Skip to main content

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 14 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมเฟื้องฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง มีการประชุมสมัชชาสุขภาพภาคใต้ ในระเบียบวาระติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 การจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ มีผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสาธารณสุข (สจ.รส.) ประธาน มีนางเบญจา รัตนมณี เป็นผู้นำเสนอ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน

นางเบญจา ได้นำเสนอข้อเสนอในประเด็นการจัดการภัยพิบัติในภาคใต้ ทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่รวม 11 ข้อ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแดสงความเป็นก่อนนำเสนอเป็นมติสมัชชาสุขภาพต่อไป

โดยข้อเสนอที่มีการถกเถียงกันมาก คือข้อเสนอที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อทบทวน ปรับปรุง ชะลอหรือยุติ นโยบาย แผน และโครงการที่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาเหตุแห่งภัยพิบัติ เนื่องจากว่าที่ร.ต.กำพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานศูนย์จัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอให้กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้สั่งการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากเห็นว่าเป็นหัวข้อสำคัญ เพราะการสั่งทบทวน ปรับปรุง ชะลอหรือยุติ ควรต้องเป็นของผู้มีอำนาจสูงสุด

ขณะเดียวกันมีผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งผศ.ดร.พงษ์เทพ แต่ได้ให้คุยกันนอกรอบระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อน แต่ว่าที่ร.ต.กำพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานศูนย์จัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ต้องการ เนื่องจากไม่ต้องการให้เป็นเรื่องของคนเพียง 2 คน สุดท้ายไม่ได้มีการคุยกันนอกรอบ และข้อเสนอที่ให้รัฐบาลเป็นผู้สั่งการก็ถูกตัดออกไป

ส่วนข้อเสนออื่นๆ เช่น  ให้รัฐบาลสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนจัดการภัยพิบัติชุมชน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดตั้งสมาพันธ์เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการจัดการภัยพิบัติ

ส่วนข้อเสนอระดับพื้นที่ เช่น สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดทำกรอบแผนการจัดการภัยพิบัติของชุมชนท้องถิ่นระยะ 3 ปี แบบมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ให้จังหวัดจัดการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนจัดการภัยพิบัติระดับจังหวัด เป็นต้น