เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 29 มีนาคม 2555 ที่ห้องธนาธร โรงแรมธรรมรินทร์ธนา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติก
โดยมีตัวแทนส่วนราชการจากจังหวัดสงขลา ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวจากจังหวัดตรัง ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ร่วมเวทีประมาณ 20 คน
"Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">นายพนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ หัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อระบุประเด็นหรือภาคส่วนของการพัฒนาประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อภูมิอากาศในอนาคตที่จำเป็นต้องมีมาตรการรับมือและปรับตัวที่ชัดเจน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทั้งชุมชนที่ได้รับผลกระทบ หน่วยงานภาครัฐให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
นายนพรัตน์ กายเพชร นักวิชาการโครงการฯ ชี้แจงว่า กรณีภาคใต้มีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิ แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern SeaBoard) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2518 ผ่านการขับเคลื่อนของรัฐบาลหลายยุคสมัย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล) เชื่อมโยงระบบขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างฝั่งอ่าวไทย-ฝั่งอันดามัน และการพัฒนาอุตสาหกรรม 4 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร อุตสาหกรรมเกษตรและพลังงานชีวภาพ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการผลิตไฟฟ้า
“ในการศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากปัญหาและผลกระทบในปัจจุบัน คือภาคท่องเที่ยว และการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ และวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการพัฒนาใหม่ คือ พื้นที่โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา คาดว่าจากการมีส่วนร่วมทั้งท้องถิ่น ระดับภาค และระดับชาติ จะทำให้มีการเพิ่มเติมเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและค้นหาแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสมต่อไป” นายนพรัตน์ กล่าว
เวลาประมาณ 16.30 น. ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันยกร่างผังความเสี่ยงในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งภาคใต้ เช่น ความเสี่ยงต่อภูมิอากาศของเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ภาพอนาคตของเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลภาคใต้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและแนวโน้มความเสี่ยงต่อภูมิอากาศ และข้อเสนอยุทธศาสตร์การปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิอากาศในอนาคต โดยจำกัดเฉพาะพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง และตรัง
font-style:normal">สำหรับการยกร่างผังความเสี่ยงต่อภูมิอากาศพบปัญหาของภาคการท่องเที่ยว คือ การเมืองของประเทศที่มีปัญหา นโยบายการพัฒนาของรัฐพื้นที่สงขลา-สตูล ไม่มีการจัดการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการกับภาครัฐ การขนส่งสาธารณะ-เส้นทางคมนาคมที่ไม่สะดวก ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่อการท่องเที่ยว
ปัจจัยภายนอกเปิดรับ คือ การเมืองที่ผันผวน ข้อ
ปัจจัยความอ่อนไหวภายใน คือ เคยเป็นพื้นที่ภัยพิบัติสึนามิ รัฐขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ค่านิยมไม่เที่ยวเมืองไทย ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ไม่เน้นการศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการขาดวิสัยทัศน์
ความเสี่ยง คือ จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง การตกงาน การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคท่องเที่ยวไปภาคธุรกิจอื่น ผู้ประกอบการขาดทุน โดยมีกลไกการรับมือ คือ การจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การดำเนินงานอนุรักษ์ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มการประชาสัมพันธ์
font-style:normal">นายบรรจง นฤพรเมธี ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวจากจังหวัดตรัง ได้คาดคะเนความเปราะบางของภาคท่องเที่ยวไว้ 50% แต่ถูกทักท้วงจากผู้ร่วมเวทีว่า ไม่ควรใช้ความรู้สึกคาดการณ์ ควรใช้ข้อมูลมาสนับสนุน อีกทั้งการยกร่างผังความเสี่ยงฯ มีแต่ตัวแทนการท่องเที่ยวจังหวัดตรังเท่านั้น ไม่มีจังหวัดสตูล สงขลา และพัทลุง จึงไม่อยากนำผลจากเวทีนี้ไปนำเสนอเพราะเป็นการพูดแทนภาคการท่องเที่ยวจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ร่วมเวที
"Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">นายพนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ตอนส่งรายงานการศึกษาวิโครงการศึกษามาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตนจะบันทึกแนบไปว่าการวิจัยโครงการนี้เป็นแค่กิจกรรมหนึ่งเท่านั้น ไม่มีความสมบูรณ์รอบด้านเพราะมีคนอีกหลายพื้นที่ไม่มีส่วนร่วม