Skip to main content

ส่งสัญญาณเอกภาพนักการเมืองชายแดนใต้ รวมหัวถก เสนอ 7 ข้อ แก้ปมไฟใต้ ทลายพรรคพวก ผู้จัดพื้นที่ชี้ นักการเมืองจชต. ขอพื้นที่กลาง กล้าคิด แต่ยังไม่เคยร่วมโต๊ะถกเถียงกันเอง

 

                                ส

 

 

                                                  โคทม อารียา "Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;
mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">

 

เวลา 9.00 น. วันที่ 30 มกราคม 2555 ที่ห้องฟาตอนี โรงแรม ซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี นายโคทม อารียา  อาจารย์ประจำที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ได้จัดเวทีสานเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาและหาทางออกกับนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นเวทีปิดเฉพาะนักการเมืองเข้าร่วม 12 คน ประกอบด้วย นายนัจมุจดีน อูมา อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคมาตุภูมิ นายอับดุลเลาะห์มาน อับดุลสมัด อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคเพื่อไทย

นายเจะอามิง โตะตาหยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ นายแวมาฮาดี แวดาโอะ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคแทนคุณแผ่นดิน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ นายบูรฮานูดิน อูเซ็ง อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา พรรคเพื่อไทย นายสุทธิพันธ์ ศรีริกานนท์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคเพื่อไทย นายมุข สุไลมาน อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี พรรคมาตุภูมิ นายมูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี พรรคมาตุภูมิ

ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยน จนถึงเวลาที่ 13.00 น. วันเดียวกัน ทั้งหมดได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการเสวนาได้ข้อสรุปทั้งหมด 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.รัฐบาลควรมอบหมายให้รัฐมนตรีอย่างน้อย 1 คน รับผิดชอบการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง 2.ควรผลักดันร่างพระราชบัญญัติศาลชารีอะห์ ร่างพระราชบัญญัติกิจการฮัจญ์ ร่างพระราชบัญญัติอาหารฮาลาล และพระราชบัญญัติกองทุนซะกาต ที่ตกไปจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

3.รถยนต์ที่ใช้ในพื้นที่ จะต้องมีป้ายทะเบียนรถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดความหวาดระแวงว่าเป็นรถที่ไม่ปรากฏที่มา และอาจมีความประสงค์ร้าย เรื่องนี้ควรแจ้งให้ฝ่ายราชการ โดยเฉพาะด่านตรวจให้ความสนใจและกวดขัน 4.รัฐบาลควรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระศึกษาและพัฒนากระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้

5.ควรขยายพื้นที่ที่มีกการยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อ.สุคิริน และอ.แว้ง จ.นราธิวาส อ.กะพ้อและอ. ไม้แก่น จ.ปัตตานี และ อ.เบตง จ.ยะลา เป็นต้น 6.ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ควรเน้นแนวทางทางการเมืองและการพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่

7.ตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ กำลังจะพิจารณายุทธศาสตร์ความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จากการพิจารณาร่างนโยบายดังกล่าวพบว่า เป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งฝ่ายปฏิบัติพึงนำไปปฏิบัติใช้ให้เป็นจริงต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดคร่าวๆ ครั้งต่อไปจะจัดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรมอิมพีเรียล จังหวัดนราธิวาส ประเด็นที่จะนำขึ้นมาพูดคุยคือ การเตรียมความพร้อมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยอาจจะเป็นเวทีเปิดให้หลายภาคส่วนเข้าร่วมรับฟัง

สำหรับงานสานเสวนาครั้งนี้ เป็นข้อเสนอจากวงเสวนานักการเมือง ที่ทางสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา จัดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ซึ่งต้องการให้มีวงเสวนาในลักษณะนี้ทุกเดือน เพื่อให้เป็นพื้นที่กลาง สำหรับการถกเถียงของนักการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแสดงบทบาทการร่วมแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ชัดเจน พร้อมกับให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบความเคลื่อนไหวข้อเสนอของวงเสวนา รับรู้ว่านักการเมืองในพื้นที่มีท่าทีอย่างไรต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนรับทราบว่า นักการเมืองไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือไม่ได้ทำอะไรอย่างที่มีผู้วิจารณ์