Skip to main content

เก็บบันทึกความรู้สันติภาพ จาก ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส และ ผศ.ดร.ศรีสมภาพ จิตร์ภิรมย์ศรี ตอนที่ 2 วันที่ 7 ต.ค.60 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Peace from Below สันติภาพจากข้างล่างขึ้นบน

Peace Movement against War/Pacifism การต่อต้านสงคราม

พูดถึง History peace movement ประวัติศาสตร์การสร้างสันติภาพ ว่าการต่อต้านสงคราม เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมสงคราม

War à change à industrialization ตัวอย่างเช่น ในอดีตทหาร 1 คน สามารถฆ่าศัตรูได้ 1 คน ต่อมามีการพัฒนาอาวุธขึ้นมาทำให้ทหาร 1 คนสามารถฆ่าได้หลายคน

ความคิดในการต่อด้านสงครามมาจาก 2 สาย คือ สายศาสนา สายความคิด/เหตุผล

ในสายศาสนา ศาสนาหลักในโลกทุกศาสนา มีแนวคิดเรื่องกรต่อต้านการใช้ความรุนแรง

Religious group เช่น

- Quaker Menonite นิกายหนึ่งในกรีซที่เน้นเรื่องสันติภาพ

- Buddish group

- Sufee tradition in Islam

นักคิดศาสนาคริสต์คนหนึ่ง คัดค้านการเกณฑ์ทหาร โดยเฉพาะใน ศ.19

ประวัติศาสตร์การต่อต้านสงคราม ใน ศ.19 จุดเริ่มต้นมาจากมีผู้สังเกตการณ์หลังสงครามจบใหม่ๆ เห็นความสูญเสียจากการใช้อาวุธหนักอย่างรุนแรง

มีนักคิดสันติภาพยุคแรกๆ มี 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน คือ

-Heney David Thoreau เข้าไปสังเกตการณ์สงครามระหว่างแมกซิโกกับ USA ในปี 1845 เห็นความสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงกลับมาเขียนเป็นหนังสือ แต่แทนที่เขาจะต่อต้านสงคราม กลับคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะให้สงครามมีอารยะขึ้นมา Movement for the Civilizing of war กำหนดหลักการ 2 ข้อ คือ 1.ห้ามทำสงคราม 2.สงครามมีได้ แต่ต้องมีกติกา ซึ่ง UN ได้ยึดหลักการนี้มาจนถึงปัจจุบัน

มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการทำสงครามคือ เมื่อสงครามยุติแล้ว ห้ามฆ่านักโทษหรือเชลยศึก หลักการนี้ใช้กับสงครามระหว่างรัฐ แต่ใช้ไม่ได้ในสงครามภายในรัฐ(ประเทศ) เพราะฉะนั้นจึงทำให้สงครามระหว่างมลรัฐใน USA หลังปี 1845 จึงมีการฆ่ากันอย่างเต็มที่ (เพราะเป็นสงครามภายในประเทศ)

-Henry Dunant เข้าไปสังเกตการณ์สงครามระหว่างออสเตรียกับอิตาลี มีคนตายเยอะ เขาคิดถึงหลักการปฏิบัติต่อเชลยศึก จึงกลายเป็นที่มาของ Red Cross Movement ต่อมาพัฒนาเป็นกาชาดสากล ICRC ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศรับรอง โดยเป็นองค์กรกึ่งรัฐ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้ง แต่ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม เข้าไปช่วยเมื่อเกิดสงคราม

-Bertha von Suttner ในช่วงปลาย ศ.19 ต้น ศ.20 เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมสงครามขยายตัว มีการใช้อาวุธร้ายแรง รวมทั้งอาวุธเคมี เป็นครั้งแรกที่เธอเสนอกฎการควบคุมอาวุธ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เธอเขียนหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งดังมาก ชื่อว่า Dawn of Weapon แปลว่าอาวุธจงพินาศ

The Hague Peace Conference ก็คือการประชุมสันติภาพที่กรงเฮก เพื่อสร้างข้อตกลงห้าใช้อาวุธสงครามบางชนิดที่ทำลายล้าง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ รัสเซียก็ประกาศว่าจะทำลายอาวุธเคมีชีวภาพทั้งหมด

-แนวคิดการต่อต้านสงครามเวียดนาม (1962-1972) เพราะ USA ใช้ฝนเหลืองในการทำสงครามกับเวียดนาม ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ USA ทำให้เกดการเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเวียดนามและการเคลื่อนไหวของนักสันติภาพ มีการเดินขบวนประท้วงทั่วโลก ผมเองก็มีส่วนในการเคลื่อนไหวครั้งนั้นด้วยในสมัยที่เป็นนักศึกษา ซึ่งเป็นบันได้ขั้นแรกสู่การเป็นนักสร้างสันติภาพในปัจจุบัน

-การเคลื่อนไหวต้อต้านสงครามนิวเคลียร์ (ในช่วงทศวรรษ 1950-1980) ซึ่งหลายประเทศมีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ จึงเกิดการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์และการเคลื่อนไหวของนักสันติภาพทั่วโลก เกิดสัญลักษณ์ต่อด้านนิวเคลียร์ ND

-Dilemma of Anti-war เกิดความย้อนแย้งในการต่อต้านสงคราม คือ จะจัดการอย่างไรกับความก้าวร้าวภายใน เช่น กรณีนาซี ในเยอรมนีนั้นจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อต้านหรือ รวมทั้งกรณี ISIS (กลุ่มรัฐอิสลามที่ใช้ความรุนแรง) จะยอมหรือที่จะไม่ทำสงครามต่อต้าน จะสร้างสันติภาพอย่างไรกับคนที่ไม่ต้องการสันติภาพ

ความย้อนแย้ง เช่น กรณี Las Vegas คนที่สะสมอาวุธไว้เพื่อป้องกันตัวทำให้เกิดความสันติได้เพราะคนไม่กล้ามาทำร้าย แต่ถ้าใช้อาวุธไปสังหารคนแล้วจะเกิดความสันติได้อย่างไร

เมื่อมีการสะสมอาวุธมากก็มีโอกาสที่จะใช้อาวุธนั้นมาก ผมเองกก้ต่อสู้กับความคิดนี้อยู่ว่า อะไรมาก่อนระหว่าง ต้องมีอาวุธก่อนจึงจะสันติ หรือต้องสร้างสังคมที่ก่อนจึงจะสันติ

อีกตัวอย่างคือ ที่สวิสเซอร์แลนด์ ทหารเกณฑ์ที่ปลอดประจำการแล้วสามารถนำอาวุธกลับบ้านได้ แต่กลับปรากฏว่าในสวิสเซอร์แลนด์มีคดีอาชญากรรมน้อยมาก ต่างจาก USA มาก

คำถามคือ ความสันติไม่ใช่อยู่ที่อาวุธหรือเปล่า หรืออยู่ที่ความคิด วินัย ค่านิยมของคนในสังคมนั้นๆ

มี 3 ทฤษฎีในการมอง สันติภาพและสงคราม คือ

1.ในช่วง 3 พันปีที่ผ่านมา มีความสงบทำให้เกิดอารยธรรม

2.ในช่วง 3 พันปีที่ผ่านมาเกิดสงครามมาตลอด แต่ก็เกิดอารยธรรม

3.ในช่วง 3 พันปีที่ผ่านมามีสงครามมาตลอด แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง 2) ความสูญเสียจากความขัดแย้งลดลง แต่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

ในสวิสเซอร์แลนด์เมื่อ 60-200 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งออกทหารไปรบจำนวนมา ทั้งการไปรับจ้างรบและไปเป็นอาสาสมัครทำสงคราม เพราะตอนนั้นสวิสเป็นประเทศยากจน เช่น ไปเป็นทหารรับจ้างให้กับนครรัฐวาติกัน ปัจจุบันทหารวาติกันมาจากสวิส ที่เป็นเช่นนั้น เพราะสวิสมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง จึงตัดสินใจเรื่องนี้ได้

 

คลิกอ่าน #ห้องเรียนสันติภาพ (1) Traditional Approaches from Above. การสร้างสันติภาพจากบนลงล่าง (แบบเก่า)