Skip to main content

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222"> 

 

“เกือบไปแล้วครับ ฝ่ายเขาตัดลวดหนาม ประชิดฐานแล้ว เกือบจะเข้าภายในค่ายทางทิศใต้...แต่มีการยิงตอบโต้จากข้างใน”

 

color:#222222">ทหารนาวิกโยธินสองนายเปิดเผยนาทีฐานปฏิบัติการหมวดปืนเล็กที่ "Times New Roman";color:#222222"> 2 กองร้อยปืนเล็กที่ 1 ชุดเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ถูกโจมตีในเวลาเที่ยงคืนเศษ ของวันที่ 9 มีนาคม 2555  

 

color:#222222">ฐานดังกล่าวเป็นค่ายทหารขนาดเล็กซึ่งตั้งที่บ้านส้มป่อย ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส color:#222222">  บางคนอาจคิดว่าค่ายทหารนี้คงอยู่ในพื้นที่ลึกที่แทบไม่มีผู้คนสัญจรไปมา  แต่จริงๆ แล้วค่ายนี้ตั้งอยู่ติดริมถนนเพชรเกษมซึ่งเป็นถนนสี่เลนเชื่อมต่อจังหวัดนราธิวาสกับปัตตานีและอยู่ห่างจากฐานทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 32 (ฉก. 32) ซึ่งเป็นหน่วยหลักที่ดูแลพื้นที่อำเภอบาเจาะและยี่งอเพียงประมาณหนึ่งกิโลเมตร

 

 ถ้าย้อนหลังกลับไปในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่มีการโจมตีฐานทหาร ซึ่งปฏิบัติการทั้งหมดเกิดขึ้นในจังหวัดนราธิวาส  ครั้งแรกคือการปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ในอำเภอเจาะไอร้อง ในวันที่ 4 มกราคม 2547 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงระลอกใหม่ที่ได้ปะทุขึ้น  ในเหตุการณ์นั้นผู้ก่อเหตุได้ปล้นอาวุธไปกว่า 400 กระบอกและสังหารทหารสี่นาย  เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นอีกหลายปี  

 

color:#222222">จนกระทั่งในค่ำคืนของวันที่   color:#222222">19 เดือนมกราคมปีที่แล้ว  ได้เกิดเหตุการณ์โจมตีฐานกองร้อยทหารราบที่ 15121 ในอำเภอระแงะ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ฐานพระองค์ดำ” ผู้โจมตีได้ขโมยปืนไป 65 กระบอกและสังหารทหารสามนาย  ในครั้งล่าสุดนี้ก็นับเป็นปฏิบัติการที่ท้าทายอำนาจรัฐเป็นอย่างยิ่ง  

 

“ที่ผ่านมาส่วนมากจะเจอแบบยิงรบกวน คนร้ายประมาณ 4-5 คน ยิง 10 – 20 นัดก็ไป หรือไม่ก็วางระเบิดแล้วยิงซ้ำ แต่ครั้งนี้ เป็นแผนปฏิบัติการทางทหารอย่างชัดเจน” นายทหารระดับบังคับบัญชาใน ฉก. 32 เล่าเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เคยพบกับปฏิบัติการบุกฐานทหารในครั้งนี้

 

color:#222222">เหตุการณ์ในคืนนั้นกลุ่มคนร้ายได้กระหน่ำยิงเข้าไปในฐานส้มป่อยด้วยอาวุธปืนสงคราม  และขว้างระเบิดไปกว่า "Times New Roman";color:#222222"> 20 ลูก ส่งผลให้ทหารได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิด  ทำให้ไม่สามารถตอบโต้ได้ทันท่วงที  กลุ่มคนกลุ่มนั้นก็ได้พยายามจะใช้คีมตัดลวดหนามที่ล้อมค่ายไว้ตรงด้านทิศใต้ หวังจะปีนกำแพงกระสอบทรายที่สูงระดับศีรษะเพื่อเข้าไปยังคลังเก็บอาวุธประจำฐาน  ลวดหนามได้ถูกตัดออกทำให้เกิดช่องว่างถ่างออกประมาณห้าเมตร 

 

“พวกเขาตะโกนว่า เราต้องการอาวุธ” นายทหารนาวิกโยธินย้อนเล่าเรื่องราวในคืนนั้น ทหารในค่ายยิงปะทะกับชายฉกรรจ์ที่เข้ามาบุกรุกอยู่พักหนึ่งจนในที่สุดพวกเขาก็ล่าถอยไป

 

color:#222222">แผนการที่วางไว้มีการเตรียมการอย่างเป็นระบบ "Times New Roman";color:#222222">  คาดว่าใช้คนปฏิบัติการร่วมร้อยคน  ในขณะที่มีการโจมตีฐานส้มป่อย ยังได้มีการสกัดกำลังเสริมที่จะมาช่วยในทุกเส้นทาง  ด้วยการวางตะปูเรือใบ ตัดต้นไม้กั้นถนนกว่า 11 จุด  ในส่วนของฐานของ ฉก. 32 ที่ห่างออกไปหนึ่งกิโลเมตรนั้นก็ถูกยิงด้วย M 79  ในเส้นทางระหว่างฐานทั้งสองนั้น  นอกจากมีต้นไม้ที่หักโค่นและตะปูเรือใบเป็นเครื่องกีดขวางแล้ว  ยังได้มีการวางระเบิดที่โคนเสาไฟฟ้า 3 ต้น หวังดับไฟในละแวกนั้น  แต่ระเบิดทำให้เสาล้มไปเพียงต้นเดียวและไฟฟ้าบนถนนยังคงสว่างอยู่ 

 

color:#222222">เหตุการณ์ในคืนนั้นทำให้ทหารในฐานส้มป่อยบาดเจ็บ "Times New Roman";color:#222222"> 12 นาย โดยมีสี่คนที่บาดเจ็บสาหัส อาคารชั่วคราวภายในถูกยิงด้วยเครื่องยิงระเบิดเอ็ม 79 มีรอยเพลิงไหม้และร่องรอยกระสุนกว่า 100 นัด บางหลังเป็นเรือนนอนของทหาร รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย ฝ่ายผู้โจมตีไม่ได้อาวุธจากฐานส้มป่อยไปแต่อย่างใด  ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกเขาได้รับบาดเจ็บบ้างหรือไม่  แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตในคืนนั้น

 

color:#222222">นายทหารนาวิกโยธินมองว่ารูปแบบการโจมตีแบบนี้ "Times New Roman";color:#222222"> “เป็นการปฏิบัติการทางการทหารของฝ่ายเขา” 

 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">             เขามองว่าเหตุการณ์ที่เกิดในครั้งนี้อาจจะเป็นความพยายามในการทำลายความน่าเชื่อถือของทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการทำงานเชิงรุกเข้าหามวลชนมาก  ฝ่ายขบวนการอาจจะกลัวว่าชาวบ้านจะเข้าข้างเจ้าหน้าที่  จึงปฏิบัติการเพื่อให้ชาวบ้านกลัวที่จะเข้าใกล้ทหาร

 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">             การตัดสินใจเข้าจู่โจมทหารในค่ายซึ่งมีอาวุธครบมือนับว่าผู้กระทำจะต้องมีจิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมากทีเดียว   พวกเขาต้องพร้อมที่จะยอมสูญเสีย   

 

color:#222222">ในคืนนั้น color:#222222">  ฝ่ายทหารทำการตอบโต้ได้อย่างยากลำบาก

 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">            “ฐานส้มป่อยติดกับบ้านของชาวบ้าน  และทิศที่โจมตีก็มาจากฝั่งบ้านของชาวบ้าน  ถ้าเราตอบโต้ไป ก็จะเป็นการสร้างเงื่อนไขอีก” นายทหารคนเดิมกล่าว

 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">            เขาอธิบายว่าฐานส้มป่อยนั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่เช่าจากชาวบ้าน  โดยด้านข้างค่ายทั้งสองด้านนั้นแทบจะประชิดกับแนวเขตบ้านชาวบ้าน    เขาคิดว่า หากคิดในทางยุทธวิธีแล้ว ถ้าเลือกได้  การตั้งฐานในที่โล่งซึ่งห่างไกลจากบ้านเรือนจะดีกว่า  แต่ว่ามีข้อจำกัดเพราะไม่สามารถหาพื้นที่แบบที่ต้องการได้

 

color:#222222">ชาวบ้านคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเล่าว่า ในคืนเกิดเหตุได้ยินเสียงปืนเป็นชุดหลายครั้ง หลังจากมีเสียงระเบิด ไฟฟ้าในหมู่บ้านดับหมด สมาชิกในครอบครัวหนีไปหลบในห้องครัวบริเวณหลังบ้านนานกว่าครึ่งชั่วโมง

 

“ตอนที่ได้ยินเสียงระเบิด ไฟดับ แล้วก็ได้ยินเสียงปืนนานมาก เหมือนในหนังเลย ก๊ะ (พี่) ตกใจมาก” หญิงมุสลิมวัยกลางคนเล่าพลางเอามือข้างหนึ่งแนบอกไว้

 

color:#222222">เธอเล่าว่ามีหญิงสูงอายุคนหนึ่งที่ช๊อคกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนเข้าโรงพยาบาลเกือบสองอาทิตย์

 

color:#222222">ชาวบ้านรายหนึ่งเสนอว่า จริงๆ แล้ว ฐานทหารควรอยู่ห่างจากบ้านเรือนประชาชนมากกว่านี้ เพราะฝ่ายที่มุ่งจะก่อเหตุ ส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าที่ทหาร เขามักจะไม่ทำร้ายชาวบ้าน  การที่ทหารมาตั้งฐานโดยมีบ้านชาวบ้านล้อมอย่างนี้  ทำให้ชาวบ้านรู้สึกอันตราย

 

“พวกผมก็เคยไปบอกกับคนที่ให้เช่าแล้วว่าอย่าให้ทหารเช่า สามพันบาทที่เขาได้แต่ละเดือน กับสิ่งที่ชาวบ้านต้องผวาอย่างนี้ ไม่รู้ว่าคุ้มหรือเปล่า”  ชายหนุ่มชาวมุสลิมกล่าว

 

color:#222222">เขาสะท้อนความรู้สึกว่าเขาไม่อยากให้มีทหารในหมู่บ้าน  เพราะที่ผ่านมา เมื่อเกิดเหตุทำร้ายทหาร  เจ้าหน้าที่ก็มาสงสัยคนในพื้นที่  เชิญตัวชาวบ้านไปสอบถาม "Times New Roman";color:#222222">  เมื่อชาวบ้านถูกเชิญเข้าไปในค่ายก็ถูกฝ่ายขบวนการมองว่าไปให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่   ทำให้พวกเขาเหมือนถูกจับตามองจากทั้งสองฝ่าย 

 

color:#222222">เขาเผยว่าเขาเองก็เห็นเหตุการณ์ในคืนนั้นที่มีการถล่มฐานทหาร "Times New Roman";color:#222222">   คนเหล่านี้มาอย่างเปิดเผยและไม่ได้คลุมหน้า  อาจเพราะมั่นใจมากว่าชาวบ้านจะไม่เอาสิ่งที่เห็นไปบอกกับเจ้าหน้าที่

 

“เรากลัวทั้งสองด้าน  เข้าไปในฐานทหารก็กลัว  ออกมาก็กลัวอีก” ชายหนุ่มคนเดิมสะท้อนความรู้สึกกับการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่เผชิญกับความรุนแรงมากว่าแปดปี  “ชินแล้ว  ไม่ได้ยินเสียงระเบิด เสียงปืน  กินข้าวไม่ได้  นอนไม่หลับ”