color:red">แผนที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ชาวบ้านตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงประมาณ 300 คน รวมตัวกันที่วัดรัษฎาราม (วัดเงิน) ตำบลบางงอน เนื่องจากมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี– font-style:normal">พุมดวง กรมชลประทาน จะลงพื้นที่รังวัดที่ดิน พร้อมกับสำรวจสิ่งปลูกสร้างและผลอาสินที่บ้านเงิน ตำบลบางงอน โดยมีเจ้าหน้าตำรวจจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้การคุ้มกัน
ต่อมา เวลา 09.30 น. วันเดียวกัน ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษได้ประสานงานให้ชาวบ้านส่งตัวแทนไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี– font-style:normal">พุมดวง ที่สหกรณ์สุราษฎร์ธานี ( font-style:normal">โค–อ๊อป)
กระทั่ง เวลา 10.30 น. ตัวแทนชาวบ้าน 5 คน ได้เปิดเจรจากับตัวแทนสำนักงาน font-style:normal">ก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี– font-style:normal">พุมดวง 5 คน และตัวแทนตำรวจอีก 10 คน การเจรจาดำเนินไปอย่างเคร่งเครียดกว่า 1 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนต้องยุติการเจรจาในเวลาประมาณ 12.00 น.
จากนั้น เวลาประมาณ 13.00 น. ตัวแทนชาวบ้านได้กลับมาแจ้งผลจากการเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมที่วัดรัษฎาราม โดยแกนนำคัดค้านโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงย้ำกับผู้ชุมนุมว่า ถ้าไม่ต้องการสูญเสียที่ดินก็อย่าเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานเข้าไปรังวัดที่ดิน สำรวจสิ่งปลูกสร้างและผลอาสิน จากนั้นได้ประกาศสลายการชุมนุมเวลา 13.30 น. วันเดียวกัน
นายเฉลียว ภิญญานิล คณะทำงานเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ชาวบ้านยื่นข้อเสนอให้กรมชลประทานหยุดดำเนินการ จนกว่าศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษาว่า จะให้ดำเนินการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงต่อไปหรือไม่ ซึ่งขณะนี้กระบวนการยังอยู่ในการพิจารณาของศาล แต่กรมชลประทานไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ของชาวบ้าน
นายเฉลียว เปิดเผยว่า หลังจากนี้ชาวบ้านต้องเฝ้าระวังที่ดินของตัวเอง ไม่ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานเข้าไปรังวัดที่ดิน อีกไม่กี่วันข้างหน้าตนจะไปที่สภาทนายความ เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีชาวบ้านฟ้องศาลปกครองให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง
“ปริมาณน้ำจืดจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จะผลักดันน้ำเค็มในอ่าวบ้านดอนให้ถอยร่นออกไป จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่แหล่งสัตว์น้ำเศรษฐกิจและระบบนิเวศอย่างมหาศาล และต้องเวนคืนที่ดินชาวบ้านร่วม 2,000 ราย ต้องขุดคลองย่อยสาขาอีก 28 สาย คลองย่อยบางสายสร้างขวางทางน้ำ มีแนวโน้มจะทำให้น้ำท่วมจังหวัดสุราษฎร์ธานีหนักกว่าเดิม” นายเฉลียว กล่าว
นายมนตรี ธนสุคนธ์ นายช่างโยธาอาวุโส ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการก่อสร้าง สำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี– font-style:normal">พุมดวง เปิดเผยว่า กรมชลประทานจะเจรจาหาทางออกอีก 2–3 ครั้ง หากตกลงกันไม่ได้ อาจจะต้องหามาตรการอื่นมาดำเนินการ
รายงานการประชุมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ตามที่จังหวัดขอสนับสนุน เพื่อรองรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board)
.....................................................................
color:black">โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎ์ธานี
color:black">1. ความเป็นมา
- ตั้งแต่ปี mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2510 กรมชลประทาน ได้เริ่มดำเนินการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ในลุ่มน้ำตาปี?พุมดวง ประกอบด้วย เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) และเขื่อนแก่งกรุง (เขื่อนคลองยัน) กรมชลประทานได้โอนงานก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนแก่งกรุงให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการ ก่อสร้างเขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จในปี 2530
- ในปี mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2533 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับไปดำเนินการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบชลประทานที่ล่าสุด โดยเฉพาะพื้นที่ชลประทานที่จะได้จากการก่อสร้างเขื่อนแก่งกรุง และกรมชลประทานได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2537 ปรากฏว่าโครงการมีความเหมาะสมต่ำ เนื่องจากจำเป็นต้องอพยพราษฎรและต้องลงทุนค่าชดเชยทรัพย์สินสูง ทำให้ได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับเขื่อนแก่งกรุงมีกระแสต่อต้าน และได้ระงับการดำเนินงานเอาไว้ก่อน
- กรมชลประทานจึงได้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากน้ำที่ปล่อยจากท้าย เขื่อนรัชชประภามาใช้ประโยชน์ จึงได้ทำการศึกษาทบทวนความเหมาะสม โดยพิจารณาการพัฒนาชลประทานสูบน้ำจากแม่น้ำพุมดวง เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 73,980 ไร่ มีความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เป็นการบริหารจัดการน้ำหลังจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนรัชชประภา มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
color:black">2. ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการโครงการ
color:black">เขื่อนรัชชประภาได้ปล่อยน้ำจากท้ายเขื่อนเนื่องจากการผลิตกระแส ไฟฟ้าประมาณ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:black">3,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีปริมาณน้ำจากคลองสาขาไหลมารวมในแม่น้ำพุมดวงอีกประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำพุมดวงประมาณ 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ไหลลงสู่ทะเลโดยไม่มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี?พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นการบริหารจัดการน้ำโดยการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ
color:black">3. วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่
- เพื่อการอุปโภค mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">?บริโภค
- เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
color:black">4. รายละเอียดของโครงการ
- ที่ตั้งโครงการ ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
- ลักษณะทางวิศวกรรมของโครงการ
- สถานีสูบน้ำ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">1 แห่ง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวมทั้ง 33.16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบด้วย
- เครื่องสูบน้ำขนาด mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">1.93 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง
- เครื่องสูบน้ำขนาด mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2.12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 12 เครื่อง
- ระบบส่งน้ำ ความยาวรวมประมาณ 139 กม.
- ระบบระบายน้ำความยาวรวมประมาณ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">83 กม.
- สถานีสูบน้ำ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">1 แห่ง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวมทั้ง 33.16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบด้วย
color:black">5. ระยะเวลาดำเนินการ?8 ปี (พ.ศ. 2552?2559)
color:black">6. งบประมาณ วงเงินโครงการทั้งสิ้น 3,330.00 ล้านบาท
- งบดำเนินงาน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">41.00 ล้านบาท
- งบบุคลากร mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">77.00 ล้านบาท
- งบลงทุน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">3,107.24 ล้านบาท
- เผื่อเหลือเผื่อขาด mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">104.76 ล้านบาท
color:black">มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี ดังนี้
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2552 : จำนวน 262.81 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2553 : จำนวน 296.69 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2554 : จำนวน 525.99 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2555 : จำนวน 637.77 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2556 : จำนวน 732.57 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2557 : จำนวน 346.32 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2558 : จำนวน 251.99 ล้านบาท
- พ.ศ. mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 2559 : จำนวน 175.86 ล้านบาท
- รวม mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 3,330.00
color:black">7. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
color:black">ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี color:black">2552
?ที่อัตราคิดลดร้อยละ |
8 |
10 |
12 |
|
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">?(B/C) |
1.70 |
1.50 |
1.19 |
? |
มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">?(NPV) |
1,842 |
1,262 |
440 |
ล้านบาท |
อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">(EIRR) |
13.60 |
13.60 |
13.60 |
% |
color:black">8. ประโยชน์ของโครงการ
- เพิ่มพื้นที่ชลประทาน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">73,980 ไร่ โดยสามารถส่งน้ำในฤดูฝน 73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่
- มีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค
- เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
color:black">9. ผลกระทบจากการอนุมัติโครงการ
color:black">เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตา ปี "Times New Roman";color:black">?พุมดวง จังหวัดสุราษฏร์ธานีแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ดินและทรัพย์สินของประชาชนประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งกรมชลประทานได้เตรียมมาตรการในการจ่ายทดแทนทรัพย์สินไว้ในแผนงานโครงการ แล้ว
color:black">10. สถานภาพโครงการ
- ด้านแบบก่อสร้าง แบบ และรายละเอียดด้านวิศวกรรมแล้วเสร็จ 100% (เสร็จปี 2544)
- ด้านการจัดหาที่ดิน การสำรวจปักหลักเขตแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างขอคำขอรังวัดจากเจ้าของที่ดิน (ประมาณ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2,000 ราย)
- รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> (EIA) ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมปี 2535
- การมีส่วนรวมของประชาชน กรมชลประทานได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ รวมทั้งระดับหมู่บ้าน รวมแล้วประมาณ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">40 ครั้ง
color:black">ที่มา : กรมชลประทาน