ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
เวลา 09.30 – 16.45 น.เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะ จัดการประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมถึงโครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง-จะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีส่วนราชการ อาทิ สำนักบำรุงทางสงขลาที่ 2 กรมทางหลวง,ตัวแทนจากสำนักชลประทาน 11 สำนักงานโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน และมีชาวบ้านร่วมรับฟังประมาณ 50 คน
นายร่อหีม หมะสะมะ ชาวบ้านตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กล่าวในที่ประชุมว่า ตนและชาวบ้านกังวลว่าโครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง-จะนะ จังหวัดสงขลา ของกรมชลประทาน ไม่ใช่แนวทางการแก้ไขน้ำท่วมอำเภอจะนะ ที่แท้จริง อาจเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา "Times New Roman"">2 ที่บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) สงขลา-สตูล และนิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายกิตติภพ สุทธิสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายฅนรักษ์จะนะ "Times New Roman""> จังหวัดสงขลา กล่าวว่า จุดประสงค์ของการประชุมก็เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำท่วมอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ประสานงานกับนักวิชาการด้านผังเมือง นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ และดำเนินการวิจัยในชุมชน
“จากการวิจัยพบว่า ถนนเพชรเกษม mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">43 และทางรถไฟในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดน้ำท่วมอำเภอจะนะ เพราะไปกั้นเส้นทางไหลของน้ำในอดีต ขณะเดียวกันชาวบ้านก็หวั่นในการรองรับนิคมอุตสาหกรรมในอำเภอจะนะด้วย” นายกิตติภพ กล่าว
นายสมพร ช่วยอารีย์ อาจาย์ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำเสนอว่า จากการที่ตนศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พบว่า ควรสร้างสร้างสะพาน 3 สะพานบนถนนเพชรเกษม 43 ตามเส้นทางเดิมของน้ำ บริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อีกทั้งควรเปิดช่องบริเวณสองข้างทางรถไฟในเขตเทศบาลตำบลบ้านนาด้วย
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอว่า ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จัดตั้งคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยประกอบด้วย ตัวแทนกรมชลประทาน ตัวแทนกรมทางหลวง ตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ และชาวบ้าน ร่วมกันแก้ไขปัญหา
นายแพทย์นิรันดร์ เสนออีกว่า ต้องการให้ศึกษาแนวทางการจัดการน้ำท่วม ที่บริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ไม่ว่า โครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง-จะนะ จังหวัดสงขลา ควรมองการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม
“ควรกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำท่วมโดยยึดหลักสิทธิชุมชน นโยบายการมีส่วนร่วมอาจมีการทำประชาพิจารย์ให้ชาวบ้านลงมติ” นายแพทย์นิรันดร์ กล่าว
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> โครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง-จะนะ จ.สงขลา ข้อมูลโครงการ - โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 1. ประวัติโครงการ โครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– จะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโครงการในแผ่นแม่บทลุ่มน้ำเทพา – นาทวี ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้ทำการศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการโดยเร่งด่วน กรมชลประทานจึงได้เร่งดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง – จะนะ ภายหลังจากการจัดทำแผนแม่บทลุ่มน้ำเทพา - นาทวีแล้วเสร็จ ผลจากการศึกษาแผ่นแม่บทลุ่มน้ำเทพา mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– นาทวีและจากการประชุมเชิงปฏิบัติการสามารถสรุปความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ได้ว่า ในช่วงฤดูฝน มักจะเกิดปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอ นาทวี และอำเภอจะนะเป็นประจำทุกปี หลังจากเกิดฝนตกหนักจะมีน้ำปริมาณมากไหลลงคลองและทางน้ำพื้นที่ ซึ่งคลองมีลักษณะคดเคี้ยวจึงเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม รวมไปถึงพื้นที่การเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเทศบาลเป็นปัญหาหลักที่รุนแรง ดังนั้นโครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง – จะนะ เป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหลักของประชาชนโดยตรง สภาพภูมิประเทศ โครงการตั้งอยู่ที่ลุ่มน้ำคลองนาทวี ซึ่งจะลาดเอียงเทลงจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ พื้นที่ทิศใต้ติดกับชายแดนไทย mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– มาเลย์พื้นที่ทิศเหนือติดชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มหรือป่าพรุเป็นแห่งๆ พื้นที่ราบตามแนวชายฝั่งมีลักษณะสันทรายขนานกับแนวชายฝั่งทะเล พื้นที่บริเวณปากน้ำจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็ก (lagoon) ชาวบ้านเรียกว่าปากบาง มีคลองนาทวีซึ่งเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นคลองสายหลักในลุ่มน้ำ คลองนาทวีจะไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือผ่านอำเภอนาทวีและอำเภอจะนะ ตอนปลายคลองแยกออกเป็น 2 สาย สายที่หนึ่งแยกที่บ้านท่าล้อ อำเภอจะนะแล้วไหลลงทะเลที่บ้านปากบางสะกอม ตำบลสะกอม อีกสายหนึ่งจะไหลเข้าคลองนาทับและลงทะเลที่บ้านปากบางนาทับ ตำบลคลองเปียะทั้งสองตำบลอยู่ในเขตอำเภอจะนะ 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและนโยบายระดับชาติจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ โดยมีเป้าหมายหลักของโครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– จะนะ คือการลดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยมุ่งลดขนาดของพื้นที่ ระดับความลึก และระยะเวลาที่น้ำท่วมขังให้เหลือน้อยที่สุด ของอำเภอนาทวี, อำเภอจะนะ และพื้นที่ใกล้เคียงตลอดจนเพื่อพัฒนาระบบเก็บกักน้ำและระบบส่งน้ำเพื่อการใช้น้ำซึ่งช่วยยกระดับการผลิตและมาตรฐานการคลองชีพของประชาชน 3. ที่ตั้งโครงการ โครงการระบบระบายน้ำปลักปลิง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– จะนะ ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำคลองนาทวี ครอบคลุมอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ และบางส่วนของอำเภอเทพา อำเภอนาหม่อม อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมือง จังหวัดสงขลาอำเภอนาทวีและอำเภอจะนะ แผนที่มาตรส่วน 150,000 ระวาง: 5122 III , 5123 III , 5122 IV , 5122 I และ 5023 II 4. ค่าลงทุนโครงการ 1,750 ล้านบาท 5. ระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 5 ปี (พ.ศ.2551 – 2555) 6. ลักษณะของโครงการ การศึกษาระบบระบายน้ำในครั้งนี้จะประกอบด้วย การศึกษาวิธีการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ ผสมผสานกันโดยได้พิจารณาวิธีการต่าง ๆ ที่ทางกรมชลประทานและจังหวัดได้เสนอไว้ดังนี้
- ขุดคลองผันน้ำและคลองเชื่อม
- การปรับปรุงและขุดคลอง 7 สาย
- งานรื้อถอน ทรบ.เดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
- การปรับปรุงระบบระบายน้ำ
- งานก่อสร้าง ปตร.คลองนาทวี
7. ผลประโยชน์ของโครงการ
เพื่อบรรเทาอุทกภัยอำเภอนาทวี อำเภอจะนะและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อลดการขาดแคลนน้ำในการใช้อุปโภค mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">– บริโภค พื้นที่ทางการเกษตร, ปศุสัตว์ และการประมงช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสังคม
|
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">