Skip to main content

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">เวทีประชาชนอาเซียนที่พนมเปญป่วน เจ้าหน้าที่โรงแรมรื้อนิทรรศการ เผยรัฐบาลกัมพูชาขวางจัดเวทีคู่ขนาน เอ็นจีโอสิงคโปร์ แนะเพิ่มประเด็นสิ่งแวดล้อม เป็นเสาที่ "Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;
mso-bidi-language:TH">4ของประชาคมอาเซียน ขอ 10 ประเทศร่วมกดดันเขมรแก้ปัญหาละเมิดสิทธิ ความรุนแรงต่อสตรี

 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">เมื่อวันที่ "Times New Roman""> 29 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมลักกี้ สตาร์ โฮเตล กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีการจัดเวทีอาเซียนภาคประชาชนครั้งที่ 8 “เปลี่ยนอาเซียนไปสู่ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” มีตัวแทนภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าร่วมกว่า 1,000 คน โดยเวทีเริ่มต้นด้วยความทุลักทุเล เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ของโรงแรมเข้ามารื้อถอนป้ายนิทรรศการ

"Times New Roman"">รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากทางโรงแรมถูกกดดันไม่ให้มีการจัดเวทีดังกล่าว เพราะรัฐบาลกัมพูชาไม่พอใจที่มีการจัดเวทีของภาคประชาชน เพื่อเตรียมจัดเวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2555 ที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ

"Times New Roman"">เวลา "Times New Roman""> 13.50 น. ดร.เจมส์ โกเมส ผู้อำนวยการองค์กรสิงคโปร์เพื่อประชาธิปไตย (Singaporeans for Democracy : SFD) อภิปรายหัวข้อ “อาเซียนวันนี้และอนาคต 2015”ว่า เสนอให้มีการเพิ่มประเด็นสิ่งแวดล้อม เป็นเสาหลักที่ 4 ของอาเซียน จากเดิมที่มี 3 เสาหลัก คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และประชาคมและวัฒนธรรม เหตุผล เนื่องจากอาเซียนกำลังเผชิญภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ และพลังงานนิวเคลียร์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

"Times New Roman"">ดร.เจมส์ อภิปรายว่า การขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ไม่ได้รับการตอบรับจากประเทศสมาชิกของอาเซียนเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามจากปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อนที่ประเทศทั้ง "Times New Roman"">10 ของอาเซียนเอง ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหานี้อยู่มาก

"Times New Roman"">ดร.เจมส์ อภิปรายต่อไปว่า ตนมองว่า ภาคประชาสังคมเป็นหน่วยใหญ่ของสังคม ที่มีพลังในฐานะตัวแทนประชาชน และมีพลังของความหลากหลายรวมอยู่ในตัว การเรียกร้องผ่านประชาสังคมจะส่งผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอาเซียนอย่างมาก mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">เวลา "Times New Roman"">15.15 น. มีการอภิปรายประเด็น “เข้าใจกับกัมพูชาในวันนี้” มีผู้ร่วมอภิปราย 3 คน ได้แก่ Dr.Meas Nee ผู้อำนวยการ Village Focus, Mr.Ou Virak ประธานศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา (Cambodia Center of Human Rights) และ Ms.Kein Sereyphal ประธาน CWCC Board of Director

"Times New Roman"">ระหว่างเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็น โดยอดีตพนักงานสาวของโรงงานแห่งหนึ่งในกัมพูชา ลุกขึ้นเรียกร้องให้ภาคประชาสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกันกดดันให้รัฐบาลกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ แก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและปัญหาอื่นๆ ของประเทศ

"Times New Roman"">เธอกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาใช้กฎหมายกดดันคนจน ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการในกัมพูชา รัฐบาลไม่ได้แก้ปัญหาเท่าที่ควร ภาคประชาสังคมจึงควรผลักดันเรื่องนี้เข้าไปในเวทีระดับอาเซียน เพื่อให้กดดันรัฐบาลกัมพูชาอีกทางหนึ่งด้วย mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">ตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศฟิลิปปินส์ เสนอว่า น่าจะกดดันเรื่องนี้โดยการท้วงติงถึงสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศสมาชิกอาเซียน mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">ตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ภาคประชาสังคมไม่ยอมรับเวทีอาเซียนภาคประชาชนที่รัฐบาลกัมพูชาจัดขึ้น เนื่องจากไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชนที่แท้จริง ซึ่งเวทีอาเซียนภาคประชาชนดังกล่าว เป็นเวทีพูดคุยระหว่างภาคประชาชนกับผู้นำสูงสุดของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะมีขึ้นในวันแรกของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN SUMMIT) ของทุกปี

"Times New Roman"">ตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวอีกว่า อาจจะมีการประท้วงไม่ยอมรับเวทีอาเซียนภาคประชาชนที่รัฐบาลตั้ง เนื่องจากตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าร่วมเวทีนี้ ภาคประชาชนไม่ได้ร่วมเลือก mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">ตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่การเลือกตัวแทนเข้าพบรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน จะมีขึ้นในวันแรกของการประชุมอาเซียนภาคประชาชน หรือเวทีคู่ขนานของอาเซียน ( mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ACSC) ของทุกปี แต่ปีนี้รัฐบาลของทั้ง 10 ประเทศ ได้เลือกตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับผู้นำ ก่อนการจัดเวทีคู่ขนานเสียอีก

"Times New Roman"">สำหรับเวทีอาเซียนภาคประชาชนประจำปี 2555 “เปลี่ยนอาเซียนไปสู่ประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> มีขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมลัคกี้สตาร์ (Lucky Star Hotel) กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> "Times New Roman"">

"Times New Roman"">โดยในวันที่ 30 มีนาคม 2555 จะมีการทำประชุมปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นและจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลอาเซียน รวมประมาณ 16 ประเด็น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิในที่ดิน ชนกลุ่มน้อยและ สิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ สิทธิผู้หญิง เด็กและเยาวชน กลุ่มผู้พิการ เสรีภาพประชาชน ธรรมาภิบาลและนิติรัฐ ประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง การอพยพและแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ การเกษตรกรรม ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม สิทธิแรงงาน สันติภาพและความมั่นคง การศึกษา และ สาธารณสุข