Skip to main content

mso-bidi-language:TH">รายงานจากปะนาเระ จากวิสามัญ 3 ศพถึงกราดยิงคนละหมาด วัดอุณหภูมิพุทธ – มุสลิม อีกหนึ่งหมู่บ้านที่ถูกเสี้ยมให้แตกแยก?

 

 

mso-bidi-language:TH">ปะนาเระ 

mso-bidi-language:TH">จุดยิง - mso-bidi-language:TH"> บาลาเซาะห์ (อาคารละหมาดขนาดเล็ก) mso-bidi-language:TH"> ซาบีลุลค็อยร์ บ้านนาพร้าว อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี จุดที่คนร้ายแต่งชุดดำ กราดยิงชาวบ้านเสียชีวิต เมื่อคืนวันพุธที่ 11 เมษายน 2555

 

 

ถนนสายเล็กๆ ในบ้านนาพร้าวที่ขนานไปกับชายหาด แทบไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เรื่องราวความรุนแรงสะเทือนขวัญ เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีทั้งคนพุทธและมุสลิมแห่งนี้ มาอย่างต่อเนื่องนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ mso-bidi-language:TH">2555 ที่ผ่านมา

ทีมข่าวของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ลงไปเจาะลึกถึงความเป็นไปในหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี แต่ดูเหมือนว่า ความจริงของแต่ละฝ่ายยังต่างกันลิบลับ

เหตุรุนแรงอันเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนหมู่ที่ 2 ตำบลปะนาเระ กล่าวขวัญถึงคือเหตุยิงปะทะกันระหว่างทหารพรานกับกลุ่มที่รัฐเรียกว่าผู้ก่อความไม่สงบ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

ครั้งนั้น ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (ศจฉ.กอ.รมน. ภาค 4 สน.) ระบุว่า มีคนร้ายประมาณ 6 คนใช้อาวุธสงครามและปืนพกยิงใส่จุดตรวจร่วมบนถนนในหมู่บ้าน หลังเสียงปืนสงบลง พบผู้เสียชีวิต 3 คน ส่วนทหารพรานและสมาชิกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) บาดเจ็บเล็กน้อย

ถัดมาอีกเดือนกว่าๆ กำลังทหารพรานจากกรมทหารพรานที่ 44 ได้ควบคุมตัวครูสอนศาสนาหรืออุสตาซ 7 คนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามชื่อดังแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอปะนาเระ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 โดยใช้อำนาจตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน  พวกเขาถูกสงสัยว่าเป็นแกนนำในระดับความคิดของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

background:white;mso-bidi-language:TH">จากนั้นความรุนแรงในหมู่บ้านยิ่งถี่ขึ้น เริ่มจากวันพฤหัสบดีที่ background:white;mso-bidi-language:TH"> 5 เมษายน 2555 เกิดเหตุคนร้ายยิงสองพ่อลูกชาวมุสลิม โดยนายฮะ สาเระ เจ้าของร้านคาร์แคร์ผู้พ่อเสียชีวิต ส่วนลูกชายบาดเจ็บ

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2555 นายเอกชัย ทองใหญ่ ชาวพุทธในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นลูกจ้างแขวงการทางอำเภอปะนาเระถูกยิงเสียชีวิต

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ชาวไทยพุทธถูกยิงบาดเจ็บเล็กน้อย

วันพุธที่ 11 เมษายน 2555 คนร้ายซุ่มยิงชาวบ้านบริเวณบาลาเซาะห์ (อาคารละหมาดขนาดเล็ก) mso-bidi-language:TH"> ซาบีลุลค็อยร์ประจำหมู่บ้าน ช่วงหลังละหมาดอีซา (ละหมาดตอนค่ำ) ทำให้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">นายยาลี ตาเห อายุ "Times New Roman";mso-bidi-language:TH">51 ปี และนาย mso-bidi-language:TH">รอมลี หะยีดอเล็ง อายุ TH">50 ปี เสียชีวิต ส่วนภรรยาของนายรอมลีถูกยิงบาดเจ็บสาหัส

mso-bidi-language:TH"> 

mso-bidi-language:TH">เสียงจากชาวบ้าน และขบวนการ ?

mso-bidi-language:TH">            “คนมุสลิมไม่มีทางที่จะยิงไปในมัสยิดแน่นอน” นายมะแอ กาเจ อดีตโต๊ะอิหม่ามวัย 65 ปีที่รอดชีวิตมาจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นกล่าว แม้ว่าจะไม่ได้มีหลักฐานใดๆ มะแอก็เชื่อว่าทหารพรานอาจเป็นคนที่ลอบเข้ามาทำร้ายคนมุสลิมในหมู่บ้าน

นายมะแอสะท้อนว่า ชาวบ้านในพื้นที่รู้สึกหวาดกลัวทหารชุดดำเป็นอย่างมาก เขาเล่าว่าทหารพรานเหล่านี้มักจะมาอยู่ในป่า หลบๆ ซ่อนๆ และคนที่มาเป็นทหารพรานก็มักเป็นพวกนักเลงหัวไม้ หรือคนไม่มีงานทำ “ตั้งแต่ทหารพรานมาอยู่ที่นี่ มีชาวบ้านเสียชีวิตหลายคนแล้ว” มะแอกล่าว TH">

อดีตโต๊ะอิหม่ามผู้นี้ ไม่ได้ปฏิเสธการเข้ามาของทหารเสียทีเดียว เขาคิดว่าทหารก็มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถ้าให้เขาเลือกได้ เขาอยากให้ “ทหารเขียว” (ทหารหลัก) มาอยู่ในหมู่บ้านมากกว่า

พ.อ.นิติ ติณสูลานนท์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ mso-bidi-language:TH"> 44 กล่าวว่า ทางกอ.รมน.ได้ปรับโครงสร้างการทำงาน เพื่อโอนงานให้ทหารพรานเข้ามารับผิดชอบพื้นที่แทนทหารหลักมากขึ้น โดยโอนพื้นที่อำเภอปะนาเระและยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีจากมือของทหารหลักมาสู่ทหารพรานตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา

นายเจ๊ะอิซอ ตาเห ซึ่งเสียพี่ชายคนโตในเหตุการณ์ยิงมัสยิดเป็นอีกคนหนึ่งที่เชื่อว่าทหารพรานน่าจะเป็นจำเลยที่หนึ่งในเหตุการณ์ในครั้งนี้

“คนมุสลิมไม่ฆ่าคนในมัสยิด เพราะว่ามัสยิดเป็นบ้านของพระเจ้า” เขากล่าวหลังจัดงานทำบุญครบรอบเจ็ดวันหลังการเสียชีวิตของยาลี “ความรู้สึกของประชาชนเจ็บปวดมาก จะมาละหมาดที่บาลาเซาะห์ก็ไม่กล้า”

เขาคิดว่าทหารไม่ว่าจะชุดสีอะไรก็ตามไม่ควรจะมีอยู่ในหมู่บ้าน “[ผม] รู้สึกกลัว ถ้ามีทหาร ประชาชนจะกลัว” เจ๊ะอิซอกล่าว

ชาวบ้านเล่าว่า มีใบปลิวกล่าวหาว่าทหารพรานเป็นผู้ก่อเหตุวางไว้อยู่หน้ามัสยิดในหมู่บ้านไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ เอกสารที่ชาวบ้านนำมาให้ดูจั่วหัวเป็นภาษาไทยว่า “ข้อเท็จจริงการกราดยิงมุสลิมในมัสยิดบ้านนาพร้าว (ไอปาแย 2)”

“ในนามนักรบฟาตอนี ที่แซกซึม [สะกดตามต้นฉบับ] อยู่ในทุกพื้นที่เราขอสัญญาว่า เลือดทุกหยด ทุกชีวิตที่พี่น้องมุสลิมเรา อ.ปะนาเระต้องสูญเสีย ณ วันนี้และต่อจากนี้จะไม่มีวันสูญเปล่าแน่นอน มันต้องชดใช้เป็น 100 เท่า ไทยพุทธ เจ้าหน้าที่ และ คนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ไม่ว่ามันจะใช้เส้นทางไหน ทำอะไร ที่ไหน เราพร้อมที่จะปลิดชีพมันแน่นอน...” เอกสารชิ้นนี้ลงชื่อเป็นภาษามลายู Pejuang fatoni (นักรบฟาตอนี)

mso-bidi-language:TH"> 

mso-bidi-language:TH">นายทหารชุดดำ “รู้ดีว่าตกเป็นจำเลย”

.อ.นิติ ในฐานะทหารผู้รับผิดชอบสูงสุดในพื้นที่ปานะเระรู้ดีว่าทหารพรานตกเป็นจำเลยในเหตุการณ์สังหารโหดที่มัสยิด เขาได้ไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านหลังละหมาดใหญ่วันศุกร์ สองวันหลังเกิดเหตุการณ์

ยืนยันว่าลูกน้องผมไม่ได้ทำ แต่เราบังคับให้คนเชื่อไม่ได้”  คือคำยืนยันจาก พ.อ.นิติ TH">

พ.อ.นิติ มองว่า เหตุการณ์ยิงมัสยิดนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทหารพรานยิงฝ่ายขบวนการเสียชีวิตสามศพเมื่อเกือบสองเดือนก่อน รวมถึงการควบคุมตัวเจ็ดอุสตาซไปซักถามด้วย background:#FDFFF2;mso-bidi-language:TH">

เหตุการณ์แรกนั้น ทหารพรานนับเป็นวีรกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานครั้งนั้นเลยทีเดียว เพราะภายในฐานของกรมทหารพรานที่ mso-bidi-language:TH">44 มีการเขียนข้อความในบอร์ดติดผนังขนาดใหญ่สีแดงว่า “เชิดชูเกียรติของกำลังพล”

“พวกเขาต้องการลดความเชื่อมั่นและศรัทธากับทหารพรานในพื้นที่” ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ mso-bidi-language:TH"> 44 กล่าว

นอกจากนี้ยังระบุว่า การยิงมัสยิดเป็นจุดที่จะทำให้เกิด “การปลุกระดม” และสร้างความแตกแยกในชุมชน mso-bidi-language:TH">

พ.อ.นิติ กล่าวว่า ทหารพรานเองได้สืบสวนในเชิงลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปอย่างชัดเจน

ทว่า เรื่องยาเสพติดและการเมืองท้องถิ่น อาจเป็นประเด็นผสมโรงที่ทำให้เกิดความรุนแรงด้วยก็เป็นได้ นั่นคือ คำทิ้งท้ายฝากไว้ให้คิดของ mso-bidi-language:TH">พ.อ.นิติ background:#FDFFF2;mso-bidi-language:TH">

background:#FDFFF2;mso-bidi-language:TH">

background:#FDFFF2;mso-bidi-language:TH">เสียงจากคนพุทธแห่งปะนาเระ TH">

background:#FDFFF2;mso-bidi-language:TH">

บ้านนาพร้าวมีคนนับถือศาสนาพุทธอยู่ประมาณ TH"> 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรประมาณ 1,400 คน

ผู้นำชุมชนคนพุทธในหมู่บ้านคนหนึ่งซึ่งไม่ขอเปิดเผยนาม กล่าวว่า เหตุรุนแรงระลอกล่าสุดนี้ดูเหมือนจะเป็นความพยายามของ “ฝ่ายโจร” ที่ต้องการจะดึงฐานมวลชนคืน หลังจากพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในเหตุโจมตีป้อมจุดตรวจทหารพราน ที่ทำให้สูญเสียสมาชิกไปถึง mso-bidi-language:TH">3 คน

“เขาสร้างเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่สร้างไม่ขึ้น แต่ถ้าชาวบ้านเล่นด้วย จะกลายเป็นเรื่องใหญ่มาก” เขากล่าว

ชาวพุทธคนนี้สูญเสียคนในครอบครัวไปกับเหตุความไม่สงบเมื่อหลายปีก่อน เขามองว่าพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้างสถานการณ์รุนแรง เขาคิดว่า รัฐมองประเด็นผิดและพยายามจะเปลี่ยนแปลงคนที่ไม่ได้อยู่ในขบวนการ

“มีกลุ่มอยู่เพียงนิดหน่อยเท่านั้นที่เล่นอยู่ … เขาออกมาพูดไม่ได้ พูดคือตาย ต่อต้านคือตาย”

ชายหนุ่มคนนี้มองว่า สถานการณ์ในหมู่บ้านขณะนี้ กลุ่มที่เคลื่อนไหวด้วยอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด “ปัจจุบันนี้ พ่อค้ายาเสพติดกับแนวร่วมของขบวนการนั้นเป็นคนคนเดียวกัน” เขากล่าว

เขาอธิบายว่า พวกพ่อค้ายาเสพติดมีเงินก็เอาไปจ้างกลุ่มเหล่านี้ให้สังหารคู่แข่งหรือศัตรูของตนเอง ส่วนพวกขบวนการเองก็ต้องการรายได้ mso-bidi-language:TH">

คำอธิบายเช่นนี้ สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของทหารในช่วงหลังๆ ซึ่งก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่า เส้นทางของนักรบปาตานีที่ประกาศว่าตนต่อสู้เพื่อเอกราช ได้เดินทางมาบรรจบกับเส้นทางของกลุ่มอิทธิพลนอกกฎหมายจริงหรือ

mso-bidi-language:TH"> 

mso-bidi-language:TH">ตำรวจกับการดำเนินคดี

.ต.ท.สมศักดิ์ สังข์น้อย พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรปะนาเระ ระบุว่า ข้อสรุปเบื้องต้นจากสอบสวนแต่ละคดี ดังนี้ เหตุยิงสองพ่อลูกคนมุสลิมน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว โดยผู้ตายเป็นอดีตอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) เคยมีประวัติถูกฟ้องคดีฆาตกรรมในอำเภออื่น แต่ศาลยกฟ้อง

ส่วนเหตุยิงคนไทยพุทธน่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ เจ้าหน้าที่เชื่อว่า น่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อสร้างกระแสว่า เป็นการตอบโต้ระหว่างพุทธกับมุสลิม

ส่วนเหตุยิงช่างซ่อมจักรยานยนต์บาดเจ็บ ก็น่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งเกี่ยวข้องความไม่พอใจในการบริการซ่อมรถ

ส่วนเหตุการณ์ยิงมัสยิด(บาลาเซาะห์) ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ที่กระทำผิด mso-bidi-language:TH">

“หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อาจช่วยไขความกระจ่างของเหตุการณ์ได้มากขึ้น คือ การพิสูจน์ปลอกกระสุนเอ็ม mso-bidi-language:TH"> 16 จำนวน 19 ปลอกที่พบในที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบว่า เป็นปืนเคยถูกใช้ก่อเหตุอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งเป็นกุญแจดอกสำคัญในการคลี่คลายคดี”