ปัตตานีเป็นเจ้าภาพประชุมสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม เผยสินเชื่อขนาดเล็กปลอดดอกเบี้ยระบบ Ar- Rahnu ขยายตัวใน 7 ประเทศ เปิดบริการ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">736 สาขาทั่วอาเซียน ในไทยมี 4 แห่ง สหกรณ์อิสลามปัตตานี เผยสร้างกำไร 30 ล้านบาท เงินหมุนเวียน 800 ล้านบาท
สินเชื่อรากหญ้า - พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สันติบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม (Ar- Rahnu) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2555
เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี สหกรณ์อิสลามปัตตานี mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">จำกัด ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานเลขาธิการสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Al-Rahnu Secretariat จัดประชุมใหญ่สันติบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม (Ar- Rahnu) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2012 เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้แก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับโปรแกรมธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม (Micro Credit) ตามแนวทาง Ar- Rahnu มีผู้เข้าร่วมจากประเทศในอาเซียนประมาณ 2,000 คน โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน
นายเด่น โต๊ะมีนา ประธานคณะกรรมการสหกรณ์อิสลามปัตตานี mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> จำกัด กล่าวรายงานว่า Ar- Rahnu คือ การดำเนินธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม โดยใช้ทองคำเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งที่ผ่านมาสหกรณ์ที่ใช้ระบบอิสลามในไทยรวมประมาณ 30 แห่ง ไม่มีสหกรณ์ใดเปิดบริการแผนก Ar- Rahnu ทางสหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด จึงเปิดแผนกนี้ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2542 เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่มีรายได้น้อย หรือขาดเงินทุนในการประกอบธุรกิจขนาดย่อม หรือขาดเงินในการให้การศึกษาแก่บุตรหลาน ให้สามารถใช้บริการได้สะดวก รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
นายเด่น รายงานอีกว่า แผนกนี้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของสมาชิกสหกรณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตั้งแต่ดำเนินการมาประมาณ 13 ปี สมาชิกใช้บริการ 44,274 คน หมุนเวียนใช้บริการรวม 103,401 คน และมีเงินกู้เป็นทุนหมุนเวียนถึง 2,866,410 บาท
นายเด่น รายงานอีกว่า สมาชิกได้ร้องขอให้เปิดบริการ Ar- Rahnu ในทุกอำเภอเพื่อความสะดวกในการใช้บริการ แต่สหกรณ์ยังไม่สามารถเปิดบริการได้ครบ เพราะต้องใช้เงินทุนมากพอสมควร และต้องใช้ตู้นิรภัยสำหรับเก็บทองคำที่สมาชิกนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน
นายเด่น รายงานต่อไปว่า ขณะนี้สหกรณ์เปิดบริการ Ar- Rahnu แล้ว 4 สาขา คือที่จังหวัดยะลา 1 สาขาและที่จังหวัดปัตตานี 3 สาขา มีสมาชิก 50,000 คน สหกรณ์มีกำไร 30 กว่าล้านบาท และมีทุนหมุนเวียนประมาณ 800 ล้านบาท
นายเด่น รายงานด้วยว่า ขณะนี้ในอาเซียนมีการเปิดบริการ Ar- Rahnu แล้วหลายประเทศ และได้ร่วมก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการ Ar-Rahnu ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 มีสมาชิกก่อตั้ง 7 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม ไทย สิงคโปร์ กัมพูชา และตีมอร์เลสเต้ เรียกว่า Sekretariat Ar-Rahnu Serantau
นายอาบีบุลลอฮ ฮัจยีซัมซุดดีน เลขาธิการสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม รายงานว่า การประชุมใหญ่ครั้งนี้ คือภาพสะท้อนของความมุ่งมั่นของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อทำความเข้าใจและให้ความร่วมมือในโครงการ "Times New Roman"">Ar-Rahnu ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินในรูปแบบอิสลามและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายอาบีบุลลอฮ รายงานด้วยว่า ขณะนี้สมาชิกของสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม ประกอบด้วย สหกรณ์อิสลามปัตตานี สถานธนานุบาลอินโดนีเซีย ธนาคารอิสลามแห่งบรูไนดารุสซาลาม สมาคมอิสลามแห่งประเทศกัมพูชา สมาคมอิสลามแห่งประเทศติมอร์เลสเต และมูลนิธิพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามมาเลเซีย ( mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">YaPEIM)
นายอาบีบุลลอฮ รายงานอีกว่า สันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อมก่อตั้งเปิดอย่างเป็นทางการ โดยนายนาจิบ รอซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน เมื่อปี "Times New Roman"">2547 เนื่องในโอกาสการจัดการประชุม Ar-Rahnu Serantau ที่จัดโดยมูลนิธิพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามมาเลเซีย (YaPEIM) มีการประชุมทุก 2 ปี
นายอาบีบุลลอฮ รายงานด้วยว่า ทุกวันนี้ธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม "Times New Roman"">Ar-Rahnu กำลังจะเปิดให้บริการ 736 สาขาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาขาที่ใหญ่ที่สุดที่รู้จักกันดี คือ สถานธนานุบาลอินโดนีเซีย (601 สาขา), มูลนิธิพัฒนาเศรษฐกิจอิสลามมาเลเซีย (130 สาขา) สหกรณ์อิสลามปัตตานี (4 สาขา) และธนาคารอิสลามประเทศบรูไนดารุสซาลาม (4 สาขา)
นายอาบีบุลลอฮ รายงานว่า ธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อม "Times New Roman"">Ar-Rahnu ได้ให้บริการมากกว่า 7.8 ล้านคน และให้เงินสินเชื่อรวมคิดเงินเป็น 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และหนึ่งในผลประโยชน์ของโครงการจำนองในรูปแบบอิสลามที่ใหญ่ที่สุดคือ การส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่ยังคงเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการด้วย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เมื่อเทียบกับเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ
นายอาบีบุลลอฮ รายงานว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นรูปแบบ “การเสริมสร้างโปรแกรม Makro Ar-Rahnu ส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยจะมุ่งเน้นการสนทนาในลักษณะของความพยายามที่จะรักษาวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักในกลุ่มสมาชิกของสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อมและผู้เข้าร่วมโครงการ Ar-Rahnu ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาจิตวิญญาณในการติดตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการทำงานของสันนิบาตธุรกรรมสินเชื่อขนาดย่อมในการแพร่กระจายพันธกิจทางสังคม
"Times New Roman"">