Skip to main content

  mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">เวทีประชาสังคมอาเซียนที่เขมร ต้านประชุมภาคประชาชนรวมผู้นำอาเซียน ค้านรัฐเลือกตัวแทนไม่ถามชาวบ้าน

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">

color:#222222">เมื่อเวลา color:#222222"> 16.30 น.วันที่ 31 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมลักกี้สตาร์ โฮเทล กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในที่ประชุมเวทีอาเซียนภาคประชาชน ASEAN CIVIL SOCIETY CONFERENCE ครั้งที่ 8 ตัวแทนภาคประชาสังคมจากไทยทั้ง 4 กลุ่ม รวมประมาณ 60 คน นำโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งชาติ (กปพช.)หรือ NGOCOD มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และกลุ่มอิสระ ได้ออกแถลงการณ์ชื่อ Statement of Thai civil society at the ASEAN Civil Society Conference /ASEAN People’s Forum 2012, Phnom Penh

color:#222222">แถลงการณ์ดังกล่าว เป็นการแสดงจุดยืนที่ไม่ยอมรับต่อกระบวนการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาสังคมของไทยเพื่อเข้าประชุมร่วม color:#222222;background:white">ระหว่างภาคประชาสังคมกับรัฐบาลอาเซียน หรือ "Times New Roman";color:#222222">Interface ในวันที่ 3 เมษายน 2555 ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN SUMMIT 2012 ว่า เป็นการไม่เคารพกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างชอบของภาคประชาสังคม โดยกล่าวอ้างว่าตัวแทนดังกล่าว แม้มาจากตัวแทนของประชาชนแต่กระบวนการคัดเลือกดังกล่าวไม่มีประชาชนหรือภาคประชาสังคมร่วมในการคัดเลือกแต่อย่างใด

color:#222222">แถลงการณ์ระบุว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของไทย เคยให้สัญญากับภาคประชาสังคมว่า จะไม่มีตัวแทนภาคประชาชนไทยที่มาจากการคัดเลือกของรัฐบาลไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม Interface อีก แต่ครั้งนี้รัฐบาลไทยกลับส่งรายชื่อตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมแล้ว นั่นหมายความว่ารัฐบาลผิดสัญญา

“สำหรับภาคประชาสังคมไทยที่อ้างตัวว่าเป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือก ซึ่งภาคประชาสังคมไทยที่เข้าร่วมเวที ASEAN CIVIL SOCIETY CONFERENCE ไม่ยอมรับการคัดเลือกดังกล่าว” แถลงการณ์ ระบุ

color:#222222">สำหรับเวที color:#222222">ASEAN CIVIL SOCIETY CONFERENCE เป็นการประชุมคู่ขนานของภาคประชาชนอาเซียน ที่จัดขึ้นก่อนการประชุม ASEAN SUMMIT ในทุกปี เพื่อเตรียมประเด็นของภาคประชาชนที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลอาเซียนได้พิจารณา และเพื่อการมีส่วนร่วม แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลของประเทศทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนมักส่งตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมไว้ก่อนแล้ว โดยไม่ผ่านการคัดเลือกจากประชาชน ในการประชุมครั้งนี้ภาคประชาสังคมจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและไทย จึงมีมติจะคัดค้านการกระทำดังกล่าวของทั้ง 10 ประเทศ