โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
มาถึงวันนี้ งาน “สมัชชาสุขภาพภาคใต้” กลายเป็นอีกงานใหญ่ประจำปีของกลุ่มกิจกรรมใน 14 จังหวัดภาคใต้ ที่รวมตัวกันในนาม “”เครือข่ายสุขภาพภาคใต้” ไปแล้ว
คราวนี้ “เครือข่ายสุขภาพภาคใต้” จัดงาน “สมัชชาสุขภาพภาคใต้” ระหว่างวันที่ 13–15 มกราคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ใต้ จังหวัดตรัง
ที่ประชุมที่มีแกนนำเครือข่ายจากจังหวัดต่างๆ เดินทางเข้าร่วมกันอย่างคับคั่งหลายร้อยคน ร่วมกันพิจารณาและลงมติในหลากหลายประเด็น ซึ่ง “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ขอนำรายละเอียดในแต่ละมติมานำเสนอเรียงเป็นรายประเด็น ดังต่อไปนี้
……………………………………………………..
การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน
การบริหารจัดการน้ำของไทยมีแนวทางการกำกับและสั่งการจากบนสู่ล่าง ที่ผ่านมาการจัดการน้ำเน้นที่ “การจัดหาน้ำ” ด้วยการลงทุนทางด้านโครงสร้างที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเป็นด้านหลัก ส่วนหน้าที่ในการ “จัดสรรน้ำ” ที่เป็นธรรมและเท่าเทียมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ยังไม่เกิดสัมฤทธิ์ผล นอกจากนั้นการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐที่ผ่านมานั้น ประกอบ ด้วยหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน แต่เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การจัดการน้ำขาดเอกภาพและการบูรณาการร่วมกัน ทำให้การการสนับสนุนกลุ่มผู้ใช้ให้มีสำนึก และบทบาทในการบริหารจัดการน้ำจึงยังคงมีอยู่น้อยไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งการบังคับใช้กฎระเบียบไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และปัญหาของการใช้น้ำที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ
นิยาม
SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">นิยาม SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">“ลุ่มน้ำ” หมายถึงพื้นที่หน่วยหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งครอบคลุมลำน้ำธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่รวบรวมน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำหนึ่ง พื้นที่ลุ่มน้ำแต่ละแห่งจะมีขนาดไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ และวัตถุประสงค์ในการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการ
mso-fareast-font-family:SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">นิยาม “ลุ่มน้ำขนาดเล็ก” หมายถึงลุ่มน้ำที่มีองค์ประกอบการจัดการ ดังนี้
mso-fareast-font-family:SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">มีขนาด–หน่วยพื้นที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและศักยภาพของชุมชนในพื้นที่ ที่สามารถจัดการตนเองได้ ด้วยกระบวนการทำงานแบบเครือข่าย มีขนาดเป็นหน่วยพื้นที่ขนาดเล็ก ที่ลำดับอยู่ภายใต้ลุ่มน้ำหลัก (25 ลุ่มน้ำ) ที่ได้รับการจำแนกไว้ โดยอาจมีขนาดพื้นที่อยู่ระหว่าง 10–50 ตารางกิโลเมตร เช่น ลุ่มน้ำกุดขาคีม ที่เป็นหน่วยย่อยของลุ่มน้ำมูลตอนกลาง 10 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ เป็นหน่อยย่อยของลุ่มน้ำภูมี 106.88 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ำแม่กอม–แม่ปาน เป็นหน่วยย่อยของลุ่มน้ำแม่วัง
mso-fareast-font-family:SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">มีการจัดการน้ำด้วยความรู้ท้องถิ่น–ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น การเลี้ยงผีขุนน้ำ การสืบชะตาแม่น้ำ การทำฝายชะลอน้ำ (ฝายในหลวงหรือฝายแม้ว) การพัฒนาดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำ/ซับน้ำ แก้มลิง เพื่อกักเก็บรักษาน้ำต้นทุน เป็นต้น
mso-fareast-font-family:SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">การมีส่วนร่วมของชุมชน–เครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากน้ำ เช่น ภาคเกษตรกรรม การใช้น้ำในครัวเรือน และน้ำเพื่อรักษาสมดุลนิเวศให้เป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารของชุมชนด้วย โดยคำนึงถึงคุณค่าของน้ำ การใช้นำอย่างพอเพียง และให้ความเคารพต่อธรรมชาติ (ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ) และระบบนิเวศให้มีความสมดุลโดยชุมชนเอง
SimSun;mso-fareast-language:ZH-CN">
สถานการณ์การจัดการน้ำของประเทศไทย
ด้านอุทกภัยและภัยแล้งซ้ำซาก
ประเทศไทยมีความเสี่ยงด้านภัยพิบัติของทรัพยากรน้ำในระดับความรุนแรงสูง กล่าวคือภัยพิบัติด้านอุทกภัยและสภาวะแล้ง เนื่องจากการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมและขาดความยืดหยุ่นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ภัยพิบัติด้านอุทกภัยสูงถึง 879,310 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลาง และภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีภาวะน้ำท่วมที่เกิดจากการผันน้ำเข้าในพื้นที่ลุ่ม และพื้นที่ทุ่งรับน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่การเกษตร เช่น จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และปทุมธานี และพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง เขตแม่น้ำยม และน่าน ส่งผลให้มีน้ำท่วมเอ่อล้นชายตลิ่งแม่น้ำ ล้นเข้าท่วมบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ น้ำมีระดับน้ำสูงท่วมขังในพื้นที่ที่กล่าวข้างต้น ส่วนสภาวะแล้งซ้ำซากอุบัติในพื้นที่ 59,926,411 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาอยู่ในภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ ซึ่งมีสาเหตุจากการวางแผนการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสม
ปี |
จำนวนครั้ง |
พื้นที่ประสบภัย |
ความเสียหาย |
|||||||
จังหวัด |
อำเภอ |
ตำบล |
หมู่บ้าน |
เสียชีวิต(คน) |
เดือดร้อน(ครัวเรือน) |
จำนวนคน |
พท.การเกษตร (ไร่) |
มูลค่าความเสียหาย (บาท) |
||
๒๕๔๙ |
๖ |
๕๘ |
๕๒๐ |
๓,๔๓๒ |
๒๒,๗๗๑ |
๔๔๖ |
๖,๐๕๐,๖๗๔ |
๑,๖๗๓,๘๒๒ |
๖,๕๖๐,๕๔๑ |
๙,๖๒๗,๔๑๘,๖๒๐ |
๒๕๕๑ |
๖ |
๖๕ |
๗๑๙ |
๔,๘๑๓ |
๓๘,๔๔๘ |
๑๑๓ |
๗,๙๒๑,๑๒๗ |
๒,๐๓๑,๙๔๓ |
๖,๖๙๐,๖๕๕ |
๗,๖๐๑,๗๙๖,๓๐๒ |
๒๕๕๓* |
ยังไม่ระบุ |
๔๑ |
๕๘๕ |
๓,๙๗๒ |
๓๒,๔๒๓ |
๒๕๕ |
๒,๐๓๕,๔๑๗ |
๗,๑๔๒,๒๔๙ |
๗,๖๘๔,๓๖๘ |
ยังไม่มีการประเมิน |
|
*ระหว่างวันที่ ๑๐ ต.ค.-๒๙ พ.ย. |
ด้านคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภค
ปัญหาด้านคุณภาพน้ำในประเทศไทย เกิดจากการรุกล้ำแม่น้ำลำคลอง น้ำเสีย ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลจากอาคารบ้านเรือนถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง การขยายตัวด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น ที่ขาดการควบคุม มีการนำปุ๋ยและสารเคมีมาใช้เป็นจำนวนมาก และขาดประสิทธิภาพในการกำจัด การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไม่เหมาะสม ในการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ขาดระบบการกำจัดของเสียที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน ก่อนจะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ดังตัวอย่างเช่น แม่น้ำท่าจีน ที่มีความยาวประมาณ 320 กิโลเมตร พบว่ามีอุตสาหกรรมหนาแน่น และปริมาณของเสียจากแหล่งต่างๆ ทั้งชุมชนริมน้ำ ร้อยละ 30 อุตสาหกรรมร้อยละ 33 และภาคเกษตรกรรม (ฟาร์มสุกร บ่อเพาะเลี้ยง) ร้อยละ 47 น้ำเสียที่ขาดการบำบัดดูแลนี้ ไหลลงแหล่งน้ำไปสู่ปากแม่น้ำ บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ลำคลองสาขาหลายคลองกลายเป็นแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
ส่วนแม่น้ำบางปะกง (แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก) ยาวประมาณ 122 กิโลเมตร มีการใช้ประโยชน์ด้านการอุปโภค บริโภค การเกษตร และการอุตสาหกรรม แม่น้ำบางปะกง มีปัญหาด้านการรุกล้ำของน้ำเค็ม บางครั้งเกิดขึ้นตลอดลำน้ำ หรือรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปราจีนบุรี ของเสียในแม่น้ำบางปะกงส่วนใหญ่เกิดจากของเสียประเภทอินทรีย์สารจากชุมชน อุตสาหกรรม ฟาร์มสุกร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ด้านการจัดสรรน้ำ: แนวคิดและสภาพปัญหาในการปฏิบัติ
แนวทางการจัดสรรน้ำของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
จากข้อมูลการรับฟังความคิดเห็นภาคส่วนต่างๆ ในช่วงปี 2552 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอให้ทบทวนนโยบายการจัดสรรน้ำ โดยกำหนดสัดส่วนภาพรวมการจัดสรรน้ำ ดังนี้ ภาคเกษตรร้อยละ 70 อุปโภค–บริโภค ร้อยละ 8 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 6 และน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ–การขนส่งทางน้ำ ร้อยละ 16 โดยให้คณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาสัดส่วนการจัดสรร แล้วเสนอต่อคณะกรรมาการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เช่น การกำหนดโซนนิ่ง, ป้องกันการขยายตัวของเกษตรเชิงเดี่ยว, การเร่งรัด Eco City เป็นต้น
จากแนวทางข้างต้น ทำให้ประเด็นการจัดสรรน้ำในภาคปฏิบัติในปัจจุบันยังขาดความชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ดังตัวอย่างเช่น ลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง โครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงมีความต้องการใช้น้ำ 53,200 ลูกบาศก์เมตร/วันในการผลิตไฟฟ้า หากเปรียบเทียบกับสมดุลการใช้น้ำในลุ่มน้ำป่าสัก ที่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมประมาณปีละ 4,334.87 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ยังคงขาดแคลนน้ำใช้ในลุ่มน้ำถึงปีละ 701.97 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี กรณีขัดแย้งนี้นำไปสู่การดำเนินการของตัวแทนท้องถิ่น ที่นำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
ลุ่มน้ำปราจีนบุรี–บางประกง โรงงานผลิตน้ำประปาบริษัท น้ำใส 304 จำกัด ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งส่งหนังสือขออนุญาตจากคณะกรรมการลุ่มน้ำปราจีนบุรี เพื่อสูบน้ำระหว่างเดือนมิถุนายน–กันยายน เป็นระยะเวลา 4 เดือน ในช่วงดังกล่าวมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 4,770.2 ล้านลูกบาศก์เมตรไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี บริษัทจะสามารถสูบน้ำได้ 7.2 ล้านลูกบาศก์เมตร กระบวนการอนุญาตยังไม่ได้รับกาพิจารณาจากคณะกรรมการฯ
ส่วนลุ่มน้ำแม่กลอง ปี 2535 การประปานครหลวง (กปน.) มีแผนจัดหาและผลิตน้ำ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน จนถึงปี 2560 เพื่อตอบสนองความต้องการของคนกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ (ประมาณ 15.5 ล้านคน) โดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา 5 ล้านลูกบาศก์เมตร และแม่น้ำแม่กลองอีก 3 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็น 8 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ทั้ง 3 กรณีแสดงให้เห็นถึงปัญหาความข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากความสับสน ไม่ชัดเจนของแนวทางการจัดสรรน้ำ นับว่าเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการน้ำในยุคปัจจุบัน
ปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ปัญหาด้านนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรน้ำ ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่มีผลในเชิงรูปธรรม มีเพียงการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายน้ำแห่งชาติ การจัดทำยุทธศาสตร์ แผนการบริหารจัดการในระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำมีความเหลื่อมซ้อนและซ้ำซ้อนกัน การทำงานยังขาดความร่วมมือที่เป็นเอกภาพ ไม่มีประสิทธิภาพ งานส่วนราชการต่างๆ รับผิดชอบแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำที่มีอยู่หลากหลาย การบริหารจัดการของหลายกระทรวง บางกระทรวงมีหน้าที่แบบไม่ใช่ภารกิจหลัก บางหน่วยงานกำหนดภาระการทำงานไว้หลายประเภท หลายวัตถุประสงค์
ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำเป็นเอกสารที่แสดงถึงนโยบายที่ชัดเจนที่สุดของรัฐ เป็นร่างกฎหมายที่จัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาในปี 2550 แต่ยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา อย่างไรก็ดีกรมทรัพยากรน้ำกำลังประมวลและปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายน้ำ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ เน้นในเรื่องของการสร้างองค์กร ได้แก่ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งปัจจุบันมีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับ
(ตัวอย่าง) หมวดที่สำคัญคือ หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิในน้ำ
มาตรา 8 ในร่างพระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้น้ำเป็นของส่วนรวม บุคคลมีสิทธินำน้ำมาใช้ได้ตามที่จำเป็นและสมควร แต่ไม่ระบุว่าสมควรหมายความว่าอย่างไร แต่ในมาตรา 45 ว่าด้วยเรื่องการจัดสรรน้ำได้ระบุไว้ว่า การใช้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
การใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้น้ำประเภทที่สอง ได้แก่ การใช้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตร หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปา และกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้น้ำประเภทที่สาม ได้แก่ การใช้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
รัฐขาดข้อมูลจัดการระดับนิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก
ข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายในหลายหน่วยงาน และหลายครั้งมีการขัดแย้งของข้อมูล
ข้อมูลมีความหลากหลาย ยังไม่มีการจัดกลุ่มข้อมูลอย่างเป็นระบบ และอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ยากต่อการนำไปใช้
การขาดความเชื่อมโยง เชื่อมต่อของข้อมูลที่สมบูรณ์และทันสมัย
การขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ
การขาดศูนย์ระบบข้อมูล และองค์ความรู้ด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ
ปัญหาการบูรณาการ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภาคราชการและเอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
ข้อมูลสำคัญที่หน่วยงานมี–ใช้ |
ข้อมูลที่ชุมชน–เครือข่ายมี–ใช้ |
๑.ข้อมูลด้านอุทกวิทยา |
๑.ข้อมูลเกี่ยวกับนิเวศวิทยาท้องถิ่น |
๒.ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์สภาพอากาศ |
๒.ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการการใช้น้ำ |
๓. ฯลฯ |
๓. ฯลฯ |
ขาดกติกา กฎระเบียบ ข้อตกลงร่วมในการทำงาน
จากผลการศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ เห็นได้ว่ามุ่งสร้างกติกาการจัดการน้ำในกรณีที่วิกฤต แต่การกำหนดสิทธิการใช้น้ำ โดยไม่ระบุว่าใครมีสิทธิก่อนหลัง ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นที่จังหวัดระยองได้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ยังละเลยการให้ความสำคัญกับน้ำในระบบนิเวศ กล่าวคือไม่มีหลักประกันให้แก่การใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ เช่น การผลักดันน้ำเค็ม การจัดการน้ำเพื่อชีวิตพืชและสัตว์ และการบำรุงรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ ตลอดจนชีวิตพืชพันธุ์สัตว์ป่า
แนวปฏิบัติการจัดการน้ำในพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก
แนวทางการบริหารจัดการน้ำของกลไก เครือข่ายภาคประชาชนนั้น มีรากฐานจากประสบการณ์ของการบริหารจัดการน้ำแบบจารีตในอดีต ที่อาศัยโครงสร้างความสัมพันธ์ของชุมชน มาเป็นหลักในการบริหารจัดการ โดยเน้นการบริหารจัดการพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็กแบบบูรณาการ เป็นผลของกระบวนการต่อรองของกลไกจัดการของท้องถิ่น ที่มีฐานของกลุ่มและองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดสรร และสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ ของกลุ่มผู้ใช้ผ่านกระบวนการต่อรอง ที่อาศัยความสัมพันธ์ทางสังคม อันนำไปสู่การยอมรับสิทธิของกลุ่มผู้ใช้เหล่านั้น ในลักษณะรวมหมู่มากกว่าที่จะเน้นในลักษณะของปัจเจกบุคคล
ตัวอย่างการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็นลุ่มน้ำ
ภาคเหนือ–ธรรมนูญลุ่มน้ำวัง จังหวัดลำปาง
ลุ่มน้ำวัง มีพื้นที่ประมาณ 10,791 ตารางกิโลเมตร เป็นลุ่มน้ำขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวตามลำน้ำประมาณ 460 กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ บริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
การจัดทำธรรมนูญลุ่มน้ำวัง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดลำปาง ทั้งภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง เขตพื้นที่จังหวัดลำปาง และสมัชชาลุ่มน้ำล้านนา เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบระเบียบ กติกาของชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรการในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง จังหวัดลำปาง ต้นน้ำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลางน้ำ จังหวัดลำปาง และปลายน้ำ จังหวัดตาก ซึ่งมีธรรมนูญ 7 หมวด หมวดที่ 1 ปรัชญาแนวคิดของธรรมนูญลุ่มน้ำวัง หมวดที่ 2 ฐานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าต้นน้ำ หมวดที่ 3 การศึกษาและพัฒนาคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 4 สิทธิชุมชนและการอยู่ร่วมกันของคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 5 ลักษณะทางสังคมและวิถีชีวิตของคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 6 การบริหารจัดการธรรมนูญบนฐานการมีส่วนร่วม และ หมวดที่ 7 สำนักธรรมนูญลุ่มน้ำวัง
ภาคอีสาน–ลุ่มน้ำมูล
ลุ่มน้ำมูล มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 69,701 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะบ้านที่อยู่บนโคก มีลูกคลื่น มีที่สูงสลับที่ลุ่ม นาเป็นแปลงเล็กๆ มีคันนากั้นเป็นระยะ สภาพพื้นที่มีปริมาณน้ำที่เพียงพอ แต่ไม่มีองค์ความรู้การจัดการน้ำที่เหมาะสม ชาวบ้านจึงรวมตัวกันร่วมแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
วิธีการจัดการน้ำ มีการกักน้ำบนพื้นที่ลุ่มในนาของทุกแปลง และใช้วิธีสูบน้ำเข้าแปลงนา แทบจะทุกหลังคาเรือน ปัญหาคือต้นทุนสูงขึ้น แก้ไขด้วยการวางระบบใหม่ ขยายพื้นที่เป็นที่สูง ตั้งฝายขึ้นมาให้มีพื้นที่รับน้ำมากขึ้นในด้านบนของที่นา และเจาะท่อปล่อยน้ำเข้าแปลงนา อันนี้จะช่วยลดต้นทุนการสูบน้ำเข้าแปลงนา เรียกว่า “แก้มลิงรั่ว” มีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายจากเดิมที่ต้องสูบน้ำจากข้างล่างขึ้นมากับแบบนี้ ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว ต้นทุนที่ใช้วางท่อนี้มีมูลค่าที่เปรียบเทียบแล้วถูกว่าการสูบน้ำ และมีการจัดระบบการปลูกพืชใหม่ แยกเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย พืชที่ต้องการน้ำมาก เพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ และเหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่การเกษตร
ภาคใต้–ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี จังหวัดสงขลา
ลุ่มน้ำภูมี จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ 420 ตารางกิโลเมตร ได้มีการจัดทำธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี ฉบับที่ 1 พ.ศ.2553๒ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมี เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบระเบียบ กติกาของชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรการในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่ม ซึ่งมีธรรมนูญ 7 หมวด หมวดที่ 1 ปรัชญาแนวคิดของธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี หมวดที่ 2 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 3 การศึกษาและพัฒนาคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 4 สิทธิชุมชนและการอยู่ร่วมกันของคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 5 ลักษณะทางสังคมและวิถีชีวิตของคนในลุ่มน้ำ หมวดที่ 6 การบริหารจัดการธรรมนูญบนฐานการมีส่วนร่วม
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ระเบียบวาระที่ 2.5 วันที่ 2–4 กุมภาพันธ์ 2555
การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน
ได้พิจารณารายงานเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน
ตระหนัก ว่าการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับหน่วยงาน องค์กร ภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มน้ำได้
รับทราบ ว่าการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืนในปัจจุบัน มีการดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นการดำเนินงานแบบแยกส่วนกันทำ ถึงแม้จะมีการสนับสนุนและเข้าไปมีส่วนร่วมจากองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชนบางส่วน แต่ยังคงปรากฏปัญหาที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และหมอกควัน ทั้งนี้ เนื่องจากขาดกลไกสนับสนุนการกำหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน แบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
กังวล ว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยที่เป็นปัญหาที่ปลายเหตุ ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้การบริโภค อุปโภค และใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณน้ำท่าและคุณภาพของน้ำ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ จำเป็นต้องมีการจัดการทั้งวัฏจักรของน้ำ (น้ำฝน พื้นที่กักเก็บน้ำ ป่าไม้ คุณสมบัติของดิน) และการให้น้ำ (แม่น้ำและทิศทางการไหล) หากมีการบริหารจัดการที่ยังไม่เป็นระบบและครอบคลุม โดยเฉพาะขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตระหนัก ถึงนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรและพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลข่าวสารอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีภาคประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะกลไกหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนา และหรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและเป็นธรรม
ชื่นชม เครือข่ายภาคประชาชนในหลายพื้นที่ที่สามารถบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะยังมีปัญหาสำคัญจากการขาดการยอมรับ ทั้งในระดับกลไกจัดการและระดับนโยบาย กฎหมาย
ตระหนัก ถึงความจำเป็นของการมีนโยบายสาธารณะในการบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน เพื่อเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาแบบบูรณาการ ที่สมดุล และเป็นธรรม
จึงมีมติดังต่อไปนี้
1.เห็นชอบในหลักการ ว่าน้ำเป็นทรัพยากรและสมบัติร่วมของสังคม ที่มีค่าและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งกลุ่ม/องค์กร ชุมชน และเครือข่ายผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ดังนั้นกลุ่ม/องค์กรชุมชน และเครือข่ายผู้ใช้น้ำมีสิทธิอำนาจและหน้าที่ ที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน
การบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ หมายความถึงการบริหารจัดการน้ำที่สัมพันธ์กับการวางแผนการใช้ที่ดิน การจัดการป่า และทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดการลุ่มน้ำมีการกระจายทรัพยากรให้เข้าถึงผู้ใช้น้ำอย่างเป็นธรรม โดยผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำขนาดเล็ก ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดใหญ่
2.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงาน รวมถึงหน่วยงานในกำกับของกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรนิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก จัดให้มีกลไกและเครือข่ายประสานร่วมกันในรูปพหุภาคี ที่ประกอบด้วยภาคประชาชน/ผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม ดำเนินการให้เกิดกระบวนการร่วมมือกัน ควบคู่กับการสร้างกลไกกระจายอำนาจในการจัดการลุ่มน้ำรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศของแต่ละลุ่มน้ำและมีการแบ่งบทบาท อำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐบาล คณะกรรมการลุ่มน้ำสาขา กลไกความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมของพหุภาคีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สร้าง “ข้อตกลงร่วม” ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยการมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยภาคประชาชน ผู้ใช้น้ำ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ครอบคลุมทุกพื้นที่นิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก
ให้ศึกษา ทบทวน หรือพัฒนานโยบาย กฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎระเบียบอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... และโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการลุ่มน้ำในพื้นที่ทรัพยากรนิเวศลุ่มน้ำขนาดเล็ก ให้สามารถระบุปัญหาที่หลากหลาย และหาทางออกในการส่งเสริมให้ผู้น้ำในลุ่มน้ำทุกภาคส่วนบริหารจัดการลุ่มน้ำร่วมกัน ในระดับพื้นที่เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายทางวิชาการ สถาบันการศึกษาในจังหวัด ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการจัดการความรู้ การบริหารจัดการลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาความรู้ องค์ความรู้ และหลักสูตรท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศของแต่ละลุ่มน้ำ
4.ให้คณะทำงานลุ่มน้ำขนาดเล็กเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการบริหารการจัดการลุ่มน้ำขนาดใหญ่