพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ทำให้มีพลังในการซัดบริเวณชายฝั่งรุนแรงขึ้น ซึ่งเราเรียกคลื่นชนิดนี้ว่าสเวล (swell)
เนื่องจาก คลื่นใต้น้ำดังกล่าวจะร่วมกับปัจจัยที่ 1 และ 2 ทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งบางพื้นที่จะมีสิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือนบริเวณชายหาด
ปัจจัยที่สี่ เกิดจากอิทธิพลจากพายุไซโคลน THANE หรือธานี ที่เคลื่อนที่อยู่ในบริเวณอ่าวเบงกอล ซึ่งหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาและมีความสามารถในการดึงไอน้ำ และทิศทางลมไปร่วมในการเพิ่มพลังให้กับตัวเอง ส่งผลให้ลมมีความเร็วขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลต่อความแรงของคลื่นลมทะเลตามมา
ปัจจัยที่ห้า ความลาดชันของพื้นที่บริเวณชายหาด ซึ่งชายหาดจะเป็นลักษณะที่เป็นแหลมหรือเป็นอ่าว สลับกันไปตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ถึงนราธิวาส
เนื่องจาก ลักษณะความลาดชันของเป็นพื้นที่ชายหาดจะมีพื้นที่เป็นลักษณะแหลมที่ยื่นออก ไปในทะเล และพื้นที่ลักษณะอ่าวที่เว้าเข้ามาระหว่างแหลม การเคลื่อนที่ของคลื่นลมทะเลจะเคลื่อนที่เข้าหาชายฝั่งในพื้นที่ลักษณะ พื้นที่ที่เป็นแหลมโดยการวิ่งเข้าไปชนบริเวณปลายแหลม และจะเคลื่อนที่กระจายบริเวณอ่าว อันเนื่องจากคลื่นจะเคลื่อนที่เข้าไปในทิศตั้งฉากกับเส้นความลึกของน้ำซึ่ง อาจจะมีลักษณะพาดเป็นเส้นขนานกับบริเวณชายฝั่งโดยส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ชายฝั่งที่เป็นแหลมจะได้รับคลื่นซัดฝั่งที่มีความสูง 3-5 เมตรได้ ส่วนพื้นที่บริเวณอ่าวจะได้รับคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร
เหตุการณ์ทั้ง 5 ปัจจัยนี้ เกิดขึ้นในเวลาประจวบเหมาะที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์คลื่นซัดบริเวณชายฝั่ง ทะเลรุนแรงขึ้น นั่นคือจะต้องมีการเฝ้าระวังและพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ในอนาคตที่อาจจะส่งผล ให้เกิดขึ้นได้อีก ตลอดจนการวางแผนในการใช้ชีวิตในพื้นที่บริเวณชายหาดต่อไป เพื่อลดความสูญเสียทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน