Skip to main content

 เปิด4ข้อแผนสันติภาพจากหมู่บ้าน ศอ.บต.ชี้อนาคตปาตานีอยู่กับคนพื้นที่ บังยุบวิจารณ์ไม่แตะอำนาจ ข้อเสนอใหม่เลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ให้ถอนทหาร เผยเหตุยาเสพติดรุนแรง ระบาดหนัก2พันหมู่บ้าน ถามเอาไหมใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯปราบ สลดเด็กโควตาพิเศษถูกรีไทร์4พันคน

 

 

d

สันติภาพกลางแดด? – เครือข่ายประชาหารือสู่สันติภาพชายแดนใต้ จัดมหกรรมสันติภาพ “เสียงท้าทายจากกำปง” เพื่อเสนอข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากการจัดเวทีประชาหารือ ท่ามกลางอากาศร้อนจัด เมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 ที่หาดวาสุกรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

 

เปิด4ข้อแผนสันติภาพจากหมู่บ้าน

 

เมื่อวัน mso-ascii-font-family:Tahoma;mso-hansi-font-family:Tahoma">ที่ 20 พฤษภาคม 2555 ที่หาดวาสุกรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เครือข่ายประชาหารือสู่สันติภาพชายแดนใต้ จัดมหกรรมสันติภาพ “เสียงท้าทายจากกำปง” เพื่อนำเสนอข้อค้นพบและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากการจัดเวทีประชาหารือกว่า 100 เวทีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสรุปเป็นหนังสือชื่อว่า รวมข้อเสนอและข้อถกเถียงอันหลากหลายเพื่อปูทางสู่สันติภาพ “เสียงท้าทายจากกัมปง”

นางเรืองรวี พิชัยกุล ผู้ประสานงานโครงการอาวุโส มูลนิธิเอเชีย เปิดเผยว่า มูลนิเอเชียได้รับข้อเสนอมากมาย ในการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่จริงๆ ในการแก้ปัญหาพื้นที่ของตัวเอง มูลนิธิจึงจัดโครงการจัดทำข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง” นี้ขึ้นมา เมื่อจักเวทีแล้วพบว่า ประชาชนสามารถก้าวข้ามความกลัวในการที่จะสะท้อนความวิตกกังวลต่างๆ ในชีวิตของตัวเอง

สำหรับสาระสำคัญของ ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง” มี 4 ประเด็น ได้แก่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กระบวนการยุติธรรม ยาเสพติด และการศึกษา โดยเวทีประชาหารือกว่า 100 เวทีดังกล่าว จัดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงธันวาคม 2554 แต่ละเวทีมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน

 

ศอ.บต.ชี้อนาคตปาตานีอยู่กับคนพื้นที่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวในพิธีเปิดว่า ตนหวังว่าการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าจะมีทางออกใหม่ๆ ซึ่งทางออกหนึ่งให้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือคนมลายูปาตานี เป็นคนแก้ปัญหา ซึ่งคนในพื้นที่เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ โดยไม่ต้องนำปริญญาบัตรมาเปรียบเทียบ ในพื้นที่มีปอเนาะเป็นที่หล่อหลอคนดี

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า การสร้างสันติภาพของภาคประชาชนที่มอง คือ ยาเสพติด การศึกษากระบวนการยุติธรรม และความปลอดภัย ซึ่งต่างจากรัฐที่มองเรื่องความมั่นคง เรื่องแรก คือการแก้ปัญหายาเสพติดนั้น เป็นเสียงเรียกร้องถูกต้อง เพราะยาเสพติดไม่กลัวทหาร ตำรวจ แต่กลัวชุมชนกับศาสนา ส่วนการศึกษานั้น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องการเรียนตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ขึ้นอยู่กับการวัดผลด้วยระบบโอเน็ต แต่เป็นการให้คนเป็นคนดี

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ขณะที่ เรื่องกระบวนการยุติธรรมนั้น จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้มากที่สุด เพราะ จะไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยจะทำอย่างไรให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในพื้นที่ เพราะกระบวนการนี้แค่เริ่มต้น ก็ไม่มีค่าทนายเหมือนกระบวนการยุติธรรมปกติ

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ส่วนเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัย ต้องโอนภารกิจนี้ไปอยู่ในหมู่บ้าน เพราะคนที่รู้ปัญหาดีว่าใครเกี่ยวข้องกับปัญหาความมั่นคง คือ คนในหมู่บ้าน ส่วนเจ้าหน้าที่บางครั้งจับคนมาโดยไม่วิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องอะไร แต่บอกว่าเป็นเรื่องความมั่นคง ทั้งๆ ที่ในพื้นที่มีปัญหาอื่นๆ อยู่ด้วย ซึ่งหากตั้งโจทย์ผิด ความเดือดร้อนก็จะตกอยู่กับประชาชน ดังนั้นการทำให้มีความสุขได้นั้น คำตอบสุดท้ายอยู่ที่หมู่บ้าน

 

บังยุบวิจารณ์ ไม่พูดอนาคต ไม่แตะอำนาจ

เวลา 10.00 น. เป็นเวทีสะท้อนและวิพากษ์ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง” นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวในสะท้อนและวิพากษ์ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง”ว่า ถ้าเป็นข้อเสนอจากกัมปง(หมู่บ้าน) ต้องเขียนเป็นภาษามลายูด้วย เพื่อให้ชาวบ้านได้อ่านด้วย เป็นการสื่อสาร จากภายในและเป็นความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่

นายมูฮำมัดอายุบ วิจารณ์ว่า ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับนี้ ไม่พูดถึง 4 ประเด็น คือ 1.มีการพูดคุยเรื่องอนาคตของปาตานีน้อยเกินไป 2.มีการพูดคุยเรื่องความมั่นคงน้อยไป เพราะพื้นที่นี้ มีปัญหาความมั่นคง 3.ข้อเสนอนี้ไม่พูดถึงความยุติธรรมเชิงอำนาจ และ 4.เป็นประเด็นสำคัญ คือ การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติโดยหมู่บ้านจะทำได้อย่างไร ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน

นายมูฮำมัดอายุบ เสนอด้วยว่า ต้องมีการพูดคุยกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นต่างด้วย อย่าคุยกันเอง และคนที่ร่วมวงคุย ต้องเป็นคนในพื้นที่ของจริงและมีความมุ่งมั่นที่จะพูดคุย เพื่อให้สามารถสะท้อนปัญหาที่แท้จริงให้ได้ โดยต้องสร้างรูปแบบสันติภาพที่เป็นจริงที่คนในหมู่บ้าน(กัมปง)อยากได้

นายมูฮำมัดอายุบ เสนออีกว่า ในเรื่องการพูดคุยมี  3 พวกที่จะทำ คือ รัฐ เรา และขบวนการ อย่าปล่อยให้รัฐทำอย่างเดียว ถ้าโอกาสเปิดชาวบ้านต้องร่วมทำ ทำไปแล้วถ้ามีข้อเสนอเพิ่มก็ช่างมัน ในเมื่อเป็นข้อเสนอจริงจากกัมปง

ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ วิจารณ์ว่า ข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อเสนอของคนพื้นที่ซึ่งน่าสนใจ แต่ข้อเสนอหลายอย่าง ค่อนข่างประนีประนอม เกรงใจอยู่ ไม่ฟันธงชัดเจน

ผศ.ดร.บุษบง วิจารณ์อีกว่า ข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็น ต่างจากการศึกษาวิจัยขององค์กรอื่นทีเพิ่มประเด็นเศรษฐกิจด้วย แต่ทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว ก็เป็นปัญหาหัวใจหลักที่แสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่คิดอย่างไร พร้อมเสนอทางออกให้ด้วย ซึ่งต่างจากคนนอกพื้นที่ ที่มองอย่างมีอคติ

 

ข้อเสนอใหม่ เลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ ให้ถอนทหาร

 

ต่อมาเวลา 14.00 น. มีการเสวนาในประเด็นใจกลางและทางออกของปัญหาทั้ง 4 ประเด็น ดำเนินรายการโดยนางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

นายอิสมาแอ เต๊ะ อดีตจำเลยคดีความมั่นคง กล่าวว่า ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทหารทั้งหมด 150,000 นาย เฉลี่ยต่อประชากรในพื้นที่ จะพบว่า มีเจ้าหน้าที่ 1 คน ต่อประชากร 10 คน แต่เหตุรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่พบว่า ประชาชนต้องการให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ กฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกได้ ก็ควรถอนทหารออกไปจากพื้นที่บางส่วน

นายอิสมาแอ  กล่าวอีกว่า ส่วนกองกำลังท้องถิ่น โดยเฉพาะ ทหารพราน มาจากคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ แต่ต้องการมีอำนาจ จึงมาสมัครเป้นทหารพราน เพราะสามารถถืออาวุธได้ จึงทำให้เป็นภาพลบต่อทหาร การให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตัวเองจริงๆ มาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะทำได้ดีที่สุด

พ.อ.สุรเทพ หมูแก้ว หัวหน้าแผนยุทธการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า การยกเลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ขึ้นอยู่กับทหาร แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล กองทัพมีหน้าที่เพียงบันทึกสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การให้ความร่วมมือของประชาชนกับทหาร และหน่วยข่าวกรองในพื้นที่รายงานว่า ยังมีการเคลื่อนไหวของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างไร ซึ่งทั้ง 3 ประเด็น เป็นตัวประเมินว่าควรจะต่ออายุการใช้กฎหมายพิเศษต่อไปหรือไม่

พ.อ.สุรเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ตนกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับวิทยาลัยป้องกันราอาณาจักร (วปอ.) โดยยังอยู่ระหว่างรวมรวบความเห็นจากคนในพื้นที่ว่า ควรยกเลิกหรือไม่ คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2555

 

รัฐเปิดช่องชาวบ้านสอบเจ้าหน้าที่

นายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายพิเศษในการซักถาม แล้วนำผลการซักถามไปแจ้งข้อหาและส่งฟ้องศาล แทนที่จะใช้เพื่อนำไปสืบสวนหาข้อเท็จจริง ทำให้คำฟ้องไม่มีน้ำหนัก ส่งผลให้มีคดีที่ถูกยกฟ้องจำนวนมาก ซึ่งเป็นการลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม ประชาชนไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และยังพบว่า เจ้าหน้าที่ยังมีการละเมิดสิทธิผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษอยู่ ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขในการความไม่เป็นธรรมให้คนในพื้นที่

นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้  background:white">(ศอ.บต.) กล่าวว่า ศอ.บต. รู้ว่า เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายพิเศษที่สร้างความไม่เป็นธรรมกับประชาชน หรือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองหรือพวกพ้อง เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เข้าถึง เข้าใจและพัฒนา และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้กฎหมาย เช่น หลายกรณีที่ให้ภาคประชาชนเข้ามาตรวจสอบเหตุที่เจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ

 

เผยยาเสพติดระบาดหนัก2พันหมู่บ้าน

นายนิอาลี นิแว จากกลุ่มพีซมีเดียกรุ๊ป กล่าวว่า จากการลงพื้นพบว่า ชาวบ้านเห็นว่า ระหว่างคดียาเสพติดกับคดีความมั่นคง คดียาเสพติดต่อสู้ง่ายกว่า หากเป็นปัญหายาเสพติดในส่วนของชาวบ้าน แก้ง่ายกว่า แต่ถ้ายาเสพติดเป็นของซึ่งชาวบ้านระบุว่า คือ “นาย” เจ้าหน้าที่จะจับหรือไม่ จากการสังเกตพบว่า ทำไมพื้นที่ที่มีปัญหาความมั่นคง มักไม่มีปัญหายาเสพติด แต่พื้นที่ที่มีความสงบแต่มีปัญหายาเสพติดรุนแรง และจากการเก็บข้อมูลในสถานพินิจเด็กและเยาวชน รวมทั้งจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม พบว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีความมั่นคง ไม่พบว่า เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด ซึ่งขัดแย้งกับที่เจ้าหน้าที่รัฐ ระบุว่า กลุ่มก่อความไม่สงบ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

พ.อ.สุวรรณ เชิดฉาย หรือ เสธ.ขาว หัวหน้าศูนย์ Tahoma;mso-hansi-font-family:Tahoma"> mso-ascii-font-family:Tahoma;mso-hansi-font-family:Tahoma">‡องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า ยอมรับว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริง ซึ่งกำลังพยายามจัดการอยู่ ทั้งนี้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนคนติดยาเสพติดมากที่สุด ใน ประเทศ มีสัดส่วน 28 คนต่อ 1,000 คน โดยสัดส่วนปกติของประเทศ คือ ผู้ติดยาเสพติด 3 คน ใน 1,000 คน และ 94 % ของ 2,000 หมู่บ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหายาเสพติด โดยผู้เสพยาเสพติดรายใหม่มีอายุน้อยลงมาก

 

ถามเอาไหมใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯปราบ

พ.อ.สุวรรณ กล่าวว่า ทางออกคือ การปราบปราม แบบสั่งมาจากข้างบน บางครั้งมีการจัดฉากในการสร้างผลงาน ข้อเสนอคือ บางพื้นที่ ควรใช้คนนอกเข้าไปแก้ปัญหา ที่ผ่านมาแม้มีด่านตรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 200 ด่าน แต่เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลรถขนยาเสพติด และในพื้นที่ที่มีการปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวด แต่ก็มักพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรงด้วย เพราะผู้ค้ายาเสพติดได้ว่าจ้างทนายมาแก้ต่าง ซึ่งต้องใช้เงินสู้คดีจึงยิ่งต้องเพิ่มยอดขายยาเสพติด

พ.อ.สุวรรณ เสนอด้วยว่า หากจะใช้กฎหมายพิเศษอย่าง พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้แก้ปัญหายาเสพติดจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะสามารถปิดล้อมตรวจค้นได้

 

สลดเด็กโควตาพิเศษถูกรีไทร์4พันคน

นายมาหามะ มะแซสะอิ ตัวแทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า ศอ.บต.ได้รับจัดสรรโควตาพิเศษทางการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศที่ให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,496 ที่นั่ง มีผู้มาสมัคร 1,500 คน แต่ส่วนใหญ่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ถามว่าการที่เด็กมีคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ เป็นความผิดของใคร

นายมาหามะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นักเรียนที่ได้โควตาพิเศษตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2554 ถูกรีไทร์แล้ว 4,000 กว่าคน ซึ่งศอ.บต.ได้เรียกเด็กที่ถูกรีไทร์ (ออกกลางคัน) มารายงานตัว เพื่อช่วยหาที่เรียนแห่งใหม่ให้ แต่เด็กมารายงานตัวเพียง 100 คน เด็กทีเหลือไม่ยอมกลับบ้าน ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่ายังเรียนอยู่และได้ส่งเงินไปให้ทุกเดือน

นางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี เสนอว่า ต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทุ่มเทงบประมาณในการสนับสนุนการจัดการศึกษาในพื้นที่ สร้างความไว้วางใจในการพัฒนาสถาบันการศึกษา เช่น ปอเนาะ ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสร้างหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยแก่บุคลากรทางการศึกษา

สำหรับเครือข่ายประชาหารือสู่สันติภาพชายแดนใต้ ประกอบ ด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ จานวน 12 องค์กร ได้แก่ เครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี (PCRN) สมาคมผู้หญิงกับสันติภาพ (We Peace) เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (SPM) เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ (GDST) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ (SFST) ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) สานักข่าวอามาน (AMAN) เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (SPAN) กลุ่มสันกาลาคีรี (SK) ศูนย์พิทักษ์วัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดชายแดนใต้ (CCPD) เครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส (CSN-N)