เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ชาวมุสลิมที่บ้านนาพร้าวถูกยิงกราดเสียชีวิตหน้ามัสยิดเล็กๆ ในหมู่บ้านเมื่อคืนวันพุธที่ 11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์รุนแรงเหตุที่สี่ในรอบเจ็ดวันในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้ทะเลแห่งนี้ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วสี่คน คำอธิบายซึ่งเหตุผลและแรงจูงใจของการก่อเหตุยังคงคลุมเครือเหมือนหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ความถี่ของเหตุและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นได้สร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านในพื้นที่
ชาวบ้านมารวมตัวกันที่มูศอลลา (มัสยิดขนาดเล็ก) ซาบีลุลคอยร์ที่บ้านนาพร้าว หมู่ที่ color:#222222"> 2 ในอำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานีในเช้าวันพฤหัสบดีเพื่อฝังศพของรอมลี หะยีดาเล็งและยาลี ตาเห ชายมุสลิมในวันห้าสิบซึ่งถูกยิงเสียชีวิตที่มูศอลลาแห่งเดียวกันนี้ในคืนที่ผ่านมา เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาประมาณสองทุ่มหลังละหมาดอิซา (ละหมาดตอนค่ำ) ที่มูศอลลาแห่งนี้ซึ่งในบริเวณที่ค่อนข้างเปลี่ยวมีบ้านเรือนตั้งอยู่รอบๆ เพียงไม่กี่หลังคาเรือน นางเจ๊ะสะปีเยาะ โว๊ะ ภรรยาของนายรอมลีเป็นอีกคนที่บาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ดังกล่าว เธอยังคงนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
ยาแม เปาะมะ ชาวบ้านที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์คนหนึ่งย้อนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผู้ร่วมละหมาดอิซาในคืนนั้นประมาณ color:#222222">20 คน หลังจากประกอบศาสนกิจเสร็จ ชาวบ้านต่างพากันแยกย้ายกลับบ้านเกือบหมด จนเหลือตนเองและชาวบ้านอีก 5 คน ซึ่งกำลังรอเพื่อนบ้านคนหนึ่งกำลังปิดไฟในมัสยิดให้เรียบร้อย
หลังจากปิดไฟ มีผู้อยู่ในเหตุการณ์คนหนึ่งกำลังเข้าห้องน้ำซึ่งอยู่ด้างข้างของบริเวณมูศอลลา อีก color:#222222">5 คนที่เหลือกำลังทยอยเดินออกมา โดยนายยาลี ตาเห เป็นคนแรกที่เดินออกจากบริเวณลานละหมาดเพื่อกลับบ้านที่อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียง 10 เมตร และเมื่อนายยาลีเดินพ้นกำแพงรั้วออกมา คนร้ายที่คาดว่าอยู่ห่างจากกำแพงไปไม่กี่เมตรหลังรถกระบะสีบรอนซ์ของรอมลีที่จอดขนานกับกำแพงมูซอลลาได้กราดยิงกระสุนชุดแรกด้วยปืนอาก้าถูกนายยาลีหลายนัด นายยาลีวิ่งกลับมาด้านหลังกำแพงเพื่อหลบคนร้ายที่กำลังกราดยิง
อิสมาแอ เวาะเด็ง ชาวบ้านวัย color:#222222"> 31 ปีที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าตนกำลังนั่งคร่อมบนรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ด้านในของกำแพงเตรียมจะขับกลับบ้าน แต่ได้หยุดคุยกับนายรอมลี เมื่อได้ยินเสียงปืนชุดแรก ทำให้เขารีบหลบอยู่ข้างรถจักรยานยนต์โดยหมอบลงต่ำกับพื้น เขาเห็นนายยาลีวิ่งมาหลบตรงต้นไม้ที่ปลูกติดกับกำแพง เขารู้สึกว่าผู้ร้ายขยับเข้าใกล้กำแพงดังกล่าวมากขึ้นและเริ่มกราดกระสุนชุดที่สองไปยังทิศเดิม คือยิงมายังจุดที่ยาลีวิ่งเข้ามา ซึ่งในบริเวณดังกล่าวรอมลียืนอยู่กับภรรยาของเขา รอมลีถูกยิงเข้าที่บริเวณศรีษะ เขาเสียชีวิตทันที ส่วนเจ๊ะสะปีเยาะถูกยิงบริเวณลำตัว เธอถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังเหตุการณ์สงบลง
“ผมนอนหมอบลงกับพื้น เห็นยาลีที่วิ่งเข้ามาหลบตรงต้นฝรั่งข้างกำแพง พอกระสุนชุดสองยิงมา รอมลีซึ่งจะวิ่งมาหลบที่กำแพงถูกยิงที่หัว ล้มลง เจ๊ะสะปีเยาะก็ถูกยิง ค่อยๆ ล้มลงเช่นกัน” มะแอ กาเจชาวบ้านวัย 65 ปีซึ่งหลบอยู่ที่ข้างเก้าอี้หินอ่อนห่างจากจุดที่รอมลีถูกยิงประมาณสามเมตรเล่าด้วยท่าทีที่ยังหวาดผวาว่า
เมื่อเสียงปืนสงบลง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้มูศอลลาพยายามรีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล รถกระบะของรอมลีไม่อาจถูกใช้เป็นพาหนะในการเคลื่อนย้ายคนเจ็บได้ เพราะล้อถูกกระสุนยิงจนยางแบน ยาลีเสียชีวิตระหว่างทาง
เหตุการณ์กราดยิงมัสยิดนี้เป็นความรุนแรงครั้งที่สี่ที่เกิดขึ้นในบ้านนาพร้าวในรอบเจ็ดวันที่ผ่านมา วันพฤหัสที่แล้ว (5 เมษายน) คนร้ายลอบยิงสองพ่อลูกเจ้าของร้านคาร์แคร์ ทำให้นายฮะ สาเระ ซึ่งเป็นบิดา ซึ่งอายุ 63 ปีเสียชีวิต ส่วนลูกชายซึ่งอายุ 26 ปีได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่แขน
หลังเหตุมุสลิมสองพ่อลูกถูกยิง สองวันถัดมา (7 เมษายน) นายเอกชัย ทองใหญ่ อายุ 35 ปี คนพุทธซึ่งเป็นลูกจ้างแขวงการทาง อ.ปะนาเระ ก็ถูกยิงเสียชีวิตขณะขี่จักรยานบนถนนซึ่งไม่ไกลจากสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงมูซอลลามากนัก ร.ต.ท. กัมปนาท แคยิหวาซึ่งเป็นร้อยเวรที่ดูแลคดีนี้กล่าวว่านายเอกชัยถูกยิงจากทางด้านหลัง จนรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงที่พงหญ้าข้างถนน คนร้ายตามมายิงซ้ำที่ขมับขวาจนเสียชีวิต
เหตุการณ์ที่สามเกิดขึ้นในวันจันทร์ ( color:#222222">9 เมษายน) คนร้ายได้ยิงช่างซ่อมรถจักรยานคนไทยพุทธ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุเล็กๆ ที่ไม่ได้เป็นข่าวเพราะเหยื่อบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ความรุนแรงได้ยกระดับขึ้นเมื่อเกิดเหตุสุดท้ายขึ้นที่มูซอลลา ชาวบ้านที่รอดชีวิตหลายคนยังคงงุนงงสงสัยว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในหมู่บ้านได้ ตำรวจยังคงไม่ได้สรุปแน่ชัดว่าเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันนี้เกี่ยวข้องกันหรือไม่ เป็นเรื่องของสถานการณ์ความไม่สงบทั้งหมดหรือไม่ และใครเป็นคนทำ
color:#222222">ญาติของผู้ที่เสียชีวิตคนหนึ่งกล่าวในวงอาหารหลังการทำพิธีศพเสร็จว่า “ผมคิดว่าทหารพรานทำ ...คนมุสลิมไม่ทำหรอก เขาจะไม่มีทางยิงเข้าไปในบ้านของพระเจ้า” แม้ว่านี่จะเป็นเพียงความเชื่อของชาวบ้าน แต่ก็อาจบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในพื้นที่ก็เป็นได้