เขาบรรทัดตรัง ลุกฮือบุกศาลากลาง เรียกร้องพ่อเมืองตรัง–นายกรัฐมนตรี–แม่ทัพภาค 4 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯเขาปู่เขาย่า ตัดฟันทำลายต้นยาง–ผลอาสินกว่า 1,000 ต้น
บุกศาลากลาง – ชุมชนเขาบรรทัดบุกศาลากลาง เรียกร้อง พ่อเมืองตรัง-นายกปู-แม่ทัพภาค 4 แก้ปัญหาความเดือดร้อนหลังถูกกตัดฟันต้นยาง–อาสินกว่า 1,000 ต้น
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 3 เมษายน 2555 กลุ่มองค์กรชุมชนเครือข่ายรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรังกว่า 200 คน นำโดยนายสมนึก พุฒินวล พร้อมรถยนต์ปิคอัพกว่า 10 คัน ได้เดินทางมาชุมนุมประท้วงบนถนนสายพระราม 6 หน้าศาลากลางจังหวัดตรังหลังใหม่ เพื่อยื่นหนังสือนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง หลังจากสมาชิกได้รับความเดือดร้อนถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่–เขาย่า เข้าไปตัดฟันต้นยางพาราและพืชผลอาสินอื่นๆ จนได้รับความเสียหาย โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ไฮปาร์คผ่านเครื่องขยายเสียงเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรในพื้นที่โฉนดชุมชน
ทั้งนี้ นายสายัณห์ ชูคง สมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนเครือข่ายรักเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2555 นายสุรเชษฐ์ วันดีเรืองไพศาล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ได้จับกุมชาวบ้าน ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ หมู่ที่ 2 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง 2 ราย ขณะนำหมากแห้งออกไปจำหน่าย แต่ตำรวจไม่รับแจ้งความ เนื่องจากเห็นว่าเป็นวิถีชีวิตปกติของชาวบ้าน
ต่อมา วันที่ 30 มีนาคม 2555 นายสมชัย แสงแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาปู่–เขาย่า นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้กว่า 50 นาย บุกเข้าตัดฟันทำลายต้นยางพาราและพืชผลอื่นๆ ของสมาชิกชุมชนบ้านทับเขือ–ปลักหมู หมู่ที่ 1 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 3 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ถือครองที่ดิน 8 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล มีต้นยางพาราและพืชผลอื่นๆ ถูกตัดฟันเสียหายกว่า 1,000 ต้น ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวได้รับการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนแล้วว่า มีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้ และมีข้อตกลงผ่อนผันให้สามารถทำกินได้ในระหว่างดำเนินการตามนโยบายโฉนดชุมชน
จากพฤติกรรมดังกล่าว ชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 รัฐบาลได้แถลงกรณีโฉนดชุมชนว่า ดำเนินการผิดพลาดมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน นำไปทำโครงการขนาดใหญ่ ที่พบมากสุดในแถบภาคใต้มีการนำไปทำสวนยาง ส่งผลให้มีการออกตัดฟันต้นยางของชาวบ้าน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีเจตนาปราบปรามประชาชนและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในเขตป่า โดยไม่แยกแยะว่าชุมชนเหล่านั้น จะอยู่มาก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหรือไม่ จึงเป็นไปได้ว่าการปราบปรามครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในพื้นที่ป่า รวมทั้งต้องการเปิดทางให้นายทุนเข้ามาทำธุรกิจการท่องเที่ยว และแย่งชิงทรัพยากรจากชุมชนท้องถิ่นเพื่อสนองภาคอุตสาหกรรม
เครือข่ายฯ จึงมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อคือ 1.ให้รัฐบาลสานต่อและมอบนโยบายโฉนดชุมชนที่ชัดเจนรวมทั้งคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร 2.กรมอุทยานฯ ต้องหยุดการกระทำที่ป่าเถื่อนและแอบแฝงด้วยทุจริต และหันกลับมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่า โดยเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ 3.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยราชการอื่น เพื่อปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้งข่มขู่คุกคามดำเนินคดีกับเกษตรกรในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม และ 4. สังคมต้องร่วมตรวจสอบความถูกต้องและขอบเขตการใช้อำนาจรัฐของกรมอุทยานฯ
ต่อมานายไชยยศ ธงไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมด้วยนายกมล ประเสริฐกุล นายอำเภอนาโยง นายมนภัทร วังศานุวัตร สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดตรัง และพ.ต.ไตรรงค์ แพชนะ รองหัวหน้ากลุ่มงานอำนวยการและบริหารงานบุคคล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดตรัง เป็นตัวแทนรับหนังสือเพื่อส่งต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกรัฐมนตรี และแม่ทัพภาคที่ 4 ต่อไป
mso-fareast-font-family:Calibri;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">ทั้งนี้นายไชยยศ กล่าวว่า จะรับเรื่องไว้และจะนำเสนอไปยัง ผวจ.ตรัง นายกรัฐมนตรีและแม่ทัพภาคที่ mso-fareast-font-family:Calibri;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">4 โดยในส่วนที่เป็นนโยบายอำนาจหน้าที่ของ ผวจ.ตรัง สามารถดำเนินการได้ในระดับจังหวัด ส่วนเรื่องที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ทสจ.ตรัง ก็รับไปดำเนินการไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปกระทำการไม่ถูกต้องหรือกลั่นแกล้งชาวบ้าน มีรายงานว่า หลังจากรับหนังสือแล้วกลุ่มผู้ชุมนุมพอใจได้สลายตัวในที่สุด