Skip to main content

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย (ARF) จัดเสวนาวิชาการ “กระบวนการสันติภาพในเอเชีย” ดึงนักเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งจาก 6ประเทศ แลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

นายเอกราช ซาบู ผู้อำนวยการสถาบันสันติภาพศึกษานานาชาติ หรือ International Institute of Peace Studies(IIPS) ภายใต้กิจกรรมเครือข่ายมุสลิมเอเชีย หรือ AMAN เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 มกราคม 2555 มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย/เครือข่ายมุสลิมเอเชีย และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะร่วมกันจัดประชุมเสวนาวิชาการ หัวข้อ “กระบวนการสันติภาพในเอเชีย” ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ม.อ.ปัตตานี)

นายเอกราช เปิดเผยว่า กิจกรรมหลักในเวทีดังกล่าว จะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงจากนักสันติวิธีและนักเจรจาสันติภาพจากพื้นที่ความขัดแย้งใน 6 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เพื่อร่วมกันเรียนรู้รูปแบบการจัดการความขัดแย้งและกระบวนการสร้างสันติภาพในประเทศดังกล่าว

นายเอกราชกล่าวว่า แต่ละประเทศมีประสบการณ์ความขัดแย้งยาวนานกว่าประเทศไทยมาก โดยเฉพาะในเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ที่มีการต่อสู้มายาวนานกว่า 400 ปีมาแล้ว แต่ก็ประสบความล้มเหลวในกระบวนการสร้างสันติภาพมาหลายครั้ง แต่ล่าสุดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากมีการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลฟิลิปปินส์ (GRP) กับหัวหน้ากลุ่มขบวนการปลอดปล่อยอิสลามโมโร หรือ Moro Islamic Liberation Front (MILF) เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้มินดาเนากำลังถูกจับตามองจากทั่วโลก

นายเอกราช กล่าวว่า ส่วนเหตุที่ไม่มีตัวแทนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นเวทีครั้งนี้ เนื่องจากความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีการเริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพ แม้มีข่าวว่า รัฐบาลได้ส่งตัวแทนเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบางกลุ่มแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าไม่เป็นทางการ ซึ่งหมายถึงกระบวนการสันติภาพยังไม่ชัดเจน

“ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กำลังเป็นที่สนใจของหลายประเทศที่ศึกษาเรื่องความขัดแย้งทั่วโลก ต่างรู้ทึ่งกับปัญหาความขัดแย้งที่นี่ เพราะไม่เห็นคู่ขัดแย้งที่ชัดเจน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่มีวิทยากรมากประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถรับทราบและเข้าใจได้ว่า ทำไมปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้จึงเป็นเช่นนั้น แม้อาจไม่มีประโยชน์โดยตรงต่อการลดความรุนแรงในพื้นที่ แต่จะเป็นคุณประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสันติภาพโลก” นายเอกราช กล่าว

 

 

กำหนดการเสวนาทางวิชาการ“กระบวนการสันติภาพในเอเชีย”

จัดโดยมูลนิธิทรัพยากรเอเชีย/เครือข่ายมุสลิมเอเชีย และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ องค์กรภาคีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ 12 มกราคม 2555  เวลา 09.00-16.00 น.

ณ ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มอ.ปัตตานี)

 

08.30-09.00  ลงทะเบียน/รับเอกสาร    

09.00-12.00  เสวนาโต๊ะกลมกับนักวิชาการและภาคประชาสังคมเรื่อง กระบวนการสันติภาพในเอเชีย

“Peace Process in Chittagong Hill Tract: Challenges and Prospects” Mr. Nitol Chakma (Chittagong, Bangladesh)

“Conflict, Peace and Challenges in Manipur”Mr. Jiten Yumnam (Manipur,India)

“Religion and Politics in Kashmir A Study of the Conflict, Dialogue and its Peaceful Resolution”Mr. Mushtaq Ul Haq Ahmad Sikander (Kashmir,India)

“From Making peace to Making Project: A Portrait of Security in Aceh” Mr. Kamaruzzaman Bustamam Ahmad (Banda Aceh,Indonesia)

“The Mindanao Peace Process”Mr. Emran G. Mohamad (Mindanao, Philippines)

“Peace Process of Nepal: Challenges to Post Conflict Peace Building”Mr. Kuldeep Niraula  (Nepal)

“Peace Process of Nepal: Challenges to Post Conflict Peace Building” Ms. Shushma Adhikari (Nepal)

“Sri Lanka: Ending the War in a History of Conflict” Ms.Jayawardena Wisidagamage Supipi Sudeewani (Sri Lanka)  

12.00-13.30  พัก/รับประทานอาหารกลางวัน

13.30-15.00  เสวนาทางวิชาการกับนักวิชาการและภาคประชาสังคม (ต่อจากช่วงเช้า)

15.00-16.00  นำเสนอบทวิเคราะห์ความขัดแย้งจากมุมมองภายนอก

“ทิศทางของกระบวนการสันติภาพ”

16.00 เป็นต้นไป       เสร็จสิ้นการเสวนาทางวิชาการ