Skip to main content

 

            .

 

หลังจากเกิดเหตุทหารพราน กรมทหารพรานที่ color:#2A2A2A">43 ยิงชาวบ้านตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บ 5 คน เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 กำลังพลจากกรมทหารพรานที่ 22 ก็เข้ามาสับเปลี่ยนแทนกรมทหารพรานที่ 43 ตามข้อเสนอของชาวบ้านตำบลปุโละปุโย ในแทบจะทันที

พันเอกชาคริต สนิทพ่วง ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ color:#2A2A2A">22 ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี นำกำลังเข้าพื้นที่ด้วยผ้าผูกคอสีชมพู รับภารกิจฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ทรุดต่ำลงให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง

ต่อไปนี้ เป็นความรู้สึกของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมทหารพรานที่ 22 จากภาคอีสาน ที่ถอดจากคำสัมภาษณ์ออกมานำเสนอคำต่อคำ

color:#2A2A2A"> 

………………………..............................

 

          .

                                                     พ.อ.ชาคริต สนิทพ่วง

 

 

 “ที่ผ่านมาทหารทำผิดพลาดก็มี แต่ผมอยากให้มองไปที่ตัวบุคคลไม่ใช่เหมารวมไปทั้งหน่วยงาน คนหมู่มากอาจจะมีบางคนออกนอกลู่ไปบ้าง ผมอยากให้เข้าใจว่าผู้บังคับบัญชามีมาตรการป้องกันไม่ให้ทหารทำผิดวินัยอย่างเข้มงวด เราไม่ได้ปกป้องคนผิดไม่ให้ถูกทำโทษ เพราะจะทำให้คนในพื้นที่สูญเสียความเชื่อมั่นในการปฏิบัติภารกิจ ภาพพจน์ของทหารพรานจึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องทำให้ชาวบ้านเชื่อมั่นและอยากพึ่งพา

ก่อนหน้านี้ ทหารพรานถูกมองว่าไม่มีวินัย ผู้บัญชาทหารบกจึงกำชับทหารพรานชุดใหม่ ที่ลงมาแทนทหารหลักในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วินัยต้องดีกว่าเดิม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใหม่ สนองแนวคิด ‘สุภาพบุรุษทหารพราน’

สำหรับกรมทหารพราน 22 สังกัดกองทัพภาคที่ 2 ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤษภาคม2554 ทยอยลงมาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน อันนี้เป็นผลมาจากนโยบายกองทัพบก ที่ต้องการนำทหารหลักออกจากพื้นที่ แล้วส่งทหารพรานมาปฏิบัติภารกิจหลักในจังหวัดชายแดนภาคใต้แทน มีการฝึกอาสาสมัครทหารพรานชุดใหม่ ส่งลงมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากอาสาสมัครทหารพรานที่มาจากกรมนี้มาจากภาคอีสานทั้งหมด จึงต้องอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ ต้องฝึกเข้มนานกว่า 8 เดือน มีการลงพื้นที่ร่วมกับทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เห็นการปฏิบัติการจริงนาน 3 เดือน ก่อนถูกส่งมาประจำฐานปฏิบัติภารกิจครั้งแรกที่ตำบลปุโละปุโย

กรมทหารพราน 22 ชุดนี้ มาจากการเปิดรับสมัครกำลังพลเข้ามาฝึกเป็นทหารพราน เมื่อเดือนเมษายน 2554 ปรากฏว่ามีพลทหารราบที่เคยมาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 50 เปอร์เซนต์ของกำลังพลทั้งหมด อีกครึ่งหนึ่งเป็นอาสาสมัครจากภาคพลเรือน จากนักศึกษาวิชาทหารผ่านการฝึกกองอาสารักษาดินแดน (รด.) มาแล้ว และอีกส่วนหนึ่งมาจากพลเรือนที่ไม่เคยผ่านการฝึกวิชาทหารมาก่อน

ผมเชื่อมั่นว่า กองกำลังทหารพรานของหน่วยผม จะมีความเข้าใจใสภาพพื้นที่มากกว่า เนื่องจากมีพลทหารจากหน่วยทหารราบมาสมัครเป็นอาสาสมัครทหารพรานเกือบครึ่งหนึ่งของผู้เข้ามาสมัครทั้งหมด กำลังพลส่วนนี้มีความชำนาญ และเข้าใจสภาพปัญหาในพื้นที่ระดับหนึ่ง ผมจึงไม่กังวล แต่สำหรับอาสาสมัครที่ไม่มีประสบการณ์จะต้องผ่านการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในพื้นที่อย่างเข้ม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไร ความเชื่อทางสังคมและศาสนาเป็นอย่างไร อาสาสมัครทหารพรานทุกคนต้องรู้ และตระหนักในส่วนนี้ เพื่อให้การเข้าหาชุมชนไม่มีปัญหา

การฝึกทหารทหารชุดใหม่ของกรมทหารพราน color:#2A2A2A">22 พิเศษกว่าชุดเดิม เราเข้มงวดเรื่องระเบียบวินัยและการทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่า มีเงื่อนไขสำคัญอะไร ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ที่ผ่านมาเคยมีบทเรียนอะไรบ้าง ที่สามารถเอาชนะได้

ทหารต้องรู้จักให้เกียรติคนในท้องถิ่น ให้เกียรติผู้นำทางศาสนา ต้องเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของพี่น้อง กำลังพลต้องเข้าใจว่า คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีความเคารพนับถือผู้นำท้องถิ่น ผู้รู้ทางศาสนาเป็นอย่างมาก วิถีของคนในพื้นที่มีผู้นำทางศาสนาดูแลอยู่แล้ว เราเป็นเพียงตัวเสริมในบางกรณีที่ชุมชนจัดการกันเองไม่ได้ เช่น อิทธิพลมืดบางอย่างที่ชุมชนไม่กล้าจัดการ ฉะนั้นทหารพรานใหม่ ต้องเข้าใจบทบาทตัวเองให้ดี เพื่อลดการกระทบกระทั่งกันในชุมชน

ส่วนการควบคุมอาสาสมัครทหารพราน ผู้บังคับบัญชาต้องสอดส่องวินัยของทหารพรานใหม่อย่างใกล้ชิด พบใครกระทำผิดวินัยแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ต้องรีบตักเตือนและแก้ไขทันที เป็นการป้องกันไม่ให้ติดเป็นนิสัย

ช่วงหลังทหารเครียดบ่อย เพราะถูกกดดันจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาต้องดูแลสภาพจิตใจควบคู่การควบคุมดูแลระเบียบวินัยของทหาร ด้วยการเพิ่มเวลาพักเป็น color:#2A2A2A">15 วัน เนื่องจากทหารพรานส่วนใหญ่ที่เป็นพี่น้องที่มาจากภาคอีสาน เวลาพักส่วนใหญ่จะหมดกับไปกับเดินทาง จึงกำหนดช่วงเวลากลับบ้านที่ชัดเจน โดยเพิ่มเวลาที่ทหารจะได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวมากขึ้น และยังมีการอบรมทางจริยธรรมแก่ทหารพรานใหม่ โดยเชิญพระอาจารย์จากอีสานมาให้พร และให้ความรู้ทางธรรมแก่ทหาร เพื่อช่วยปรับสภาพจิตใจด้วย

ส่วนการกระทำผิดผิดวินัยร้ายแรง ต้องยอมรับก่อนว่า ปัจจุบันการปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริงทำได้ยาก ชาวบ้านรับรู้ข่าวสารเร็วมาก การปกป้องผู้กระทำผิดจึงทำกันไม่ได้ง่ายๆ ถ้าจะทำให้ชาวบ้านไว้วางใจ กระบวนการสอบสวนทหารที่ทำผิดวินัยต้องโปร่งใส การเอาผิดกับทหารพราน ซึ่งเป็นอาสาสมัครอัตราจ้าง กรณีทำผิดวินัยร้ายแรง หรือทำผิดต่อประชาชน ไม่ว่าจะปลดออก หรือดำเนินคดีก็ทำได้ง่ายกว่าทหารหลัก

ในส่วนของกรมทหารพรานที่ 22 ที่ลงมาปฏิบัติภารกิจแทนที่กรมทหารพรานที่ 43 มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ชุดคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริง ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล และอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานต่างๆ ลงไปเยียวยาชาวบ้าน

ผมทราบดีว่า ธรรมชาติของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเคารพนับถือผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและบุคคลที่ประชาชนเคารพนับถือ เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ก็ต้องให้เกียรติ เหมือนกับที่ชาวบ้านเคารพ

ถ้าชาวบ้านและผู้นำชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ การทำงานในพื้นที่ก็ลำบาก ทหารพรานใหม่จะถูกปลูกฝังเรื่องนี้ เพื่อให้การทำงานในพื้นที่ราบรื่นขึ้น

color:#2A2A2A">เหตุการณ์ที่ปุโละปูโย ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้ชาวบ้านและทหารพรานเผชิญหน้ากัน เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาตลอด บทเรียนที่ได้รับคือ ฝ่ายตรงกันข้ามจะนำไปขยายผลให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ และบางครั้งกำลังพลของทหารเอง ก็เข้าไปมีส่วนทำให้สถานการณ์ร้ายแรงขึ้น พลทหารจึงต้องรู้ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ชาวบ้านย่อมไม่พอใจ เราต้องขอโทษและระมัดระวังตัว

color:#2A2A2A">อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำชุมชนในพื้นที่ ที่มีความขุ่นเคืองใจกัน จำเป็นต้องมีตัวกลางในการเข้ามาไกล่เกลี่ย และเรื่องยาเสพติด

color:#2A2A2A">ที่ผ่านมา แนวร่วมของขบวนการที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของเราบางคน ถึงแม้จะมีรายชื่ออยู่ในบัญชี แต่ก่อนที่จะควบคุมตัว ต้องเข้าไปสอบถามกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาก่อนว่า มีผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีของฝ่ายรัฐ ให้เอาตัวมาพูดคุยและตกลงกันไม่ให้ก่อเหตุ บางคนไม่ได้ไปกระทำผิดมา ชุมชนจะทราบ ต้องใช้มาตรการทางสังคมก่อนที่จะใช้มาตรการทางกฎหมาย