กรรมการสิทธิแถลง คลอดแนวทางชันสูตรศพมุสลิม ใช้เวลาศึกษา 6 ปี หวังเป็นอีกช่องสร้างความยุติธรรมชายแดนใต้ ผู้นำศาสนาโอเค บาบอแอ สะปาแย ชี้ จะทำตามหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ดูแลศพ หมอยะลาแนะต้องเพิ่มแพทย์นิติเวชมุสลิม สร้างการยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย เผยสาระสำคัญ 2ทัศนะทางศาสนา “ทำได้ – ไม่ได้”
ชันสูตรศพมุสลิม - ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ที่ 3 จากซ้าย) แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ“แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม” ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักจุฬาราชมนตรี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม”
จากนั้นมีการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักกฎหมายในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงว่า การศึกษาแนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 โดยนายวสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ตายและญาติที่เป็นชาวมุสลิมโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ศ.อมรา แถลงต่อไปว่า ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ได้ดำเนินการต่อ โดยมีการหารือกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสำนักจุฬาราชมนตรีได้ออกคำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) ที่ 04/ 2549 เรื่องการชันสูตรพลิกศพ สามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
ศ.อมรา แถลงอีกว่า นอกจากนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เดินทางไปศึกษาหลักการและแนวทางเรื่องนี้ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนา นักวิชาการ และ นักกฎหมาย มีการประชุม 5 ครั้ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 จนปี 2555 มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการศาสนาและนักกฎหมาย
นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า สาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่
สาระสำคัญในหน้าดังกล่าวระบุว่า จากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ
“ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ
“ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยว่า การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ
นายอับดุลสุโก เปิดเผยว่า สำหรับหนังสือเล่มนี้ในเบื้องต้นบรรดาอุลามาอ์ (นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม)ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ แต่มีข้อกังวลคือ เมื่อมีการชันสูตรพลิกศพมุสลิมแล้ว จะสามารถอำนวยความยุธรรมให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ และจะทำให้สามารถนำผิดมาลงโทษได้หรือไม่
นายอับดุลสุโก กล่าวว่า การนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถนำความยุติธรรมมาให้ประชาชนได้ และกระบวนการต่างๆตามแนวทางดังกล่าว จะมีแพทย์มุสลิมที่มีความน่าเชื่อถือเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการชันสูตรด้วย
นายแพทย์ฟาฏิน อะหะหมัด สาและอารง นายแพทย์ปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพดังกล่าว มีการเน้นว่า การชันสูตรพลิกศพมุสลิมสามารถทำได้หรือไม่ได้เท่านั้น ทั้งที่ ยังมีมิติอื่นที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน คือ การสนับสนุนการผลิตแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิม และการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบความยุติธรรมของไทย
นายอิสมาแอล สะปันยัง หรือ บาบอแอ สะปาแย โต๊ะครูปอเนาะดูซงปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี กล่าวในการสัมมนาว่า การที่มีทัศนะเรื่องการชัดสูตรศพของอูลามาอ์ เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อย เพราะไม่มีตัวอย่างในสมัยศาสดา
“กรณีนี้ คนที่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน แต่เมื่อสำนักจุฬาราชมนตรีออกคำวินิจฉัยเรื่องนี้แล้ว ใครจะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ ไม่ได้บังคับ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลศพหรือญาติที่จะอนุญาตหรือไม่” บาบอแอ สะปาแย กล่าว
บาบอแอ สะปาแย กล่าวอีกว่า อยากรู้ว่าเรียกอูลามาอ์มาร่วมงานครั้งนี้ด้วยทำไม หากต้องการให้อุลามาอ์มาให้คำตอบว่า ได้หรือไม่ได้ก็คงต้องเป้นเวทีเฉพาะของอูลามาอ์ แต่ถ้ามีคำวินิจฉัยแล้วก็ไม่จำเป็น
ดร.อับดุลเลาะ อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา กล่าวว่า การชันสูตรพลิกมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีหลักประกันว่า จะไม่มีการแทรกแซงการทำงานของทีมแพทย์นิติเวชที่ทำการชันสูตรพลิกศพ และที่สำคัญสุด ต้องสนับสนุนให้มีแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
ล้อมกรอบ
เปิดสาระสำคัญ 2ทัศนะ “ทำได้ – ไม่ได้”
นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุสาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่องนี้ อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ
ทัศนะแรกไม่อนุญาต
ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์
ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์ กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปฏิบัติต่อผู้ตายจะต้องคอยระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือนหรือเกิดอันตรายต่อศพ
ท่านศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวย้ำไว้ว่า ท่านจงอย่าทำร้ายศพ ดังนั้นการขุดศพและการตรวจชันสูตรจึงเป็นการทำร้ายศพและไม่ให้เกียรติศพ โดยเฉพาะการตรวจชันสูตรศพนำไปสู่การล้าช้าในการจัดการศพที่ต้องเร่งรีบไปรับผลบุญที่ศพจะได้รับในโลกหน้าเป็นการค้านกันวจนะศาสดาที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อมีบุคคลหนึ่งเสียชีวิตเจ้าจงอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังโดยเร่งด่วน” (บันทึกโดยอีหม่ามอัฏฏอบรอนีย์) ทรรศนะดังกล่าว เป้นทรรศนะของนักวิชาการร่วมสมัยบางท่าน เช่น ชัยค มูฮัมมัด ซะกะริยา อัลกันดาฮารีย์, ชัยมูฮัมมัดบูรฮานุดดีน อัสสันบาฮารีย์, ชัยคมูฮัมมัด บะเคียต, ชัยคอัลอารอบีย์ อบูอิยาต อัฏฏอบาคีย์ และ ชัยคมูฮัมมัดอับดุลวะฮฮาบ
ทัศนะที่สอง อนุญาต
ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยส่วนใหญ่ เช่น ชัยคฺ ยูซุฟ อัลดะญาวีย์, ชัยคฺฮุซัยน์ มัคลูฟ, ชัยคฺอิบรอฮีม อัลยะกูบีย์, ชัยคฺดร.มุฮัมมัด ซะอีด รอมาฏอน อัลบูฏีย์, ชัยค ดร.มะห์มูด นาซิม นุซัยมีย์ และ ชัยค ดร.มะห์มูด อาลี อัซซัรฏอวีย์ ที่อนุโลมการตรวจชันสูตรศพโดยให้เหตุผลในภาพรวมว่า ในภาวะปกติ ความเป็นจริงศาสนาให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิต
ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีชีวิตในชุมชนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบรวมร่วมกันในการจัดการศพตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ตามหลักนิติศาสตร์อิสลามทุกประการ ตามหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจากคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนะศาสดา
ดังนั้น การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม
ทัศนะที่ 2 นี้ มีคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ที่สำคัญของสถาบันและนักวิชาการในโลกมุสลิมสนับสนุนมากมาย เช่น
mso-fareast-font-family:Tahoma">1.สถาบันปราชญ์อาวุโสของประเทศซาอุดิอาระเบีย (ฮัยอะกิบารอุละมาอ) ในมติการประชุมครั้งที่ 9 หมายเลข 98 ลงวันที่ 14 เดือนซะอบาน ปีฮิจเราะห์ศักราช 1396
mso-fareast-font-family:Tahoma">2.ศูนย์นิติศาสตร์อิสลามของสันนิบาตชาติมุสลิม ในมติการประชุมครั้งที่ 10 ประจำเดือนเศาะฟัร ปีฮิชเราะห์ 1408
mso-fareast-font-family:Tahoma">3.สำนักงานสภาการวินิจฉัยของอัลฮัซฮัร ประเทศอิยิปต์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971
mso-fareast-font-family:Tahoma">4.สำนักงานวินิจฉัยประเทศอียิปต์ วินิจฉัยโดยมุฟตีอียิปต์สมัยต่างๆ คือ ชัยค อับดุลมาญีด ซาลีม หมายเลขข้อวินิจฉัย 639 ลงวันที่ 26 ซะอบาน ฮ.ศ.1356 และชัยค หุซัยน มัคลูฟ วินิจฉัยเมื่อปี ค.ศ.1951
mso-fareast-font-family:Tahoma">5.คณะกรรมการถาวรการวิจัยและวินิจฉัยประเทศซาอุดิอาระเบีย ในมติการประชุม วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ.1935
mso-fareast-font-family:Tahoma">6.คณะกรรมการสภาวิจัยประเทศจอร์แดน ลงวันที่ 20 เดือนญะดิ้ลอาคิร ฮ.ศ.1937 ?
mso-fareast-font-family:Tahoma">7.อายาตุลลอฮ ซัยยิด อัซซัยตานีย์ ผู้นำชีอะห์ในอิรัก และ ศ.ดร.มุสตอฟา อัลอัรญาวีย์ นักวิชาการาวอิรัก (เพราะประเทศอิรักมีการขุดศพมุสลิมมากมาย)
mso-fareast-font-family:Tahoma">8.ดร.อะห์หมัด อับดุลการีม นาญีบ
mso-fareast-font-family:Tahoma">9.อ.มุฮัมมัด มัศริ นักวิชาการมาเลเซีย
10.คำวินิจฉัยทางศาสนาของสำนักจุฬาราชมนตรี ที่ 04/2549