Skip to main content

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">กลุ่มด้วยใจ รายงานผลศึกษาผลกระทบซ้อมทรมาน ผู้ต้องหาป่วนใต้ พบ
minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">33 รูปแบบ ส่วนใหญ่โดนในช่วงกฎหมายพิเศษ ถกทางแก้หาแบบจำลองป้องกันทำร้ายร่างกาย ตำรวจแนะ 3 ข้อ ตั้งองค์กรอิสระตรวจสอบ ทนายมุสลิมเผยปัจจุบันปัญหาลดลง ไม่มีร้องเรียนแล้ว

 

อัญชนา หีมมิน๊ะ

นางสาวอัญชนา หีมมิน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ

 

เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี กลุ่มด้วยใจ (Hearty Support Group) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แบบจำลองการป้องกันการซ้อมทรมาน โครงการSocial support for detainee families in Songkla prison center โดยนำเสนอผลการประเมินผลกระทบของ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในเรือนจำกลางสงขลาจากการถูกซ้อมทรมาน จำนวน 70 คน ซึ่งถูกจับกุมระหว่างปี 2547 –  พ.ศ.2553 โดยมีผู้เข้าร่วม 50 คน

นางสาวอัญชนา หีมมิน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ นำเสนอว่า จากการศึกษาโดยการสัมภาษณ์และสังเกต พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ให้สัมภาษณ์ได้รับผลกระทบจากการทรมานขณะถูกควบคุมตัวหรือระหว่างการซักถามภายใต้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยศึกษาระหว่าง วันที่ 20 เมษายน - 9 กรกฎาคม 2553

นางสาวอัญชนา นำเสนออีกว่า ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงส่วนใหญ่ถูกค้นร่างกายและค้นบ้านที่พักอาศัยและถูกรื้อค้น ร้อยละ 76.60 รองลงมาคือถูกจับกุม กักขัง ร้อยละ 74.47 ถูกทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 72.34 ถูกกีดกันไม่ให้พบครอบครัวหรือเพื่อน ร้อยละ70.21 โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก สูงสุดถึง 7 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกซ้อมทรมานทำร้ายร่างกายมากที่สุด โดยแต่ละคนมักได้ประสบการณ์มากกว่า 1 กรณี

นางสาวอัญชนา นำเสนอต่อไปว่า ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกทำร้ายร่างกาย มักถูกกระทำระหว่างการจับกุม ในกระบวนการซักถามและการสอบสวน

นางสาวอัญชนา นำเสนอว่า การศึกษาพบว่า การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษในรูปแบบที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องหาคดีความมั่นคง แบ่งได้ 3 ช่วง คือ ระหว่างการจับตัว ระหว่างเดินทาง และระหว่างควบคุมตัว

นางสาวอัญชนา นำเสนออีกว่า สำหรับรูปแบบการทรมาน ตรวจสอบพบ 33 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุด คือ มีบาดแผลถูกชก ต่อย เตะ ตบ เฆี่ยนตี ลวด กระบอง หกล้ม การทรมานในท่าต่างๆ เช่น การแขวน การถ่างขา อยู่ในอุณหภูมิสุดขั้ว ร้อน หนาว อยู่ในที่ขาดสุขลักษณะ ขังในห้องแคบหรือแออัด ปิดตาหรือคลุมศีรษะ อยู่ในที่แสงสว่างจ้าหรือที่ไม่มีแสง ข่มเหงด้วยคำพูด ทำให้อับอาย ข่มขู่เอาชีวิต จำลองการประหารชีวิต และถูกบังคำให้สารภาพหรือเขียนคำสารภาพ

นางสาวอัญชนา นำเสนอต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังพบรูปแบบการทรมานแบบแปลกๆ เช่น การเผาไหม้ด้วยบุหรี่ น้ำร้อนหรือสารกัดกร่อน ทำให้ขาดอากาศหายใจ สำนักน้ำ ควันหรือสารเคมี ใช้ลูกกลิ้งหนักบดหรือกดบนโคนขาหรือแผ่นหลัง สอดลวดใต้เล็บหัวแม่เท้า ใช้สารเคมี เกลือ พริก น้ำมันเบนซินใส่ในแผลหรือรูพรุนตามร่างกาย ทรมานอวัยวะเพศ บังคับให้รับประทานยา น้ำมันหรือสารเคมี ให้อาหารหรือน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค ใช้สัตว์รุกราน เช่น สุนัข แมงป่อง บังคับให้ปฏิบัติในสิ่งที่ขัดแย้งกับศาสนา ให้ดูถูกผู้นำศาสนา บังคับให้ทรยศผู้อื่น หรือให้ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น

นางสาวอัญชนา เสนออีกว่า ส่วนผลกระทบจากการทรมานพบว่า มี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน โดยระดับบุคคล ได้แก่ ผลกระทบต่อร่างกาย เช่น พบร่องรอยถูกกระแทก เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก และจากการถูกกระทำที่อวัยวะเพศ ทำให้วิตกกังวลถึงสมรรถภาพทางเพศ ผลกระทบต่อจิตใจ พบว่า มีอาการของโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และพบภาวะเครียดสุดขีดจากการประสบเหตุร้ายแรง

ผลกระทบต่อครอบครัว เช่น ถูกประณามจากสังคม ถูกแยกออกจากสังคม สูญเสียสถานะทางสังคมและอาชีพ ผลกระทบทางจิตใจต่อเด็กในครอบครัว ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่มองไม่เห็น ส่วนผลกระทบทางด้านสังคม เช่น คนในสังคมโกรธและสงสัยต่อเจ้าหน้าที่ รัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแล เป็นต้น

ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ กำหนดมาตรการหรือกระบวนการตรวจสอบมิให้มีการซ้อมทรมาน ส่งเสริมให้การซ้อมทรมานเข้าสู่การตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เกิดภาวการณ์ไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญา ผลักดันให้เกิดการเยียวยาและชดเชนอย่างเป็นระบบ และรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจหลักสิทธิมนุษยชนและรู้ช่องทางในการป้องกันกาละเมิดสิทธิมนุษยชน

.ต.อ.อนุสรณ์ จิระพันธ์ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา เสนอต่อที่ประชุมว่า การแก้ปัญหาการซ้อมทรมาน 1.ให้มีองค์กรอิสระที่ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาตรวจสอบการซ้อมทรมาน หากพบว่า มีการซ้อมทรมานจริงให้ดำเนินการตามกฎหมาย 2.ให้มีนักวิชาการหลายภาคส่วน เช่น ด้านศาสนาและนักวิชาการทั่วไปที่เป็นกลาง ออกมาวิเคราะห์ความต้องการของที่แท้จริงประชาชน 3.ให้มีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวที่สามารถตัดสินใจเรื่องการซ้อมทรมาน

นายอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน การร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานลดลงแล้ว อันเป็นผลมาจากการทำงานของภาคประชาชนในรณรงค์ให้ลดการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว