โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก เจอภัยน้ำท่วมรับปีใหม่ 2555 สงขลา พัทลุง ยะลา อ่วม น้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ “นักวิชาการ – ศูนย์อุตุนิยม 2 ฝั่งทะเลภาคใต้” ออกโรงเตือนประชาชน ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
สมพร ช่วยอารีย์
เตือนภัยน้ำท่วมภาคใต้
ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศของภาคใต้ ด้ายฝั่งทะเลตะวันออกในขณะนี้ ให้ประชาชนระวังเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าป่าไหลหลาก และดินถล่มในหลายพื้นที่ เนื่องจากอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียตอนบน ทำให้เกิดฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง
ดร.สมพร เปิดเผยอีกว่า ทั้งนี้ ภาคใต้บริเวณฝั่งทะเลตะวันออกตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส มีฝนตกหนักถึงหนักมาก จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2554 ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ตั้งแต่จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีฝนหนักถึงหนักมาก จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2554
ดร.สมพร กล่าวว่า พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พื้นที่จังหวัดปัตตานี พัทลุง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชที่มีน้ำท่วมอยู่ จะต้องเฝ้าระวังน้ำเหนือจากปริมาณน้ำฝนจากเทือกเขาต้นน้ำที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ไหลลงมาสมทบกับน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ เพราะหากระบายน้ำไม่ทันอาจเกิดน้ำท่วมหนักได้
ระวังคลื่นใหญ่ซัดฝั่ง
ดร.สมพร กล่าวว่า นอกจากนี้บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส รวมถึงจังหวัดทางฝั่งทะเลตะวันตกตอนล่างคือ จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ ให้ระมัดระวังดินโคลนถล่ม เนื่องจากหลายพื้นที่ในจังหวัดเหล่านี้ มีรอยปริร้าวเดิม หากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามาก ดินอาจจะไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้ ส่วนภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยให้ระมัดระวัง อาจจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตรซัดเข้าชายฝั่งได้
เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 1 มกราคม 2555 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 3 (1/2555) เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง มีเนื้อหาว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียตอนบน ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมา มีฝนชุกหนาแน่น และมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ ในระหว่างวันที่ 1–2 มกราคม 2555
สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2–3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลของภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือและชาวประมงให้เดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้พยากรณ์อากาศภาคใต้ฝั่งตะวันออกว่า ตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันที่ 1 มกราคม 2555–12.00 น. วันที่ 2 มกราคม 2555 ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22–25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29–32 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15–35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 1–2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20–40 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 2–3 เมตร
อากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555–วันที่ 7 มกราคม 2555 คาดหมายว่า ในช่วงวันที่ 1–2 มกราคม 2555 ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20–23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 29–31 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20–35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60–70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20–45 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 2–4 เมตร
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ช่วงวันที่ 3 mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> – 7 มกราคม 2555 มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายร้อยละ 30–40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20–40 กิโลเมตร/ชั่วโมง อ่าวไทยตอนบนสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 2–3 เมตร
"Times New Roman"">
"Times New Roman"">ทะเลฝั่งอันดามันก็โดน
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ต่อมา เวลา 10.00 น. วันที่ 1 มกราคม 2555 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ออกประกาศเตือนภัยฉบับที่ 1 (1/2555) เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีเนื้อหาว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลาง พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้บริเวณจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูลมีฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ในบางพื้นที่
"Times New Roman"">ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะ 1 mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">–2 วันนี้
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตะวันตกว่า ตั้งแต่เวลา 12.00 น วันที่ 1 มกราคม 2555–12.00 น.วันที่ 2 มกราคม 2555 มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22–25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32–33 องศา ลมตะวันออกความเร็ว 15–35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
อากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555–วันที่ 7 มกราคม 2555 คาดหมายว่า ในช่วงวันที่ 1–2 มกราคม 2555 มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายร้อยละ 30–40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22–24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31–33 องศา ลมตะวันออกความเร็ว 20–35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 3–7 มกราคม 2555 มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10–20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15–35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่ง 1–2 เมตร
สงขลาอ่วมเจอน้ำท่วมฉับพลัน
รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาแจ้งว่า นับตั้งแต่คืนวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เป็นต้นมา ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักในหลายจังหวัดด้านฝั่งทะเลตะวันออก (ฝ่ะงอ่าวไทย) และตกลงอย่างต่อเนื่องตลอดวันและคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และวันที่ 1 มกราคม 2555 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในบางจังหวัด
สำหรับจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมฉับพลันไปแล้วคือ จังหวัดสงขลา 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสงขลา อำเภอสะเดา อำเภอจะนะ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาทวี อำเภอนาหม่อม อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอคลองหอยโข่ง ปริมาณฝนตกหนักมากที่สุดที่อำเภอสะเดา วัดได้ 301 มิลลิเมตรตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ 07.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2554โมง จนถึง 07.00 น. วันนี้ 1 มกราคม 2555 สำหรับอำเภอสะเดา เป็นพื้นที่ต้นน้ำคลองอู่ตะเภา ที่ไหลผ่านกลางเมืองหาดใหญ่
เมืองหาดใหญ่เตรียมอพยพ
ล่าสุด ทางจังหวัดสงขลาได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจสภาพความเสียหายและช่วยเหลือประชาชนใน 8 อำเภอแล้ว ทั้งนี้มีหลายพื้นที่สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมกะทันหัน ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 มกราคม 2555 เช่น หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 7 ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ น้ำป่าจากเขาแก้ว เทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักเข้าท่วมถนนและบ้านเรือนของชาวบ้านโดยไม่ทันตั้งตัว ปริมาณน้ำไหลทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฝนยังคงตกหนัก
ขณะเดียวกัน บริเวณถนนกาญจนวานิช เส้นทางสายหลักจากอำเภอหาดใหญ่ไปยังอำเภอสะเดา และด่านพรมแดนไทย–มาเลเซีย ถูกน้ำท่วมหนักตรงเขตเทศบาลตำบลทุ่งลุง อำเภอหาดใหญ่ รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้เทศบาลนครหาดใหญ่ตัดสินใจเปลี่ยนธงสัญลักษณ์การเตือนน้ำท่วม จากสีเขียวที่หมายถึงสถานการณ์ปกติ เป็นสีเหลืองที่หมายถึงต้องเตรียมอพยพภายใน 24 ชั่วโมง
พัทลุงสั่งย้ายชาวบ้านในที่ลุ่ม
รายงานข่าวจากจังหวัดพัทลุงแจ้งว่า ล่าสุดน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่อำเภอป่าบอน อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอตะโหมด และอำเภอป่าพะยอม ได้เอ่อล้นไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรสวนยางพารา นาข้าว และเส้นทางเข้าหมู่บ้านหลายสาย ในพื้นที่ตำบลแม่ขรี ตำบลตะโหมด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน ตำบลวังใหม่ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน ตำบลชะรัด ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา ตำบลบ้านนา ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ มีน้ำท่วมสูงประมาณ 60–80 เซนติเมตร ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านหลายพันครอบครัว เนื่องจากถูกน้ำท่วมเป็นระลอกที่ 4 ในช่วงหนึ่งเดือนครึ่งที่ผ่านมา
ขณะที่สำนักงานชลประทานจังหวัดพัทลุง ได้ออกมาแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน อำเภอป่าบอน เตรียมรับมือน้ำท่วม เนื่องจากปริมาณฝนได้ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยวัดปริมาณได้สูงสุดที่อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน 102.4 มิลลิเมตร และตามฝายต่างๆ อย่างฝายคลองหลักสาม ฝายท่าแนะ ฝายบ้านพร้าว ฝายท่าเชียด มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ให้ประชาชนที่อยู่ในที่ลุ่มเร่งขนย้ายสิ่งของสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงด่วน
นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้ออกมาย้ำให้ชาวจังหวัดพัทลุงระมัดระวังสภาวะฝนตกหนัก เพราะอาจเกิดจะเกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันได้ เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกหนักติดต่อกัน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ริมเทือกเขา ขอให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มเป็นพิเศษ
ยะลาหลายอำเภอโดนด้วย
รายงานข่าวจากจังหวัดยะลาแจ้งว่า ขณะนี้มวลน้ำจำนวนมากจากพื้นที่อำเภอรอบนอกไหลลงสู่คลองหลักเลี่ยงเทศบาลนครยะลามีปริมาณมาก ไหลลงสู่แม่น้ำปัตตานีไม่ทันได้เอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลาเป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 12 โดยเฉพาะหมู่ที่ 9 มีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รถเล็กสัญจรไม่ได้ และมีสิ่งของของชาวบ้านที่ย้ายหนีน้ำไม่ทันได้รับความเสียหายจำนวนมาก
ส่วนในเขตเทศบาลนครยะลา บริเวณชุมชนหมู่บ้านเมืองทอง ถนนธนวิถี 5 ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับหมู่ที่ 9 ต.สะเตงนอกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน สิ่งของภายในบ้านได้รับความเสียหาย ทางเทศบาลนครยะลาและกำลังทหารหน่วยเฉพาะกิจที่11 จังหวัดยะลา ได้นำรถบรรทุกของทหารเข้าไปช่วยอพยพสิ่งของและสัตว์เลี้ยงไปยังที่ปลอดภัย มีนายเดชรัฐ สิมสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา เข้าไปอำนวยความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นด้วยแล้ว
นายรอซาลี สาแม อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 12 ในเขตเทศบาลตำบลสะเตงนอก กล่าวว่า น้ำเริ่มเข้าบ้านตั้งแต่เวลา 04.00 น. วันที่ 1 มกราคม 2554 โชคดีมีวัยรุ่นเข้ามาช่วยขนของได้ทัน ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นางจำเนียร ช่วยเรือง อยู่บ้านเลขที่ 266/3 หมู่ที่ 9 ตำบลสะเตงนอก เปิดเผยว่า น้ำท่วมที่บ้านกว่า 1 เมตร ขณะที่ตนนอนหลับอยู่ในบ้านชั้นสอง มารู้ตัวตอนน้ำเข้าบ้านแล้ว ทำให้ข้าวของที่อยู่ชั้นล่างเสียหายทั้งหมด
ขณะเดียวกันที่อำเภออำเภอรามัน เกิดเหตุน้ำท่วมที่ตำบลอาซ่อง 3 หมู่บ้าน ตำบลบาลอ 3 หมู่บ้าน ตำบลตะโละหะลอ 1 หมู่บ้าน ตำบลเกะรอ 1 หมู่บ้าน ตำบลกายูบอเกาะ 1 หมู่บ้าน
ที่อำเภอยะหา เกิดเหตุน้ำท่วมที่ตำบลละแอ ที่อำเภอบันนังสตามีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมที่ตำบลตลิ่งชัน ที่อำเภอเมืองยะลา เกิดเหตุน้ำท่วมที่ตำบลท่าสาป ตำบลยุโป ทำให้เส้นทางสาย 410 ยะลา–ปัตตานี–หาดใหญ่ น้ำท่วมผิวถนนบริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อเจ็ดลูก เขตรอยต่อกับบ้านคลองทรายใน รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้
ปัตตานีผวาภัยคลื่น
ทางด้านจังหวัดปัตตานี จากสภาพฝนที่ตกลงมาตลอด 2 วันที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากหวั่นว่า จะเกิดคลื่นขนาดใหญ่ เหมือนที่เคยเกิดขึ้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา