โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
มาถึงวันนี้ งาน “สมัชชาสุขภาพภาคใต้” กลายเป็นอีกงานใหญ่ประจำปีของกลุ่มกิจกรรมใน 14 จังหวัดภาคใต้ ที่รวมตัวกันในนาม “”เครือข่ายสุขภาพภาคใต้” ไปแล้ว
คราวนี้ “เครือข่ายสุขภาพภาคใต้” จัดงาน “สมัชชาสุขภาพภาคใต้” ระหว่างวันที่ 13–15 มกราคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ใต้ จังหวัดตรัง
ที่ประชุมที่มีแกนนำเครือข่ายจากจังหวัดต่างๆ เดินทางเข้าร่วมกันอย่างคับคั่งหลายร้อยคน ร่วมกันพิจารณาและลงมติในหลากหลายประเด็น ซึ่ง “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ขอนำรายละเอียดในแต่ละมติมานำเสนอเรียงเป็นรายประเด็น ดังต่อไปนี้
…………………………………………………….. mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
การจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น)
สถานการณ์
การฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาสำคัญทางการสาธารณสุข และสังคมของทุกประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน คิดเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที หรือเป็นอัตราเฉลี่ย 16 คนต่อประชากรแสนคนต่อปี ส่งผลกระทบต่อจิตใจของครอบครัวและผู้คนรอบข้างของผู้ตายอีกประมาณ 5–10 ล้านคน ส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ ยังประเมินว่ามีผู้พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่เสียชีวิตอีกเป็นจำนวน 20 เท่าของตัวเลขการฆ่าตัวตายสำเร็จ
สำหรับประเทศไทยปี 2542 เป็นปีที่อัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดจำนวน 5,290 คน คิดเป็นอัตรา 8.59 ต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 14.5 คน ส่งผลให้ปี 2543 เป็นปีแรกที่กรมสุขภาพจิตได้รับงบประมาณโครงการป้องกันการฆ่าตัวตาย และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงในระดับหนึ่ง โดยอัตราการฆ่าตัวตายในช่วงปี 2542–2553 ได้ปรับลดจาก 8.59 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2542 มาอยู่ที่ 8.40, 7.74, 7.84, 7.13, 6.87, 6.34, 5.77, 5.97, 5.98, 5.97 และ 5.90 ตามลำดับ 2 ปี 2553 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จเกิดขึ้น 3,761 คน คิดเป็นการฆ่าตัวตายวันละประมาณ 10 คน อย่างไรก็ตาม อัตราการฆ่าตัวตายในบางพื้นที่ ยังคงอยู่ในอัตราที่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยของโลก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตในชีวิตของคนไทยเพิ่มมากขึ้น
อัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ในปี 2553 จังหวัดลำพูนมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดที่ 20.02 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่จังหวัดปัตตานี มีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำสุดที่ 0.77 ต่อประชากรแสนคน พบพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายสูงกระจุกตัวอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และชายฝั่งทะเลตะวันออก ทั้งนี้มีข้อมูลแสดง 10 อันดับแรกของจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดปี 2542–2553 ในภาคผนวกท้ายเอกสารหลัก (สมัชชาสุขภาพ 4/หลัก/ผนวก 1)
ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นชายมากกว่าหญิง โดยในช่วงปี 2549–2553 เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ระหว่าง 9.25–9.48 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่เพศหญิงมีอัตรา 2.38–2.72 ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือประมาณสัดส่วนชายต่อหญิง 3.5 ต่อ 1 กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุดคือ 31–40 ปี รองลงมาคือ 21–30 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 4 และเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากข้อมูลต่างประเทศ ซึ่งพบการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่วัยรุ่นมีการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น
สาเหตุของการฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตายเป็นผลปลายทางของปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งด้านชีวภาพ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ครอบครัว และชุมชน องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ความเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า และปัญหาจากการดื่มสุรา เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการฆ่าตัวตายในภูมิภาคยุโรป และอเมริกาเหนือ สำหรับประเทศแถบเอเชีย เชื่อว่าการกระทำอย่างหุนหันพลันแล่น และปัจจัยทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ
การศึกษาระบาดวิทยาพฤติกรรมการทำร้ายตนเอง ทั้งที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2553 มีข้อสรุปถึงปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การมีอาการซึมเศร้า มีโรคเรื้อรัง ปัญหาโรคจิต ดื่มสุรา มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ทะเลาะเบาะแว้งกัน ถูกคนใกล้ชิดซุบซิบนินทาว่าร้ายให้เสียหาย ถูกทำร้ายร่างกาย พักอาศัยร่วมกับบุคคลที่ติดสุราและติดยาเสพติด ได้รับข่าวการทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตายของคนอื่นในชุมชน แสดงท่าทีว่าจะทำร้ายตนเอง นอกจากนี้ ยังพบว่าการว่างงานเป็นสาเหตุสำคัญของความเครียดในวัยทำงาน
ผลกระทบของการฆ่าตัวตาย
ด้านเศรษฐกิจ ในปี 2548 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจจากปัญหาการฆ่าตัวตายว่า มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 16,000 ล้านบาท ขณะที่บุญชัย นวมงคลวัฒนา และคณะ (2546) ศึกษาค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ที่พยายามฆ่าตัวตายที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชจำนวน 12 แห่ง พบมูลค่าความสูญเสียในเชิงเศรษฐกิจของผู้พยายามฆ่าตัวตายมีมูลค่า 37,793 บาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย
ด้านครอบครัว การฆ่าตัวตายส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของครอบครัว จากการศึกษาสมาชิกในครอบครัวที่มีการฆ่าตัวตาย พบว่ามีความรู้สึกผิด เสียใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล อับอาย หลายรายหันกลับไปดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ ทั้งที่หยุดไปแล้วหลายปี ไม่สามารถทำงาน หรือดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ส่งผลเสียต่อความสามารถในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะหากก่อนการฆ่าตัวตายมีปัญหาความสัมพันธ์กันอยู่เดิม กรณีที่พ่อหรือแม่ฆ่าตัวตาย เด็กจะรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการให้เด็กช้าลง หรือรุนแรงถึงขั้นหยุดชะงักลง หากลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น อาจพบปัญหาของการแสดงออกทางอารมณ์ มีแนวโน้มของการเกิดความคิดด้านลบมากขึ้น มีการให้ความหมายของเหตุการณ์ใหม่ที่เข้ามาในแง่ลบมากกว่าวัยรุ่นทั่วๆ ไป บาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างมาก
ด้านสังคมและชุมชน การฆ่าตัวตายในชุมชน นอกจากจะสร้างความสะเทือนใจแก่สมาชิกแล้ว ยังเป็นการสร้างแบบอย่างการแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ส่งผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว ที่เหลืออยู่เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ นำไปสู่ปัญหาของชุมชนและสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เมื่อเกิดการฆ่าตัวตายซ้ำๆ ในชุมชน จึงสร้างความกังวลใจว่า จะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้น
ปัจจัยปกป้องต่อการฆ่าตัวตาย
มาโนช หล่อตระกูล สรุปการศึกษาด้านปัจจัยปกป้องจากรายงานต่างประเทศ ประกอบด้วย มีลูกหลานในบ้าน มีความรู้สึกต้องรับผิดชอบครอบครัว มีศรัทธาในศาสนา ตั้งครรภ์ พึงพอใจในชีวิต การรับรู้ความจริง ยังไม่บิดเบือนไป เชื่อมั่นในการจัดการชีวิตตนเอง (self efficacy) มีความเข้มแข็งทางใจ (resiliency) ทักษะการปรับตัวดี ทักษะในการแก้ไขปัญหาดี มีการสนับสนุนจากสังคม สัมพันธภาพในการรักษาดี
การฆ่าตัวตายกับความสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ผลการสำรวจความสุขคนไทย ในปี 2551–2553 พบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการมีความสุขน้อย ได้แก่ การศึกษาต่ำ มีรายได้น้อย งานไม่มั่นคง ครอบครัวไม่มีเวลาให้แก่กัน และไม่มีกิจกรรมร่วมกัน สถานภาพสมรสหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ มีหนี้สินนอกระบบ เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ไม่เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพไม่ดี พักอาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีรายได้สูง
ปัจจัยเสี่ยงของการมีความสุขน้อย และปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย มีลักษณะร่วมที่แสดงถึงสภาพชีวิตที่ประสบปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปัญหาความมั่นคงในการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน การขาดแหล่งช่วยเหลือ และปัญหาสุขภาพ
การฆ่าตัวตายจึงบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่ประสบปัญหาชีวิตด้านต่างๆ ซึ่งหากพิจารณาในระดับสังคมและชุมชน การฆ่าตัวตายนับเป็นสิ่งสะท้อนถึงการขาดกลไกการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน และเมื่อพิจารณาในด้านระบบบริการของรัฐ ปัญหาการฆ่าตัวตายจึงแสดงถึงความจำเป็นที่รัฐ ชุมชนและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันจัดและให้บริการทางสุขภาพจิตให้ดียิ่งขึ้น
กฎหมายสุขภาพจิตและการเข้าถึงบริการ
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการและดูแลผู้ป่วยทางจิต ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 คือ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครอง ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสุขภาพจิตของประชาชน คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต และเพื่อเป็นการป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้ป่วยจิตเวช โดยกำหนดว่าผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพ และประกันสังคม และระบบอื่นๆ ของรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ประกอบด้วย (1) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ (3) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งเลือกกันเองจำนวนสี่คน เป็นกรรมการ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสาขาการแพทย์จิตเวช จิตวิทยาคลินิก สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กิจกรรมบำบัด และกฎหมายสาขาละหนึ่งคน เป็นกรรมการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
กำหนดนโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตรวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคม
วางหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต การให้บริการด้านสุขภาพจิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม
ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
กำหนดแบบหนังสือให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา ตามมาตรา 21
กำหนดหน่วยงานด้านสงเคราะห์และสวัสดิการ ตามมาตรา 40 (2)
วางระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ นับเป็นกลไกระดับชาติที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้ช่วยสนับสนุนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดตั้งกองทุนสุขภาพจิตจำนวน 200 ล้านบาท ในปี 2552 และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ขยายขอบเขตความคุ้มครองผู้ประกันตน จากเดิมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเฉพาะกรณีผู้ป่วยโรคจิตฉุกเฉิน ที่ต้องรับการรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน เป็นการให้รักษาในทุกกรณี ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
กรมสุขภาพจิตร่วมกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program, HITAP) ประเมินว่ามีผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือประมาณ 10 ล้านคนทั่วประเทศ แต่มีผู้เข้าถึงบริการสุขภาพจิตประมาณ 8 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการเข้าถึงบริการของผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต นับว่าระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน ยังมีประเด็นที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การเจ็บป่วยทางจิตได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เช่น ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม ยังไม่ให้ความคุ้มครองการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วยที่ทำร้ายตนเอง ทั้งที่ในทางวิชาการการทำร้ายตัวเอง ถือเป็นสัญญาณร้องขอความช่วยเหลือรูปแบบหนึ่งของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ที่มองไม่เห็นทางออกของชีวิต และในด้านปัจจัยทางสังคม พบว่าสังคมโดยรวมยังมีอคติต่อการเจ็บป่วยทางจิต ก่อให้เกิดอุปสรรคในการไปใช้บริการ และการอยู่ร่วมกันในสังคม
มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายและประสบการณ์ของไทย
องค์การอนามัยโลก ได้เสนอมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิก ประกอบด้วย การพัฒนาการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและสังคม การป้องกันและรักษาโรคซึมเศร้าและปัญหาจากการดื่มสุราและใช้สารเสพติด การควบคุมการเข้าถึงวิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตาย เช่น อาวุธปืน สารพิษทางการเกษตร การให้การดูแลผู้พยายามฆ่าตัวตายอย่างมีคุณภาพ การรายงานข่าวการฆ่าตัวตายที่เหมาะสมและรับผิดชอบของสื่อมวลชน การเพิ่มทักษะความสามารถในการดำเนินชีวิตให้กับเยาวชนในการจัดการอารมณ์และปัญหาต่างๆ โดยเสนอว่ามาตรการเหล่านี้ จะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้ แต่จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน
นิยามผู้ที่มีปัญหาทางจิตในงานวิจัย ได้แก่ 8 โรค/ภาวะ ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป็นขอบเขตของการศึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตที่สำคัญ ได้แก่ โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม โรคลมชัก ความผิดปกติทางจิตเวชจากแอลกอฮอล์ ความผิดปกติทางจิตเวชจากสารเสพติด ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรมในเด็ก การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย
ประสบการณ์ดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายของประเทศไทย มีตัวอย่างความสำเร็จในการดำเนินงานในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ตามมาตรการต่างๆ ข้างต้น ดังนี้
การพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตจัดโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขร่วมกับแกนนำชุมชนคัดกรองเพื่อค้นหาและรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พร้อมกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการการช่วยเหลือผู้พยายามฆ่าตัวตาย ดังตัวอย่างที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้ดำเนินการบูรณาการโดยการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ นำเสนอข้อมูล สร้างความตระหนัก และพัฒนาศักยภาพองค์กรต่างๆ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการคัดกรองค้นหาผู้มีอาการซึมเศร้า และผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย พบว่าช่วยให้อัตราการพยายามฆ่าตัวตายลดลงจาก 67.54 ต่อแสนประชากร ในปี 2550 เป็น 48.69 ในปี 2554 และอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงจาก 28.10 ต่อแสนประชากร ในปี 2550 เป็น 18.55 ในปี 2553
การควบคุมการดื่มสุรา อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พบว่าผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ มีปัญหาติดสุราร้อยละ 20 หลังจากการเผยแพร่ความรู้และจัดทำมติร่วมกันในชุมชน ได้จัดทำโครงการลดการเข้าถึงสุราลดปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยการรณรงค์งานศพปลอดเหล้า รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ดูแลผู้ติดสุราในชุมชน ทำข้อตกลงร่วมกับร้านจำหน่ายสุราในหมู่บ้าน พื้นที่ดำเนินการคือหมู่บ้านน้ำดิบและสบทา ไม่พบการฆ่าตัวตายสำเร็จที่สัมพันธ์กับการดื่มสุรา
การควบคุมสารพิษทางการเกษตร อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงของประเทศในอดีต วิธีการส่วนใหญ่เป็นการกินหรือดื่มสารพิษ โรงพยาบาลชุมชนร่วมมือกับหน่วยงานในอำเภอ ได้แก่ เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชนอำเภอ ร้านค้าและชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันควบคุมการจำหน่ายสารพิษทางการเกษตร โดยคิดคำนวณพื้นที่ทางการเกษตรในการจำหน่าย จัดจำหน่ายเฉพาะในฤดูกาลที่ต้องใช้ ไม่มีการเก็บสต็อก รณรงค์การงดใช้สารเคมี รณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัย และบูรณาการกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พบการฆ่าตัวตายลดลง
การพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนในระดับโรงเรียน โรงเรียนจากเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 555 โรงเรียน นำสื่อการเรียนรู้ “เติมเต็มความเข้มแข็งทางใจ” พัฒนาโดยแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พบว่านักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น รู้จักคิดจัดการปัญหา รับฟังความคิดเห็น ผ่อนคลายความเครียดได้อย่างถูกต้อง มีปัญหาพฤติกรรม (เช่น ทะเลาะวิวาท มาโรงเรียนสาย) น้อยลง ครูสามารถประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองได้มากยิ่งขึ้น มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษามากกว่า 50 แห่ง นำไปขยายผลต่อในเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ของตน
บริการแบบองค์รวมและการเกื้อกูลกันในชุมชน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 26.64 ต่อแสนประชากร ในปี 2551 จากการสัมภาษณ์ชุมชนพบว่าปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตายคือ การป่วยเป็นโรคเรื้อรัง การติดสุรา และปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงจัดประชุมร่วมระหว่างโรงพยาบาลกับชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำองค์กรท้องถิ่น พระสงฆ์ เพื่อช่วยเผยแพร่ความรู้ ดูแลกันภายในชุมชน อบรมพนักงานนวด ฝึกสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม และฝึกทักษะการปรึกษา กิจกรรมธรรมะสัญจร เยี่ยมบ้านผู้ป่วย สัญจรตามโรงเรียน ดูแลสุขภาพกายใจ พบอัตราการฆ่าตัวตายในปีต่อมาลดลง จากเดิมจำนวน 20 ราย เหลือ 11 ราย และ 5 ราย ตามลำดับ
การส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ประชาคมในหมู่บ้านตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยจัดตั้งองค์ผ้าป่าคลายทุกข์ขึ้นในวันพระ ใครมีความทุกข์ ความเครียด ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง หรือปรึกษาใครไม่ได้ ให้เขียนบรรยายความทุกข์แล้วนำไปเสียบที่ต้นผ้าป่า คณะกรรมการจะเปิดอ่านและประชุมกัน เพื่อหาแนวทางในการปลดทุกข์ให้กับประชาชนที่ถวายความทุกข์ต่อไป ส่งผลให้ไม่พบผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า และการพยายามทำร้ายตัวเองในหมู่บ้าน หลังดำเนินกิจกรรมทั้งในปี 2553–2554
การบูรณาการระดับจังหวัด จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดของประเทศในปี 2552 ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเวทีสมัชชาสุขภาพ ขณะเดียวกันจากเหตุการณ์นักเรียนรายหนึ่งฆ่าตัวตายสำเร็จจากการผิดหวังการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2550 ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้รอดชีวิต ซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้เสียชีวิต ภายใต้ชื่อ “ชมรมแสงเทียนส่องใจ” นำประสบการณ์การฝ่าวิกฤตชีวิตมาให้การช่วยเหลือเพื่อนบ้านและสื่อสารในชุมชน เกิดกระแสเชิงบวกลดตราบาปต่อปัญหาทางจิตเวช ชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหา และร่วมเป็นแกนนำ เป็นจุดสำคัญต่อการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นเครือข่าย จนนำไปสู่กำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ และนำประเด็นการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นระเบียบวาระของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2554
สื่อมวลชนกับการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตาย
องค์การอนามัยโลกเสนอแนวทางการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายสำหรับสื่อมวลชน ประกอบด้วย หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ เลี่ยงการบรรยายวิธีการฆ่าตัวตายโดยละเอียด ไม่ลงข้อความในบันทึกลาตาย (หากมี) ให้ความรู้เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและคำแนะนำเกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นและแหล่งช่วยเหลือ คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ญาติหรือผู้ใกล้ชิด ตระหนักถึงโอกาสในการเลียนแบบ หากผู้ฆ่าตัวตายเป็นดารา หรือผู้มีชื่อเสียง
แนวทางนำเสนอข่าวข้างต้น แตกต่างจากหลักการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน เพื่อให้ข่าว “ขาย” ได้ ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ กรมสุขภาพจิตเคยจัดประชุมร่วมกับบรรณาธิการข่าว ในช่วงที่มีข่าวการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมาก พบว่าช่วยให้การนำเสนอข่าวเป็นไปตามหลักการนำเสนอข่าวที่ดีมากขึ้น แต่ให้ผลเพียงระยะสั้น เนื่องจากยังขาดกลไกการควบคุมการนำเสนอข่าวจากสื่อมวลชนด้วยกันเอง และจากสังคมที่ยั่งยืน
ในวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทยปลายปี 2554 สื่อมวลชนได้แสดงบทบาทสร้างสรรค์ต่อสังคม ทั้งในด้านการนำเสนอข่าวในแง่มุมที่ช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการต่อสู้กับปัญหา เช่น เสนอตัวอย่างความร่วมแรงร่วมใจของชุมชนในการแก้ปัญหาร่วมกัน รับแจ้งปัญหาและช่วยเผยแพร่ข้อมูลเพื่อระดมความช่วยเหลือ ประสาน และระดมความช่วยเหลือให้แก่ชุมชน เปิดเวทีประชาชนสะท้อนมุมมองแง่ต่างๆ ต่อปัญหา ซึ่งเป็นบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลจิตใจประชาชน และช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
โดยสรุป การฆ่าตัวตายเป็นผลปลายทางที่ไม่พึงประสงค์ของปัจจัยที่หลากหลาย เป็นความสูญเสียที่ป้องกันได้ และเป็นภาพสะท้อนของระบบประกันสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพจิต และกลไกการอยู่ร่วมกันในชุมชนด้วยความเกื้อกูล องค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายไว้เป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในกรณีของประเทศไทย มีประเด็นสำคัญคือ การช่วยให้ผู้ป่วยทางจิตได้รับการคุ้มครองในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ การควบคุมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของสื่อมวลชน ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการเจ็บป่วยทางจิต และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อพัฒนากลไกการดูแลช่วยเหลือกันภายในชุมชน โดยเฉพาะการดูแลผู้มีปัจจัยเสี่ยงและผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ
ประเด็นพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติพิจารณาเอกสาร สมัชชาสุขภาพ 4/ร่างมติ 6
ตารางแสดงข้อมูล ๑๐ อันดับแรกของจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ปี ๒๕๔๒ – ๒๕๕๓ (อัตราต่อแสนประชากร) |
||||||||||||
ลำดับ mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๒ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๓ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๔ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๕ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๖ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๗ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๘ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๔๙ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๕๐ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๕๑ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๕๒ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
ปี ๒๕๕๓ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:EN-US"> |
๑ mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๓๑.๒๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๒๕.๕๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๒๓.๐๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๒.๘๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๔.๙๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๐.๖๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๘.๐๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๗.๗๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๗.๐๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๐๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๑๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๐.๐๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
๒ mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๒๓.๐๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๓.๓๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๑.๑๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๒๑.๙๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๒๑.๓๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๙.๔๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๗.๙๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๓๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๔๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๓๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๐๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๖๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
๓ mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๒๒.๗๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๘.๔๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๙.๔๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๗.๘๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๒๐.๐๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๖๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๗๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๓๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๓๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๙๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๗๑) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๔๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
๔ mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๗.๒๑) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๓๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๖๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุตรดิตถ์ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๘๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๘๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๔๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๐๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๑๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๗๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๘๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๒๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๐๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
๕ mso-bidi-language:EN-US"> |
ชลบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๖.๓๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
นครปฐม mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๖๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
อ่างทอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๘๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๓๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๖๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๙๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๙๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๑๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๕๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๓๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำพูน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๕๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงใหม่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๔๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
๖ mso-bidi-language:EN-US"> |
นครปฐม mso-bidi-language:EN-US"> (๑๕.๙๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ชลบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๕๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๑๑) mso-bidi-language:EN-US"> |
ภูเก็ต mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๑๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุตรดิตถ์ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๐๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๗๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๒๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๙๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๑๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๑๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๙๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๕๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
๗ mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๘๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
สมุทรสงคราม mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๑๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๐๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
เชียงราย mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๘๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๕๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๕๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
ชลบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๗๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๘๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๗๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุตรดิตถ์ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๙๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๒๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๐๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
๘ mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๗๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๔.๐๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๕๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
ชลบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๘๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๗๑) mso-bidi-language:EN-US"> |
ชลบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๗๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๒๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
ตาก mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๒๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๘๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๔๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
จันทบุรี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๑๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุตรดิตถ์ mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๙๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
๙ mso-bidi-language:EN-US"> |
อ่างทอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๗๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๕๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๓๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๗๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุทัยธานี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๕๔) mso-bidi-language:EN-US"> |
อ่างทอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๑๑) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระนอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๑๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
กำแพงเพชร mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๔๗) mso-bidi-language:EN-US"> |
แพร่ mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๗๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
พะเยา mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๖๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุทัยธานี mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๖๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ระยอง mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๘๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
๑๐ mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๓.๔๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
น่าน mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๙๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
ชัยนาท mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๒๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
นครปฐม mso-bidi-language:EN-US"> (๑๒.๔๒) mso-bidi-language:EN-US"> |
อ่างทอง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๑.๓๕) mso-bidi-language:EN-US"> |
แม่ฮ่องสอน mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๙๖) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๐๓) mso-bidi-language:EN-US"> |
อุตรดิตถ์ mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๑๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ตาก mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๕๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
สุโขทัย mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๕๙) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๑๐.๑๘) mso-bidi-language:EN-US"> |
ลำปาง mso-bidi-language:EN-US"> (๙.๗๐) mso-bidi-language:EN-US"> |
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ระเบียบวาระที่ 2.6 วันที่ 2–4 มกราคม 2555
การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น)
ได้พิจารณารายงานเรื่องการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ ...ไม่คิดสั้น)
กังวล ต่อสถานการณ์การเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ย 10 คนต่อวัน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และชุมชนอย่างรุนแรง
ห่วงใย ว่าการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความไม่แน่นอนของชีวิต ความไม่มั่นคงและปลอดภัยในชีวิต ตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ตระหนักว่า การฆ่าตัวตายเป็นผลปลายทางที่ไม่พึงประสงค์ของปัจจัยที่หลากหลาย แต่เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ อีกทั้งประเทศไทยมีตัวอย่างความสำเร็จ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะกลไกภายในชุมชนและระบบบริการ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ
เห็นว่า การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย ควรมุ่งเน้นทั้งด้านการป้องกันคือ การสร้างความสุขและความเข้มแข็งทางใจให้กับประชากรทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง และด้านการช่วยเหลือ เมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเจ็บป่วยทางจิต เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
จึงมีมติดังต่อไปนี้
1.ให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการและกลไกในด้านต่างๆ ดังนี้
การดำเนินการเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิต เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอุปสรรคทางสังคมที่เกิดจากการมีอคติต่อการเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยการสนับสนุนการสร้างความเข้าใจ และค่านิยมที่ถูกต้องในเรื่องความเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยเฉพาะในชุมชนและค่านิยมใหม่ในสังคม ต่อการเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับสุขภาพจิตแก่ประชาชน
การพัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษาสำหรับผู้มีปัญหาชีวิตและสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ มีการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยการบูรณาการความร่วมมือของครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน
2.ให้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับ กสทช. ประสานขอความร่วมมือให้องค์กรสื่อสารมวลชน...
พัฒนามาตรการควบคุมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายระหว่างสื่อมวลชนกันเอง โดยอาศัยมาตรการทางจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยเข้มงวดในการกลั่นกรองข่าวที่นำเสนอ และสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพจิต ความเข้มแข็งทางใจ การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว รวมทั้งชี้ช่องทางการเข้าถึงแหล่งให้บริการการให้คำปรึกษา
งดเว้นการนำเสนอภาพหรือเนื้อหา ที่สื่อถึงความรุนแรงและวิธีในการฆ่าตัวตายในสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะละคร สื่อภาพยนตร์ สื่อออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ส่งเสริมกระบวนการชื่นชมและเชิดชูเกียรติการทำงานของสื่อมวลชนที่ดี ในการส่งเสริมการสร้างความสุขใจ แก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย
3.ให้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด รับผิดชอบการพัฒนาระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลภายในครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
สร้างกลไกการสร้างความสุขใจและการเกื้อกูลกันภายในครอบครัวและชุมชน สร้างระบบบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ เตรียมความพร้อมทางจิตใจต่อภัยพิบัติและวิกฤติชีวิต โดยครอบคลุมถึงการเผยแพร่หลักคำสอนทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี พัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลจิตใจ และสร้างความสุข ตลอดจนกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และเพิ่มปัจจัยปกป้องต่อการฆ่าตัวตาย
จัดให้มีระบบฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ที่ชัดเจนโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วย เพื่อการค้นหา วางแผน เฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้มีปัญหาในการดำรงชีวิตของกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องเข้าถึงและให้ความช่วยเหลืออย่างทันการณ์
4.ให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6