Skip to main content

"Times New Roman"">โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

"Times New Roman"">เวทีสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ถกประเด็นกระจายอำนาจ นักวิชาการสภาประชาสังคมชายอดนใต้ เสนอ 6 รูปแบบการปกครองชายแดนใต้ให้เลือก ไล่ตั้งแต่ ศอ.บต., ทบวงชายแดนใต้, นครปัตตานี, 3 นครยะลา ปัตตานี นราธิวาส, ปัตตานีมหานคร

     d

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 

mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">                     ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">เมื่อเวลา "Times New Roman"">10.00 น. วันที่ 5 มกราคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้นำเสนอรูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อที่ประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาลักษณะเด่นของรูปแบบการบริหาร ข้อสนับสนุน และข้อวิจารณ์ของแต่ละทางเลือก

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ ได้ประมวลข้อเสนอรูปแบบการกระจายอำนาจ สรุปได้ว่ามีทั้งสิ้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">6 ทางเลือก แยกเป็น ทางเลือกที่ 1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือศอ.บต. ในปัจจุบัน มีพื้นที่ดูแลครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเลขาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง มีผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ดูแลรายจังหวัด ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ สำหรับการทำงานในพื้นที่ ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตั้งแต่ระดับจังหวัด เมือง และตำบลตามลำดับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงลักษณะเด่นของ ศอ.บต.ว่า เป็นการบริหารและการปกครองรูปแบบพิเศษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ให้การยอมรับ โครงสร้างการบริหาร เลขาธิการมาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่เหมือนเดิม

“จุดเด่นอยู่ตรงที่มีความเป็นเอกภาพในการบริหารราชการ และเป็นนิติบุคคล เลขาธิการมีอำนาจสั่งย้ายข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมออกนอกพื้นที่ได้ทันที โครงสร้างบริหารราชการและอำนาจหน้าที่ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าว

ส่วนข้อวิจารณ์นั้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพระบุว่า พื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมจังหวัดที่ไม่ได้มีความขัดแย้งรุนแรงคือ จังหวัดสตูลและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสงขลาด้วย ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่มีอำนาจจริง มีงบประมาณจำกัด ขาดความเป็นอิสระ คนในพื้นที่ไม่ได้มีโอกาสเลือกผู้บริหารศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวต่อไปว่า สำหรับทางเลือกที่ 2 คือ ทบวงการบริหารพื้นที่ชายแดนใต้ มีสถานะเทียบเท่ากระทรวงจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี มีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้ง ทำหน้าที่เป็นรองปลัดทบวง และมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงลักษณะเด่นว่า อยู่ที่เป็นการบริหารปกครองรูปแบบพิเศษ ที่มีสถานะเทียบเท่ากระทรวง เป็นรูปแบบที่มีลักษณะประนีประนอมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ยึดหลักการถ่ายโอนอำนาจ ในส่วนของโครงสร้างการบริหาร มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บริหารสูงสุด ปลัดทบวงเป็นข้าราชการประจำ โดยให้รองปลัดทบวงที่มาจากผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กำกับดูแลการบริหารงานในแต่ละจังหวัด มีสมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งตัวแทนภายในกลุ่มอาชีพ มีอำนาจให้ความเห็นชอบต่อนโยบายและงบประมาณของทบวงฯ นอกจากจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่เหมือนเดิมแล้ว ยังมีสภาท้องถิ่นที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งในแต่ละเขตท้องถิ่น และผู้นำศาสนาที่สรรหามาจากท้องถิ่นอีกด้วย

 

“นับเป็นข้อเสนอรูปแบบการปกครอง ที่มีการถ่วงดุลกลุ่มพลังทุกฝ่าย มีลักษณะประนีประนอมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น และระหว่างคนทุกกลุ่มในท้องถิ่น โดยมีฝ่ายการเมืองเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงสำหรับจุดอ่อนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การปกครองรูปแบบทบวงว่า เป็นรูปแบบที่ไม่มีการกระจายอำนาจสู่ประชาชน เนื่องจากยังยึดติดอยู่กับระบบบริหารราชการ ไม่มีหลักประกันว่ารัฐมนตรีว่าการทบวง จะสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ได้จริง ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่มีอำนาจจริง มีงบประมาณจำกัด และขาดความเป็นอิสระ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงทางเลือกที่ 3 สามนคร 1 ว่า เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นรายจังหวัด ยังคงเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแค่ 2 ระดับคือ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงลักษณะเด่นของสามนคร 1 ว่า อยู่ตรงที่ประชาชนในพื้นที่ได้เลือกตั้งผู้ว่าราชการโดยตรง เป็นรายจังหวัด ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ยังคงมีเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และยุบเลิกราชการส่วนภูมิภาค ในส่วนของโครงสร้างการบริหาร มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สมาชิกสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากเขต (อำเภอ) มีคณะกรรมการประสานงานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลยังคงอยู่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวว่า ข้อที่ได้รับการสนับสนุนคือ ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง มีความเป็นตัวแทนสูง และมีพันธะรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้คนที่เลือกเข้ามา ลดแรงต้านจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลยังคงอยู่ พร้อมกับยกฐานะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง และมีอำนาจมากขึ้น ประชาชนในพื้นที่มีโอกาส ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่นมากขึ้น

ส่วนข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพมองว่า อยู่ตรงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจจริง มีงบประมาณจำกัด ขาดความเป็นอิสระ การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ส่งผลเกิดการทุจริตสูงขึ้น และประชาชนยังไม่พร้อมที่จะเลือกผู้ว่าราชการจังหวัด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวอีกว่า สำหรับทางเลือกที่ 4 สามนคร 2 เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นรายจังหวัด ปรับจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษคล้ายกรุงเทพมหานคร

“ลักษณะเด่นของรูปแบบนี้คือ ประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งผู้ว่าราชการโดยตรงเป็นรายจังหวัด ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลโครงสร้างการบริหาร มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากเขต หรืออำเภอต่างๆ มีคณะกรรมการประสานงานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวว่า ประเด็นที่รูปแบบนี้ได้รับการสนับสนุนคือ ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งก็มีความเป็นตัวแทนสูง และมีพันธะรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้คนที่เลือกเข้ามา ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเต็มในการบริหารและจัดการทั้งจังหวัด อัตรากำลังข้าราชการในท้องถิ่นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่นมากขึ้นตามไปด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวว่า ข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์คือ รูปแบบนี้จะเกิดแรงต่อต้านจากนักการเมืองท้องถิ่น ที่เคยมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จะทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น แนวโน้มการทุจริตจะมากตามไปด้วย และความไม่พร้อมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวต่ไปว่า สำหรับทางเลือกที่ 5 มหานคร 1 เป็นการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ รวมพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเข้าด้วยกัน เป็นหนึ่งหน่วยการปกครอง มีผู้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดย่อย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงลักษณะเด่นว่า อยู่ที่ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน ยังคงไว้ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเดิม โครงสร้างการบริหาร ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สภามหานครมาจากการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้ง สภาเขตมาจากการเลือกตั้งโดยตรงภายในเขต และมีคณะกรรมการประสานงานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น

“จุดเด่นอยู่ตรงที่ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งก็มีความเป็นตัวแทนสูง และมีพันธะรับผิดชอบโดยตรงต่อคนที่เลือกมา และลดแรงต้านจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่ อัตรากำลังข้าราชการในท้องถิ่นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่นมากขึ้นตามไปด้วย” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ

ส่วนข้อที่ถูกวิจารณ์ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพมองว่า อยู่ตรงที่อำนาจของผู้ว่าราชการมหานคร อาจจะทับซ้อนกับขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จะทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการทุจริตมากตามไปด้วย และยังมีข้อวิจารณ์ถึงความไม่พร้อมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงทางเลือกที่ 6 มหานคร 2 ว่า เป็นการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ รวมจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งหน่วยการปกครอง มีผู้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงลักษณะเด่นว่า อยู่ตรงที่ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้ง รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ โดยยกเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเดิม ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โครงสร้างการบริหาร ผู้ว่าราชการมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรง สภามหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามเขตเลือกตั้ง และสภาเขตมาจากการเลือกตั้งโดยตรงภายในเขต สภาประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งตามสาขาอาชีพ และมีคณะผู้อาวุโสทางจริยธรรม ซึ่งมาจากผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่

“จุดเด่น           ประชาชนสามารถเลือกผู้นำที่ตนเองต้องการได้ ในขณะที่ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งก็มีความเป็นตัวแทนสูงและมีพันธะรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้คนที่เลือกมา การรวมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าด้วยกันสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ อัตรากำลังข้าราชการในท้องถิ่นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในท้องถิ่นมากขึ้นตามไปด้วย” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ กล่าวถึงข้ออ่อนที่ถูกวิจารณ์ว่า มีแรงต้านจากองค์กรปกครองท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล จะถูกยกเลิก การเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการนครปัตตานี ทำให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการทุจริตมากตามไปด้วย และมีข้อวิจารณ์ถึงความไม่พร้อมของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด