Skip to main content

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ (DSJ)

 

เวทีสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ระหว่างวันที่ 4–5 มกราคม 2555 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดเปิดฉากวันแรกของงาน ด้วยการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายใน 2 ประเด็นย่อย ด้านยุติธรรมสมานฉันท์

ประเด็นแรก ว่าด้วยเรื่องกระบวนการเยียวยา

ประเด็นที่สอง ว่าด้วยเรื่องการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงหลากหลายฉบับ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548

เพื่อความคมชัดของข้อเสนอ ในวันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2554 นางสาวลม้าย มานะการ ผู้ประสานงานโครงการวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ กับนายนายอาดีลัน อาลีอิสเฮาะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดสงขลา 2 ตัวแทนคณะทำงานจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านยุติธรรมสมานฉันท์ ของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ที่รับผิดชอบจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย จะประมวลรายละเอียดมานำเสนอให้คณะทำงานจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านยุติธรรมสมานฉันท์ พิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย

 

ลม้าน

 

minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">                             
ลม้าย มานะการ

สำหรับประเด็นเยียวยานั้น นางสาวลม้าย มานะการ บอกว่า เตรียมนำเสนอข้อมูลการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งของภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยจะเน้นข้อมูลการเยียวยาของภาคประชาสังคมเป็นด้านหลัก

สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นางสาวลม้าย มานะการ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก

หนึ่ง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับต่างๆ โดยเฉพาะพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548

สอง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สาม กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงที่ไม่ได้รับการดูแลจากการกลไกการเยียวยาภาครัฐ

กลุ่มที่จะเน้นเป็นพิเศษคือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับต่างๆ

เนื้อหาที่จะนำมาจัดเตรียมทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย มีทั้งสถิติการสูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด ข้อมูลส่วนนี้ได้มาจากองค์ที่ทำหน้าที่รวบรวมสถิติการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 ส่วนหน้า ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถิติคดีจากพนักงานอัยการ และปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาล เป็นต้น

เนื่องจากแหล่งข้อมูลมาจากหลายภาคส่วน คณะทำงานด้านยุติธรรมสมานฉันท์ จึงต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาย่อย จากนั้นประเมินว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ควรจะดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

ถึงกระนั้นผู้เข้าร่วมเวทีสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ยังสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมข้อเสนอดังกล่าวได้

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้มา นอกจากจะนำเสนอต่อคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่มีศาสตราจารย์ประเวศ วะสี เป็นประธานแล้ว ยังจะเสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วย

ถึงเวลานี้ นางสาวลม้าย มานะการ แย้มให้ฟังว่า ประเด็นสำคัญที่คณะทำงานยุติธรรมสมานฉันท์สนใจเป็นพิเศษคือ กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบที่ไม่เข้าเกณฑ์ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ อันเป็นผลมาจากเงื่อนไขที่กำหนดมาจาก “คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้” หรือกยต.

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น นางสาวลม้าย มานะการ ยกตัวอย่างกรณีประชาชนถูกทำร้ายในพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าสาเหตุที่ถูกทำร้ายมาจากความขัดแย้งส่วนตัว ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว หรือเกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบ ก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้ถูกทำร้ายด้วยสาเหตุส่วนตัว จะไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ ซึ่งคณะทำงานยุติธรรมสมานฉันท์มองว่าไม่เป็นธรรม จึงต้องการให้รัฐรับบุคคลเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการเยียวยาด้วย

อีกกรณีก็คือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นกลุ่มที่คณะทำงานยุติธรรมสมานฉันท์เห็นว่า เป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้รับการเยียวยา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ก็ไม่ควรได้รับการเยียวยาอย่างยิ่ง

ในส่วนของประเด็นการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงหลายฉบับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นางสาวลม้าย มานะการ เปิดเผยว่า ทั้งข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย และข้อมูลที่ได้จากภาครัฐมีความแตกต่างกัน ที่เห็นได้ชัดคือ กรณีการต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ขณะที่ข้อมูลจากงานวิจัยของนักวิชาการจะออกมาเป็นเชิงข้อเสนอมากกว่า ไม่ได้ระบุออกมาชัดเจนว่า ต้องการหรือไม่ต้องการให้บังคับใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

“นักวิชาการส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็งของการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 จุดอ่อนคือ การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ทำให้จ้าหน้าที่มีอำนาจไม่จำกัด ส่งผลให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย และผลการศึกษาโดยศูนย์ทนายความมุสลิมก็รายงานผลชัดว่า เกิดการละเมิดสิทธิผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในระหว่างกระบวนการกักตัวเพื่อสอบถามข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ส่วนข้อเสนอจากนักวิชาการ จะเป็นข้อเสนอกลางๆ ที่มีทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็งของการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งจุดอ่อนที่ระบุคือ การใช้กฎหมายดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไม่จำกัด ส่งผลให้เกิดการละเมิดได้ง่าย ส่วนจุดแข็งคือ ลดความยุ่งยากในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้นและควบคุมผู้กระทำผิด

ขณะที่หน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่จะออกมาชัดเจนว่า ต้องการให้นำพระราชกำหนดฉบับนี้มาบังคับใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะหน่วยงานตำรวจและทหาร

อันเป็นคำตอบที่แตกต่างไปจากความเห็นของภาคประชาสังคมที่ระบุชัดเจนว่า กฎหมายความมั่นคงหลากหลายฉบับที่นำมาบังคับใช้ เป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นได้ชัดเจนจากผลการศึกษาของศูนย์ทนายความมุสลิมที่ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ต้องสงสัยและผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่

ข้อเสนอจึงออกมาชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 อีกต่อไป

 

d

 

minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">                            
  อาดีลัน อาลีอิสเฮาะ

ในขณะที่นายอาดีลัน อาลีอิสเฮาะ หนึ่งในคณะทำงานยุติธรรมสมานฉันท์ ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำข้อเสนอประเด็นการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงหลากหลายฉบับ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 บอกว่า จัดทำข้อเสนอประเด็นนี้ร่วมกับนายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ ประธานศูน์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี นายสุทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

ทนายความทั้ง 3 ทำหน้าที่รวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรายงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาคดีความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด จากนั้นนำมาย่อยจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความมุสลิม จะเน้นไปที่ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายไปละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการใช้กฎหมายอย่างกว้างขวาง โดยพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ระบุไว้ด้วยว่า ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำการละเมิดประชาชนได้

นอกจากนี้ 3 ทนายความชุดนี้ ยังได้รวบรวมข้อเสนอจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงมุมมองของชาวบ้านต่อการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548

เสียงสะท้อนจากประชาชนแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงหลากหลายฉบับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

“ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความมุสลิมมักจะได้รับข้อร้องเรียนจากชาวบ้านว่า ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการซ้อมทรมานในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายไปเชิญตัวนำมาควบคุม เพื่อสอบถามข้อมูล ในระหว่างถูกควบคุมตัวมักจะถูกซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ หรือให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่” เป็นคำบอกเล่าจากนายอาดีลัน อาลีอิสเฮาะ

ผลก็คือชาวบ้านที่ที่ถูกซ้อมให้รับสารภาพ จะถูกตั้งข้อหา นำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ละคนจะถูกกักขังเป็นเวลานานหลายปี กว่าจะสิ้นสุดกระบวนการในชั้นศาล

แน่นอน ส่วนใหญ่จะถูกยกฟ้องเพราะขาดพยานหลักฐาน

กรณีเช่นนี้ภาคประชาสังคมมองว่า เข้าข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ อันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม จึงสมควรได้รับการเยียวยา ทว่า ภาครัฐกลับไม่ยอมเยียวยาบุคคลกลุ่มนี้

“เนื่องจากการเยียวยามีหลายมิติ ไม่ใช่เพียงชดใช้ชดเชยด้วยเงินเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการนำเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดมาลงโทษด้วย เราจึงต้องการให้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง ด้วยการนำเจ้าหน้าที่กระทำการละเมิดสิทธิผู้ถูกควบคุมตัวมาลงโทษตามกฎหมาย” นายอาดีลัน อาลีอิสเฮาะ กล่าว

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลและข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่จะถูกนำเสนอบนเวทีสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ในวันที่ 4 มกราคม 2555