Skip to main content

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (CSCD)

และ

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)

 

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนในกิจกรรม

วงเวียนวิจัย ครั้งที่ 2

หัวข้อ

 

(พรรค)การเมือง

การเลือกตั้ง

และชายแดนใต้

Political (Parties), Election and the Deep South

 

โดย

 

ดวงยิหวา อุตรสินธุ์

อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

และ

อิมรอน ซาเหาะ

เจ้าหน้าที่/นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

นำอภิปรายโดย

 

มูฮำมัดซุลฮัน ลามะทา

อดีตกรรมการนโยบายพรรคชาติไทยพัฒนา

นักศึกษาปริญญาเอกสาขาการจัดการองค์กร University Utara Malaysia

 

 

วันที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 13.30 – 16.30 น.

ณ ห้องประชุมศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

อาคารเรือนพักรับรอง มอ.ปัตตานี

 

(ถ่ายทอดสดเป็นบางช่วงผ่านทาง Facebook.com/deepsouthwatch)

 

 

 

ประเด็นนำเสนอ

 

การเมืองเรื่องสามจังหวัด: ทหารธิปไตยหรือประชาธิป(ไทย)?
ดวงยิหวา อุตรสินธุ์
อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
 
A person posing for the camera</p>
<p>Description generated with very high confidence
 
การนำเสนองานชิ้นนี้เป็นการอ้างอิงข้อมูลส่วนหนึ่งจากดุษฎีนิพนธ์ของเธอที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในหัวข้อ “Voices and Votes amid Violence: The Case of Thailand's Deep South” (เสียงและคะแนนเสียงในห้วงความรุนแรง: กรณีศึกษาชายแดนใต้ของประเทศไทย) ซึ่งว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของความรุนแรงโดยใช้กรณีศึกษาของการเลือกตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2554 แก่นของข้อถกเถียงในการนำเสนอครั้งนี้จะมองว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนในพื้นที่สามจังหวัดฯ ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง หากแต่อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยและการสร้างความสงบและสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นผลมาจากการทำรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ แม้ว่าพื้นที่สามจังหวัดฯ จะมีความซับซ้อนทางการเมืองที่ต่างจากจังหวัดอื่น ๆ เพราะมีปัจจัยเรื่องศาสนา ชาติพันธุ์ และความรุนแรงมาเกี่ยวข้อง แต่การเลือกตั้งในพื้นที่แห่งนี้ก็ยังจำเป็นที่จะต้องยึดโยงเกี่ยวเนื่องกับการเมืองไทยระดับชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
พรรค(นัก)การเมืองมุสลิมในประเทศไทย: บทสนทนาระหว่างอิสลามและประชาธิปไตยกับทางเลือกในการต่อสู้
อิมรอน ซาเหาะ
เจ้าหน้าที่/นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี
 
A person wearing a hat</p>
<p>Description generated with very high confidence
 
ตั้งต้นจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขาในชื่อ “แนวคิดอิสลามการเมืองและสันติภาพของพรรคการเมืองมุสลิมในประเทศไทย” สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษา สถาบันสันติ ม.อ.หาดใหญ่ ที่ศึกษาพรรคการเมืองมุสลิมที่เคลื่อนไหวในช่วงปี 2556-2558 และพบว่าในบางเงื่อนไข มุสลิมจำเป็นต้องใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการต่อรองทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งแห่งที่ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย นักการเมืองเหล่านี้ก็ไม่สามารถปรับใช้หลักการสู่การปฏิบัติได้ตามที่คาดหวัง ขณะนี้เขากำลังทำวิจัยต่อเนื่องในหัวข้อ “พลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้” โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งจะเน้นศึกษานักการเมืองมลายูมุสลิมที่มีโอกาสเข้าสู่ตำแหน่งการเมืองในระดับชาติตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา รวมถึงการประเมินแนวทางประชาธิปไตยในการเลือกตั้งอันใกล้นี้ในฐานะทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์
Event date

Event place