Skip to main content

            . 

 

            .

                เสียงอัลนาชีดอึงอลก้องกึกบริเวณตึกสีอิฐในเวลาที่ดวงอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้วกว่า 4 ชั่วโมง ผู้คนเกือบร้อยกำลังนั่งสดับฟังขณะมือกุมช้อนตักข้าวเพื่อรับประทานคลอเคล้าเสียงดนตรีที่ถูกขับร้องด้วยภาษามลายู

บนเวทีนายตูแวนียา มือรืองิง และนางสาวเพชรา ยิ่งดำนุ่น สองพิธีกรได้เชิญพ.ต.อ.ทวี   สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ขึ้นพูดคุยกับบรรดาสื่อมวลชนในงานเลี้ยงหลังจากที่วันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ครั้งที่  2 วันแรกเพิ่งจบลงไปหมาดๆ

พ.ต.อ.ทวี  บรรจงจับไมโครโฟนจากพิธีการก่อนจะกล่าวว่า รัฐได้ทุ่มเงินไปกับสื่อกระแสหลักทั้งช่อง 11 ช่อง 9 อสมท. รวมทั้งสื่ออื่นๆ เพื่อสื่อสารเรื่องราวในจังหวัดชายแดนใต้ แต่ไม่ได้ผลในการลดความรุนแรงและทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่

“ทุกวันนี้ศอ.บต.ต้องติดตามข่าวสารที่หลายหลายจากสื่อทางเลือกที่สะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างรวมถึงความต้องการของคนในพื้นที่ เรามีจุดยืนเดียวกับท่าน ขอให้ศอ.บต.เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเราต้องมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน” พ.ต.อ.ทวี  พูดกับผู้ร่วมงานเลี้ยง

ขณะที่พ.ต.อ.พัฒนวุธ อังคะนาวิน รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้ ผศ. background:white;font-style:normal"> ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ( font-style:normal">CSCD) พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ปรบมือพร้อมๆ กับผู้ร่วมงานดังสนั่น

ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายที่ติดตาม ดอดแวะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้สื่อข่าวกลุ่มหนึ่งที่บูธจัดนิทรรศการเพื่อเชื่อมสัมพันธภาพ

 

.

นั่นคือภาพบรรยากาศช่วงหัวค่ำในงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2  ในช่วงค่ำของวันที่ 12 มีนาคม 2555 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้หัวข้อ “เชื่อมร้อยเครือข่าย ผสานกำลังสื่อ สร้างพลังต่อรอง” Bargaining Power : Civil Networking and Synergy Meedia

งานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2   normal">เบิกฤกษ์ด้วยเวลา 09.00 น. ที่ห้อง ที่ห้อง A 310 เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ จัดเสวนาเรื่องผู้หญิงชายแดนใต้กับการแปรเสียงแห่งความสูญเสียสู่เสียงแห่งสันติภาพ ตามด้วยเวลา 10.30 น. ที่ห้อง B 103 มีการเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายแพทย์วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย หัวหน้าโครงการฯ

ครั้นเวลา 13.30 น. ที่ลานกิจกรรมได้มีพิธีเปิดงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 โดยมีรองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวรายงาน และดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

ต่อเนื่องด้วยกลุ่มละครข้าวยำการละคร ร่วมขับร้องอานาซีดเล่าเรื่องความเป็นชายขอบของคนพิการชายแดนใต้ แสดงละครเร่เพื่อคนพิการ, การแสดงหุ่นกระบอกจิ๋วเพื่อการเรียนรู้เรื่องคนพิการ,  คณะหุ่นกระบอกของนักศึกษาภาควิชาเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงหุ่นกระบอกสันติสุขของเด็กเล็กสามศาสนา

ตามต่อด้วยสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเครือข่ายเยาวชน เปิดตัวหนังสือ “จุดเล็กเล็กบนคาบสมุทรมลายู” รวมกวีนิพนธ์เรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายอภิชาต จันทร์แดง และ “เปอร์นุลิส มูตา” รวมเรื่อสั้น 19 เยาวชนนักเขียนจากชายแดนใต้ โดยนายโชคชัย วงศ์ตานี

ปิดท้ายเวทีกลางกับการเปิดวงสนทนา “ภัยพิบัติสนทนา: อ่านและเข้าใจเครื่องมือเฝ้าระวังภัยพิบัติ” โดยดอกเตอร์สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานี

ขณะที่เวลา 14.00 น. ห้อง B 103 ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จัดบรรยายสาธารณะโรงเรียนวิชาการเมือง ห้องเรียนสัญจร ครั้งที่ 7 เรื่อง “เจอร์เกิน ฮาเบอร์มาส: การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างของพื้นที่สาธารณะ” โดยดร.นอร์เบิร์ธ โรเปอร์ ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ และนักวิจัยอาวุโสสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้ (K4DS) จัดประชุมระดมสมองภาคีเครือข่ายผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้

เวลา 15.30 น. ที่ห้อง B 103 กลุ่มเซาเทิร์นพีซมีเดียกรุ๊ป ได้จัดสาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย “VIDEO ADVOCACY” แลกเปลี่ยนบทเรียนการเคลื่อนไหวกับเครือข่ายทางสังคมในประเทศมาเลเซีย เวสต์ปาปัวนิวกินี ติมอร์เลสเต้ ผ่านภาษาบาร์ฮาซา และการใช้งานกูเกิ้ลพลัส ในการทำงานเครือข่ายทางสังคม และเปิดตัวเว็บไซต์โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

ส่วนที่ห้อง A 310 เวลา 14.00 น. การอภิปรายเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนงานสตรีชายแดนใต้โดยใช้พลังสื่อ” โดยนายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ คณะทำงานศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้, นายตูแวตานียา มือรนีงิง ผู้อำนวยการสำนักข่าวอามาน, นายยะห์ อาลี ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หยิงภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีนางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น ผู้จัดรายการสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ

เวลาเดียวกันที่ห้อง A 302 มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์สนามข่าวและการวิเคราะห์ข่าว โดยนางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย, นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช อดีตผู้สื่อข่าวเอพี และนักวิเคราะห์จากอินเตอร์ชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป, นายดอน ปาทาน ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และนายสุพจ จริงจิตร บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสวนาและจัดฉายภาพยนตร์ โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และการออกบูธจัดนิทรรศการจากเครือข่ายต่างๆ อย่างคึกคัก

สำหรับวันที่ 13 มีนาคม 2555 ช่วงเช้า นางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย จากกลุ่ม FT Media และทีม จะถ่ายทอดประสบการณ์และสาธิตการทำสารคดีเสียง สำหรับออกอากาศทางวิทยุ

การอภิปรายเรื่อง “พลังสื่อและการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง” โดย Dr.Isak Svenssonจากภาควิชาวิจัยสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยอุปซาลา ประเทศสวีเดน, นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส, นายสมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร, นายนิฟูอาด บาซาลาฮา นักจัดรายการวิทยุชุมชนภาคภาษามลายู และนักวิชาการอิสลามศึกษา, นายมูฮำหมัด ดือราแม ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

ช่วงบ่าย วันเดียวกัน เป็นการแถลงข่าวสตรีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับรางวัลสตรีดีเด่น ประจำปี 2555 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ประกอบด้วย นางแยน๊ะ สะแลแม ด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง นางสาวสาวปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน, นางรอซิดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ

 เครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส จัดประชุมเครือข่ายนักข่าวพลเมืองภาคใต้ตอนและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเปิดตัววารสารเฉพาะกิจ “พลังสื่อทางเลือกชายแดนใต้” ผลงานจากค่ายนักเขียนน้อยชายแดนใต้ โดยสำนักหัวใจเดียวกัน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมของสหพันธ์นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรให้กับตัวแทนเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์