Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

          ว

ชนะ เครือข่ายไทยพลัดถิ่นจากหลายจังหวัด เดินทางไปชุมนุมกันที่หน้ารัฐสภา เรียกร้องให้วุฒิสภาถอดมาตรา 7/1 ออกจากร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ได้สำเร็จ

 

เมื่อเวลาประมาณ 05.30 น. วันที่ 16 มกราคม 2555 เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นจากจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ตราด แม่ฮ่องสอน พร้อมภาคีเครือข่ายประมาณ 130 คน เดินทางไปรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ต่อมา เวลา 07.00 น. ทั้งหมดได้เคลื่อนขบวนไปยังรัฐสภา รวมตัวกันที่บริเวณหน้าสวนสัตว์ดุสิต เพื่อเรียกร้องไม่ให้วุฒิสภา รับร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ที่มีการแปรญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 จากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. วุฒิสภา ที่จะนำเข้าที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาวาระที่ 2

l

เวลาประมาณ 10.15 น. ตัวแทนครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นประมาณ 30 คน ได้เข้าพบนายมงคล ศรีกำแหง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. และคณะประมาณ 10 คน เพื่อชี้แจงและอธิบายผลว่า ถ้าหากร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ที่มีการเพิ่มเติมมาตรา 7/1 ประกาศใช้บังคับ จะทำให้คนไทยพลัดถิ่นถึง 80% ไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทยตลอดไป แต่นายมงคลไม่เข้าใจคำอธิบายของตัวแทนเครือข่ายไทยพลัดถิ่น จากนั้นได้ขอตัวเข้าห้องประชุมวุฒิสภา

ต่อมาเวลาประมาณ 11.30 น. ที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ.... ในวาระ 2 โดยมีนางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธาน ในวาระ 2 บรรยากาศเป็นไปอย่างเคร่งเครียด เมื่อสมาชิกวุฒิสภาต่างลุกขึ้นอภิปรายคัดค้านนิยามคนไทยพลัดถิ่น ในมาตรา 3 และไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาในมาตรา 7/1

;

 

ส

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายว่า มาตรา 7/1 ของร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. .... ทำให้คนไทยพลัดถิ่น 80% หมดสิทธิได้สัญชาติไทย ทั้งๆ ที่ได้ต่อสู้เพื่อให้ได้สัญชาติไทยมาหลายปี ขณะที่มาตรา 3 นิยาม “คนไทยพลัดถิ่น” ก็มีความคลุมเครือ อาจหมายความรวมไปถึงคนต่างด้าวด้วยก็ได้

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาประเภทสรรหา อภิปรายว่า นิยามในมาตรา 3 ยังถือว่าไม่มีความชัดเจน และอาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ในอนาคต ตนขอเสนอญัตติให้กรรมาธิการวิสามัญฯ ถอนร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ.... ออกไปพิจารณาใหม่

เวลา 15.15 น. นายมงคล จึงขอให้ประธานในที่ประชุมสั่งพักการประชุมประมาณ 20 นาที เพื่อให้กรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาในเนื้อหาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. .... อีกครั้ง

กระทั่ง เวลา 15.35 น. จึงมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ... ต่อ โดยนายมงคล กล่าวต่อที่ประชุมว่า หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. มีมติตัดมาตรา 7/1 ออก และเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้มาขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้น ในมาตรา 3 ให้นำข้อความ “คณะรัฐมนตรีกำหนดก่อนวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติจะมีผลบังคับใช้” Žมาต่อท้าย

นายคำนูณ กล่าวว่า แม้จะมีการยกเลิกมาตรา 7/1 และแก้ไขนิยามคนไทยพลัดถิ่นในมาตรา 3 แต่เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ หลังจากที่รับฟังความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ถ้าเห็นว่าควรปรับปรุง กรรมาธิการฯ ควรถอนและนำกลับไปพิจารณาใหม่ ค่อยนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามีเวลาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ...อีกครั้ง

จากนั้น เวลาประมาณ 16.40 น. ที่ประชุมได้ลงมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….หรือไม่ ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติให้ถอน 50 เสียง ไม่เห็นด้วย 41 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ท่ามกลางเสียงเฮของคนไทยพลัดถิ่นและภาคีเครือข่ายที่รอฟังผลอยู่ที่หน้ารัฐสภา ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ ในเวลา 17.30 น.

นายภควิน แสงคง ที่ปรึกษาเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ต่อนี้ไปเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นต้องติดตามการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …อย่างใกล้ชิด ถ้ามีโอกาสจะมีการจัดวงคุยเสวนาร่วมระหว่างชาวบ้านกับคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ รับรู้ปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นมากขึ้น

“ผมและเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นโล่งใจเป็นอย่างมาก ที่วุฒิสภามีมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ออกไปก่อน รวมทั้งกรรมาธิการฯ ก็มีมติให้ตัดมาตรา 7/1 ทิ้ง ส่วนมาตรา 3 นิยามของคนไทยพลัดถิ่นนั้น ผมและเครือข่ายฯ ไม่สนใจเท่าไหร่” นายภควิน กล่าว