Skip to main content

นักวิชาการเผย ร้อยเอกสารประวัติปาตานี พบอีกเพียบในต่างแดน รวมธงชาติ-เหรียญตรา ชีกว่าจะได้ข้อมูลต้องใช้ความไว้ใจสูง

 

 

dd

เอกสารปาตานี - ตัวอย่างเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานี ที่จัดแสดงในนิทรรศการในงานเสวนาวิชาการ เรื่อง background:#FDFFF2">“ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อ 15 มิถุนายน 2555

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง background:#FDFFF2">“ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” เพื่อนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัย ซึ่งส่วนหนึ่งรวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษา “รุไบยาต” โดยมีเข้าร่วมประมาณ 200 คน

ภายในงานมีนิทรรศการเกี่ยวกับ 100 เอกสารประวัติศาสตร์ปาตานี รวมถึงโปสเตอร์ Patani Timeline ซึ่งเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ปาตานีในความสัมพันธ์กับสยามและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางกาลเวลา อีกทั้งยังมีการจัดแสดงหนังสือเก่าในสมัยอดีตจำนวนมาก และรูปถ่ายบรรดาอูลามาอ์ (นักปราชญ์) ที่สำคัญๆ ของปาตานีหรือมีเชื้อสายปาตานี

"Times New Roman"">นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน อาจารย์ประจำภาควิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี กล่าวในช่วงแนะนำโครงการ mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> “ร้อยเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี” ว่า เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปาตานี ไม่ได้มีแค่เพียง 100 เอกสารเท่านั้น แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นำมารวบรวมในรายชื่อเอกสารสำคัญ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเอกสารสำคัญมีเพียง 100 เอกสารเท่านั้น แต่สามารถหามาได้ 200 เอกสารก็ยังได้ หากได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของเอกสาร

"Times New Roman"">นายนิอับดุลรากิ๊บ เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางไปตามหาเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปาตานีในหลายประเทศแถบมลายูพบปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะหากเดินทางไปด้วยกันหลายคน เช่น การเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในมาเลเซีย ซึ่งพบตู้เอกสารที่ระบุว่าเป็นตู้เก็บหนังสือ “Hikayat Patani” แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า กุญแจหายไม่สามารถไขตู้ได้ แต่หลังจากนั้นเมื่อตนเดินทางไปคนเดียว เจ้าหน้าที่ได้นำหนังสือดังกล่าวมาให้ดู ซึ่งหมายความว่า การหาเอกสารบางชิ้นต้องใช้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ความไว้วางใจสูง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">นายนิอับดุลรากิ๊บ เปิดเผยอีกว่า นอกจากเอกสารแล้ว ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปาตานีอื่นๆ อีกหลายชิ้น เช่น ตนพบธงปาตานีที่บ้านหลังหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งพบว่าธงชาติปาตานีมีหลายแบบ แต่ละกลุ่มขบวนการกู้เอกราชของปาตานีก็มีธงชาติของปาตานีในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งหากได้รับเอกราชแล้ว ปัญหาความขัดแย้งที่จะตามก็คือจะเอาธงของใครมาเป็นธงประจำชาติก็อาจเป็นได้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

"Times New Roman"">นอกจากธงชาติปาตานีแล้ว ยังพบเหรียญตราประจำหัวเมืองต่างๆของปาตานีในสมัยที่แบ่งเป็น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">7 หัวเมืองด้วย ซึ่งแต่ละหัวเมืองจะมีเหรียญเป็นของตัวเอง

นายอาหมัด ฟัตฮี อัล – ฟาตานี (Mr.Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani" ("ปาตานี": จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด "ปัตตานี") ซึ่งอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของรัฐปาตานีตั้งแต่ยุครุ่งเรืองมาจนกระทั่งแพ้สงครามและตกเป็นของสยาม โดยเฉพาะในยุคที่อังกฤษเข้ามายึดครองพื้นที่แหลมมาลายา ซึ่งขณะนั้นอังกฤษมองว่าปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของสยาม บวกความสามารถในทางการทูตของสยามที่เหนือกว่าปาตานี ทำให้ปาตานีตกเป็นของสยามไปในที่สุด