คำนำ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิขององค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ขอขอบคุณต่อเอกองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา พระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทรงประทานความสำเร็จในการทำรายงานฉบับนี้ ญามาอะห์อันนูรถือว่าเป็นกลุ่มฟื้นฟูอิสลามกลุ่มหนึ่งที่ถูกยอมรับโดยทั่วโลกว่าเป็นกลุ่มฟื้นฟูที่ประสบความสำเร็จมากกว่ากลุ่มอื่นๆในยุคปัจจุบัน ที่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ ในประเทศตุรกี และมีวิธีการเผยแผ่อัลอิสลามที่เป็นแบบอย่างคล้ายท่านนบีมุหัมมัดของเรามากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ซึ้งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชานักคิดและกลุ่มฟื้นฟูอิสลาม โดยรายงานฉบับนี้ มีความมุ่งหมายที่จะให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของญามาอะห์อันนูร ที่ต้องการฟื้นฟูหลักการอิสลามกลับมาใช้อีกครั้งในประเทศตุรกี ให้อยู่บนเส้นทางที่เที่ยงตรง ตามแบบอย่างท่านนบี เพื่อนำมวลมนุษยชาติไปสู่ความเราะห์มัตของเอกองค์อัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลา
สุดท้ายคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากในการค้นคว้าและเรียบเรียงรายงานฉบับนี้ ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ เราขอนอบน้อมรับด้วยความยินดี และจะเป็นวิทยาทานอันหามิได้ ถ้าท่านผู้รู้จะได้แจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป และศึกษาเพิ่มเติมและสมบูรณ์
ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามในตุรกี
ญามาอะห์อันนูร
1.มารู้จักกับดินแดนประเทศตุรกีปัจจุบันและเหตุการณ์สำคัญๆ
ชื่อเดิมกรุงคอสแสตนติโนเปิล ชื่อใหม่มีชื่อว่า “อิสลามบูล” แปลว่าเมืองอิสลาม หลังจากนั้นก็เปลี่ยนใหม่อีกเป็น อิสตันบูล แปลว่า “ภูเขาเจ็ดลูก” ทั้งนี้เพราะอิสตันบูลตั้งอยู่บนภูเขาเจ็ดลูก กรุงคอนสแตนติโนเปิลเคยเป็นเมืองหลวงของ 3 มหาอาณาจักรในอดีต นั่นคือ อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไทน์ และอาณาจักรออตโตมาน เป็นดินแดนที่ติดกับสามทวีป อาทิ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย
 |
อาณาจักรโรมัน |
 |
อาณาจักรไบเซนต์ไทน |
 |
อาณาจักรออตโตมาน |
1.1 มารู้จักกับสุลฏอน มูฮัมหมัดอัลฟาติฮ
1. กำเนิดสุลต่านมุหัมมัด
ท่านคือสุลต่านมุหัมมัด บุตร สุลต่านมุรอด บุตร สุลต่านมุหัมมัดที่ 1 ประสูตเมื่อวันที่ 26 เดือนรอญับ ปี 833 ฮ.ศ. ขึ้นครองราชย์ หลังจากการเสียชีวิตของบิดาเมื่อปี 855 ฮ.ศ. ในขณะที่มีอายุได้เพียง 22 ปี ก่อนหน้าที่สุลต่านมุหัมมัดจะขึ้นครองราชย์ ท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่านแทนผู้เป็นบิดาแล้วถึงสองครั้ง ต่อมาก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ณ เมืองแมกนีเซีย และยังเคยออกศึกพร้อมกับผู้เป็นบิดาในครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองอิสกันดารและโฮเนียดหรือออสเตรีย.
2. บุคลิกของสุลต่านมุหัมมัด
นักประวัติศาสตร์ต่างมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าสุลต่านมุหัมมัดที่ 2 นี้ เป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานคนหนึ่งที่มีจริยธรรมที่สูงส่งตั้งแต่ยังเยาว์ สุลต่านได้รับการอบรมและการศึกษาจากบรรดาอุลามาอฺผู้โด่งดังในสมัยนั้น โดยเฉพาะเชคอากชำสุดดีน และเชคมุลลาโกรอนีย์ ซึ่งท่านทั้งมีบทบาทอย่างมากในการปลูกฝังนิสัยของสุลต่านมุหัมมัด สุลต่านเป็นคนที่ชอบศึกษาด้านภาษาต่างๆ เป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการพูดปราศรัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาตุรกี พร้อมกันนี้สุลต่านยังเก่งและแตกฉานด้านภาษาอาหรับ เปอร์เซีย
กรีก อิบรู และภาษาอิตาลี. สุลต่านเป็นคนที่ชอบอ่านคำกลอนเปอร์เซีย และกรีก จนท่านกลายเป็นนักกลอนที่ดีคนหนึ่ง สุลต่านยังเป็นคนที่มีนิสัยชอบศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา ประวัติศาสตร์ ตั้งแต่อายุยังเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวประวัติคนสำคัญๆ และการสู้รบ ประวัติจักรพรรดิไกเซอร์ และอื่นๆ. สุลต่านชอบศึกษาเกี่ยวกับการสงครามที่มีเล่ห์เหลี่ยม หลอกล่อ อาวุธการต่อสู้ การวางแผนการรบ และการจัดเสบียงอาหารในสนามรบ เป็นต้น.
สุลต่านมุหัมมัดเป็นคนที่มีนิสัยชอบทำสวนในเวลาที่ว่างจากการสงคราม สุลต่านจะใช้เวลาว่างของท่านให้หมดไปกับการทำสวนในเขตพระราชวัง ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ และอื่นๆ ถึงกระนั้นสุลต่านยังคงมีใจรักการวางแผนและระเบียบไม่ว่าในด้านการบริหารหรือการทหารในช่วงที่สุลต่านมุหัมมัดสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานนั้น ประเทศในแถบเอเซียน้อยส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลามออตโตมานแล้ว ยกเว้นบางส่วนของประเทศกอรมาน ประเทศสีนูบ และประเทศเตาะรอบะซูน ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำเท่านั้น ส่วนใหญ่ในแถบยุโรปนั้นประเทศที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตก็มีเพียงกรุงคอนสแตนติโนเปิลและประเทศใกล้เคียงเท่านั้น. ส่วนประชากรโลกในขณะนั้น (ปี 1453 ค.ศ.) ยังมีไม่มากเหมือยอย่างปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 400,000,000 คน โดยจำแนกได้ดังนี้คือ ประมาณ 275,000,000 อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย อีกประมาณ 70,000,000 อาศัยอยู่ในแถบยุโรป อีกประมาณ 40,000,000 อาศัยอยู่ในแถบอัฟริกา และอีกประมาณ 15,000,000 อาศัยอยู่ในแถบอเมริกา (http://gotoknow.org/blog/abduloh/82597)


1.2 มารู้จักับสุลต่านอับดุลฮามิดที่2
ขออุทิศหน้ากระดาษแผ่นนี้ เพื่อปกป้องสุลต่าน อับดุลฮามิด ที่ 2 โดยมัรยัม ญามีละฮ
"จนกว่าอาณาจักรออตโตมานจะแตกสลาย และตำแหน่งคอลีฟะฮฺจะถูกทำลายเท่านั้น ยิวถึงจะอ้างสิทธิในปาเลสไตน์"
ในประวัติศาสตร์ของโลกมุสลิมยุคนี้ ไม่มีผู้ปกครองมุสลิมคนไหนที่ถูกเข้าใจผิด และถูกใส่ร้ายป้ายสีมากไปกว่า สุลต่านอับดุลฮามิด ที่ 2 ซึ่งปกครองตุรกี และถูกพวกเติร์กโค่นอำนาจลงใน ค.ศ.1909
ในยุโรป และอเมริกา สุลต่านอับดุลฮามิดเป็นที่รู้จักกันในฉายาว่า "อับดุล ไอ้ฉิบหาย" นอกจากนี้แล้ว นักประวัติศาสตร์ตะวันตก (โดยเฉพาะชาวอังกฤษ) ยังเรียกพระองค์ว่า "ทรราชย์" , "เผด็จการ" , "จอมสกปรก" , "จอมโหด" และ "ไอ้บ้า" อีกด้วย พระองค์ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปกครองที่มีแต่การคอรัปชั่น และอาฆาตพยาบาทพวกที่มิใช่มุสลิม และพวกที่ไม่ใช่ชาวเติร์ก แต่ที่สำคัญที่สุดคือ พระองค์ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รับผิดชอบการฆ่าหมู่ชาวอาร์เมเนีย
ดังนั้น ต่อไปนี้จึงขอให้เราพิจารณาจากจุดยืนของมุสลิมเติร์กว่า ข้อกล่าวหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานั้นเป็นจริงแค่ไหน และมีเหตุผลอะไรที่ทำให้พระองค์เป็นที่ชิงชังในตะวันตก
สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ขึ้นมามีอำนาจในตอนที่อาณาจักรออตโตมาน (หรืออุษมานียะฮฺ-ผู้นำเสนอ) กำลังจะแตกสลาย เพราะแรงกดดันจากภายนอก และความผุพังจากภายในเอง และเนื่องจากว่าในตอนนั้นตุรกี (หมายถึง อาณาจักรอุษมานียะฮฺนั่นเอง-ผู้นำเสนอ) เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือสุดในโลกมุสลิม ดังนั้น คริสจักรจึงช่วยกันสาปแช่งให้รัฐสุลต่านแห่งตุรกีล้มสลายไปในเร็ววันเร็วคืน นับตั้งแต่พวกเติร์กยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อดีตเมืองหลวงแห่งอาณาจักรไบแซนติน ซึ่งทายาทโรมัน และถือเป็นศูนย์กลางแห่งคริสจักรโรมันคาธอลิกก็ว่าได้-ผู้นำเสนอ) ได้ใน ค.ศ.1453 แล้ว พวกยุโรปคริส เตียนก็ได้พยายามหาทางที่จะทำลายอาณาจักรออตโตมานอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกนี้มีความเชื่อมั่นว่า ถ้าหากพวกเติร์กถูกทำลายลงแล้ว อิสลามก็จะถูกทำลายลงด้วยเช่นเดียวกัน
ระหว่างศตวรรษที่ 19 ศัตรูที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรออตโตมานก็คือ รัสเซีย และอังกฤษ ซึ่งร่วมมือกันทำสงครามไครเมียกับตุรกี ใน ค.ศ.1859 โดยหวังว่า ถ้าหากเอาชนะ "คนไข้แห่งยุโรป" (หมายถึง ประเทศตุรกีในตอนนั้น) ได้แล้ว ก็จะแบ่งผลประโยชน์ในตุรกีระหว่างกัน แต่เมื่อรัสเซียและอังกฤษไม่สามารถจะใช้พลังภายนอกทำลายอาณาจักรออตโตมานได้ลงได้ พวกนี้จึงได้มาคิดทำลายจากภายใน
ในเวลานั้น พื้นฐานปรัชญาทางการเมืองของอาณาจักรออตโตมานเป็น "ระบบมิลละฮฺ" ซึ่งเป็นระบบที่ประสานคนเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และลัทธิต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยคยแต่ละกลุ่มเหล่านี้จะมีสิทธิในการดำรงชีวิตเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ตราบใดที่พวกออตโตมานยังมีอำนาจสูงสุดอยู่ ความคิดเรื่องชาตินิยมของพวกตะวันตกก็ไม่สามารถที่จะแทรกแซงเข้ามาบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติได้ ในแผ่นดินอิสลาม ชาวอาหรับเคริ์ด และเติร์กจะสมัครสมานสามัคคี และมีความมีความเชื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วนพวกกรีก เซิร์บ อาร์เมเนีย และชนกลุ่มน้อยคริสเตียนอื่นๆ จะได้รับความเป็นธรรมตามหลักกฎหมายอิสลามอย่างเสมอภาค แต่ทุกกลุ่มต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออำนาจของออตโตมาน เริ่มเสื่อมทรุด อังกฤษ รัสเซีย และอเมริกาก็มีโอกาสแทรกแซงเข้ามายุ่งในเรื่องของกิจการภายในมากขึ้นทุกที
ภายใต้ข้ออ้างว่าเพื่อ "ปกป้อง" ชนกลุ่มน้อยคริสเตียนท้องถิ่น ที่อยู่กันอย่างสงบมาเป็นเวลาศตวรรษ โดยที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไร พวกจักรวรรดินิยมได้ใช้อาวุธโฆษณาชวนเชื่อทุกอย่างที่ตนมีอยู่ ปลุกเร้าให้คนเหล่านี้เกลียดชังเติร์กมุสลิม และสนับสนุนให้คนพวกนี้เป็นกบฏต่อรัฐบาลด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ คนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่ม อันได้แก่ พวกกรีก เซิร์บ อาร์เมเนีย ยิว อาหรับ และเคิร์ด ได้ถูกพวกตัวแทนต่างชาติหลอกให้กลายเป็นพวกก่อการโค่นล้มการปกครองกันไปหมด และเพื่อทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง พวก "ปัญญาชน" ก็ได้เสนอว่าทางรอดของตุรกีนั้น มีอยู่ทางเดียวคือ การรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ภายในประเทศ และผลจากความคิดที่เกิดจากการวางแผนของจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะพวกฟรีเมสันก็คือ ตุรกีต้องวุ่นวายไปทั่วประเทศ
สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้อุทิศชีวิตของพระองค์เป็นเวลา 30 ปี ในการรักษาตุรกีไว้จากการถูกทำลาย ถ้าไม่นับพวกมะฮฺดีในซูดานแล้ว พระองค์เป็นผู้ปกครองมุสลิมคนเดียวในยุคนั้นที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเลย และพระองค์ก็ทำสำเร็จด้วยเหตุที่พระองค์สามารถทำลายแผนการชั่วร้ายของพวกจักรวรรดินิยมต่างชาติ และพวกฟรีเมสันได้นี่เองที่เป็นสาเหตุว่า ทำไมศัตรูของพระองค์จึงเกลียดพระองค์เหลือเกิน
สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ถูกกล่าวหาว่า "คอรัปชั่น" อีกในปี ค.ศ.1899 เมื่อ ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล ผู้ก่อตั้งลัทธิไซออนิสต์สากลได้พยายามติดสินบนพระองค์ด้วยเงินจำนวนมหาศาล เพื่อให้พระองค์ยกปาเลสไตน์ให้แก่พวกยิว แต่พระองค์ได้ตอบกลับไปอย่างไม่เกรงกลัวว่า "จนกว่าอาณาจักรออตโตมานจะแตกสลาย และตำแหน่งคอลีฟะฮฺจะถูกทำลายเท่านั้น ยิวถึงจะอ้างสิทธิในปาเลสไตน์" ดังนั้น พระองค์จึงถูกโจมตีอย่างหนักทั้งที่ตลอดสมัยการปกครองของพระองค์เป็นเวลา 30 ปีนั้น ตุรกีไม่เคยสูญเสียดินแดนของตน (ให้ศัตรู-ผู้นำเสนอ) แม้แต่เพียงเท่าฝ่ามือ
เมื่อพระองค์พยายามที่จะรักษาคุณค่าของอิสลามไว้ พวกตะวันตกก็กล่าวหาว่าพระองค์ดำเนินนโยบายเผด็จการบ้าง ทรราชย์บ้าง ก็แล้วพวกยังเติร์กขี้ข้าตะวันตกที่ชึ้นมามีอำนาจหลังจากพระองค์นั้น สามารถทำได้ดีกว่าพระองค์ไหม? ด้วยการคุ้มครอง และการสนับสนุนอย่างเป็นทางการของอังกฤษ อเมริกา และรัสเซีย พวกหมอสอนศาสนาคริสเตียน และพวกฟรีเมสัน ได้ยั่วยุให้คนกลุ่มน้อยเกลียดชัง และทำการกบฏต่อรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลถูกบังคับให้ต้องดำเนินมาตรการที่เฉียบขาดต่อคนพวกนี้ พวกหมอสอนศาสนาเหล่านี้ก็เพียงแต่ทำหน้าที่เช็ดน้ำตาแห่งชะตากรรมให้แก่คนเหล่านี้เท่านั้น (หาได้ร่วมกับความเจ็บปวดของพวกเขาไม่-ผู้นำเสนอ)
การที่สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ต้องดำเนินมาตรการเฉียบขาดรุนแรงนั้น ก็เพราะว่าประชาชนไม่เปิดโอกาสให้พระองค์มีทางเลือกนั่นเอง
1.3 มารู้จักกับมุสตอฟา กามาล
มุสตอฟา กะมาล ถือกำเนิดในเมืองซ่าลานีก เมื่อปีค.ศ. 1880 จากสตรีผู้หนึ่งที่นามว่า ซุไบดะห์ สามีของนางก็คือ อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ (คำว่า อะฟันดีย์ หมายถึง นาย (ซัยยิด)) ซึ่งนักประวัติศาสตร์นำเสนอว่า บุคคลผู้นี้คือบิดาของมุสตอฟา กะมาล
อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ เคยรับราชการในกองทหารรักษาพระองค์ซึ่งถูกตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1876 ในเมืองซ่าลานีก ขณะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก โดย อะลี ริฏอ มียศพันเอก ในกองทหารรักษาพระองค์
มุสตอฟา กะมาล มีผมสีทอง (บลอนด์) เหมือนไหมข้าวโพด มีดวงตาสองข้างเป็นสีฟ้า ปลายคิ้วหยัก ริมฝีปากบางเหมือนใบมีดโกน ใบหน้ามีโครงใหญ่เห็นโหนกแก้มชัดเจน หน้าผากกว้าง คางเป็นรูปสี่เหลี่ยม ศีรษะยาวจากหน้าจรดด้านหลัง รูปทรงศีรษะเช่นนี้เรียกว่า “ดอลลี่ กอสปาล” รูปพรรณสัณฐานเช่นนี้ไม่เหมือนกับชนชาติใดในกลุ่มชาติพันธุ์เติร์ก (ตุรกี) (อัรร่อญุล อัซซ่อนัม หน้า 35) แล้วถ้าเช่นนั้นเขาเป็นใครกัน? ไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ ในมุมกลับหากแต่เป็นไปได้ที่จะกล่าวอย่างมั่นใจและด้วยการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะค้นพบตัวอย่างอื่นที่มีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์ตุรกีมากไปกว่าบุคคลผู้นี้ในด้านมานุษยวิทยา ผู้ที่เคยพินิจพิเคราะห์ดูรูปถ่ายผู้เป็นแม่ของ มุสตอฟา กะมาล ในยามที่นางแก่ชรา ย่อมจะเห็นถึงความคล้ายคลึงหรือเค้าที่เหมือนกันระหว่างแม่กับลูก เว้นเสียแต่ว่านางสุไบดะห์ผู้เป็นแม่ของมุสตอฟานั้นมิได้มีผิวพรรณเหมือนคนขาวที่มีผมสีบลอนด์
กล่าวกันว่า แม่ของมุสตอฟามีเชื้อสาย “เตอร์กะเมน” (ตุรกุมาน) (เป็นเผ่าตุรกีเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในตุรกีสถาน , อิหร่าน และอัฟกานิสถาน) ซึ่งเรียกกันว่า “พวกยูรูก” ที่อพยพมาจากเมือง กูเนีย (กูนียะห์) (เป็นเมืองเก่าแก่ของตุรกีในอนาโตเลีย เคยเป็นราชธานีของพวกซัลญก รูม ระหว่างปี ค.ศ. 1081 – 1302) หรือไม่ก็เมืองอัยดีน (Aydin) สู่แคว้นรูมิลลี่ (หรืออัรรูมิลลี่ย์) (ชาวอุษมานียะห์เรียกแคว้นตารอเกียฮ์และมาซิโดเนีย (มักโดเนีย) ในบอลข่านว่า อัรรูมิลลีย์)
ในทำนองเดียวกัน ใครได้มองดูรูปภาพของผู้เป็นพ่อของมุสตอฟา ซึ่งมีอยู่ใบเดียวและถูกถ่ายไว้ในระหว่างการสวนสนาม ก็จะเห็นว่าบุคคลผู้นี้หาใช่คนผิวขาวที่มีผมสีบลอนด์ไม่ ที่สำคัญรูปภาพที่ว่านี้ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาให้มุสตอฟา เขาก็ปฏิเสธว่าชายในรูปมิใช่พ่อของตน
ฟาลิฮ์ ริฟกีย์ ซึ่งคอยติดตามมุสตอฟาชนิดที่ว่าไม่เคยห่าง และบุคคลผู้นี้จะได้จดบันทึกเรื่องราวของมุสตอฟาได้ยืนยันถึงเรื่องนี้ว่า : โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีบุคคลที่พยายามอุปโลกและอ้างเชื้อสายเก่าแก่ให้กับบรรดาผู้นำซึ่งมีบทบาทเด่นชัดในดินแดนตะวันออกเสมอๆ อย่างไรก็ตาม มุสตอฟา กะมาล ก็หาได้ผูกพันหรือสนใจใยดีกับบรรพบุรุษของตนไม่ ทั้งๆ ที่ได้มีนายทหารคนหนึ่งที่รับราชการอยู่ในกองทหารรักษาพระองค์ซึ่งถูกตั้งขึ้นในเมืองซ่าลานีก เมื่อปี ค.ศ. 1876 ในคราวรำลึกถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแม่บทของจักรวรรดิอุษมานียะห์ นายทหารผู้นั้นได้อ้างว่าตนคือบิดาของของ มุสตอฟา กะมาล นอกเสียจากว่าเมื่อรูปของนายทหารผู้นี้ได้ถูกตัดออกจากรูปที่มีคนอื่นร่วมถ่ายภาพอยู่ด้วยแล้วนำไปขยายพร้อมทั้งมอบให้แก่มุสตอฟา โดยหวังว่ามุสตอฟาจะมีความภาคภูมิใจที่พ่อของเขามีส่วนร่วมในกลุ่มผู้รักชาติซึ่งมีอุดมการณ์ช่วยเหลือกลุ่มแนวร่วมรณรงค์ศึกในอิสตันบูล แต่แล้วเมื่อภาพนั้นได้ปรากฏเบื้องหน้า มุสตอฟา กะมาล ก็ไม่เชื่อ และมีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้าเองได้ยินกับหูว่า มุสตอฟา พูดในทำนองดูแคลนว่า “ชายในรูปไม่ใช่พ่อของตน” (กิตาบ ฮันกอยา คัดลอกจาก อัรร่อญูล อัซซ่อนัม)
ดร.ริฏอ นูร ซึ่งเป็นเพื่อนของมุสตอฟา กะมาล และคอยสนับสนุนช่วยเหลือมุสตอฟามาโดยตลอดในช่วงของการต่อสู้ ก็กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ “
ชีวิตและความทรงจำของข้าพเจ้า”
ว่า : มีนักศึกษาคนหนึ่งชื่อ มุสตอฟา กะมาล ได้มาสมัครเรียนที่โรงเรียนนายร้อยกองทัพบก ในเมืองซ่าลานีก นักศึกษาผู้นี้เป็นบุตรบุญธรรมของนายทหารรักษาความปลอดภัยคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในสำนักงานศุลกากรของเมืองซ่าลานีก มีชื่อว่า อะลี ริฎอ อะฟันดีย์ และข้าพเจ้าจำได้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง มุสตอฟา กะมาล ได้เคยพูดกับเพื่อนสนิทของเขาว่า : เขาเป็นชาวสล๊าฟ (สลาฟีย์-รุสเซียน) (
http://www.thaigoodview.com/node/47425)
2.ญามาอะห์อันนูร
 |
ซะอี้ด นุรซีย์ หรือบาดีอ อุซซามาน |
2.1 ผู้ก่อตั้งซะอี้ด นุรซีย์ หรือบาดีอ อุซซามาน
บุคคลสำคัญในการฟื้นฟูอิสลามรุ่นแรกๆที่คนตุรกีและโลกอิสลามรู้จักดีคือ เบดีอุซซามาน สะอี๊ด นูรซี นักวิชาการศาสนาและเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณที่ต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก รุ่นเดียวกับอุมัรฺ มุคตาร์ ครูสอนศาสนาท้องถิ่นที่นำมุสลิมในลิเบียขี่ม้าเข้าต่อสู้กับกองทัพรถถังของอิตาลีอย่างดุเดือด และในที่สุดก็ได้เป็นผู้พลีชีพโดยการถูกจับแขวนคอ บะดีอุซซะมาน ซะอีด อัลนูรซีย์ มีชีวิตอยู่ในยุคของสุลตาน อับดุลฮามีดที่สอง ช่วงปลายของอณาจักรอุษมานียะฮฺที่กำลังจะล่มสลาย และท่านก็มีชีวิตอยู่ในช่วงที่ศัตรูแห่งอิสลามกำลังรวมหัวและร่วมมือกันจัดการกับอาณาจักรอุษมานียะฮฺ หลังจากที่สุลตานได้สละอำนาจ พวกอิตติฮาดียยูน (รัฐบาลกลาง หลังจากล้มเลิกการปกครองแบบรัฐอิสลาม) ก็ได้มาพร้อมกับสุลตาน มุหัมหมัด รอชาด และได้นำอาณาจักรอุษมานียะฮฺเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในท้ายที่สุดแล้ว ก็ได้นำพาไปสู่การฉีกอาณาจักรอิสลามออกเป็นชิ้นๆ ผู้นำของพวก อิตติฮาดิยยูน ก็หลบหนีออกนอกประเทศทิ้งให้อุมมะฮฺทนทุกข์ทรมานกับผลแห่งสงครามอันทำลายล้างซึ่งทำให้รัฐตกอยู่ภายใต้การรุกรานของคนต่างชาติ และสุลตานมุฮัมหมัด วะฮีด อัลดีน ก็ได้มาในขณะที่อาณาจักรแพ้สงครามและอังกฤษ กรีก อิตาลี อาร์มีเนีย ก็ยึดครองแว่นแคว้นต่างๆของตุรกี แม้กระทั่งอิสตันบูลเองก็อยู่ในการครอบครองของอังกฤษ หรือก็คือสุลตานนั้นในความเป็นจริงแล้วเป็นเชลยในเงื้อมมือของอังกฤษ
ประชาชนชาวตุรกีนั้นไม่ได้ครอบครองสิ่งใดเลยนอกจากความศรัทธาที่หยั่งรากลึกท้าทายพายุที่โหมกระหน่ำ และด้วยอีหม่านนั่นเองที่พวกเขาได้รับการปกป้องจากแผนการของศัตรูและสงครามของพวกล่าอาณานิคม และพวกเขาได้ผนึกกำลังเท่าที่ยังคงเหลืออยู่ของพวกเขา และเตรียมการที่จะทำสงครามเพื่อการปลดปล่อย ที่เรียกว่า "อัลฮัรบฺ อัลอิสติกฺลาล" แต่ทว่า.. ยังไม่ทันที่จะได้ดำเนินการใดๆ การรุกรานต่ออิสลามก็ได้เริ่มขึ้น มีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะถอดถอนอิหม่านอันหนักแน่นมั่นคงอยู่ในหัวใจของประชาชาติอิสลามออกไป
ณ เวลานี้เอง อันเป็นทางโค้งที่อันตรายในชีวิตของอุมมะฮฺ และเป็นช่วงเวลาที่น่าหวาดกลัวและเขย่าขวัญของชีวิตแห่งสังคมทั้งหมด บะดีอุซซะมานก็ได้ปรากฏตัวขึ้นเพื่อแบกรับความทุกข์ระทมของประชาชาติ และเพื่อนำพาสาส์น "การปกป้องอิหม่านให้ปลอดภัย" (إنقاذ الإيمان) ซึ่งท่านได้ทำการนะซัรด้วยตัวของท่านเอง ในขณะที่ชีวิตของท่านห่างไกลจากสนามการเมือง และท่านได้เริ่มเขียน "สาส์นแห่งรัศมี" (رسائل النور) และได้เผยแพร่สู่ชนชั้นต่างๆ ของอุมมะฮฺภายใต้สถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนและยากลำบากอย่างสุดขีด เพื่อเตรียมสังคมแห่งอิสลามที่สมบูรณ์แบบอันเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิตและความศรัทธาการถือกำเนิดของท่าน
ในตอนต้นของฮิจเราะฮฺศตวรรษที่ผ่านมา 1293 (ค.ศ. 1876) ณ ตำบล นูรส์ ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน ทารกคนหนึ่งได้ถือกำเนิดมาจากพ่อแม่ที่เป็นที่รู้จักในตำบลถึงความเป็นแบบอย่างในการเคร่งครัด ทารกนั้นนามว่า ซะอีด
2.1.1 การศึกษา
ซะอีดยังคงเข้าร่วมกับกลุ่มของนักปราชญ์และมิตรสหายที่มีความรู้ที่มีอยู่ตำบล นูรซ์ ท่านมีความรอบรู้ในทุกสาขาวิชาที่ได้เล่าเรียน จนกระทั่งไม่ว่าสถาบันใดที่ท่านได้เดินทางไป ท่านก็ไม่อาจพบสิ่งที่จะสามารถตอบสนองความกระหายในวิชาความรู้ของท่านได้อีก ดังนั้นการที่ท่านยังคงอยู่ในสถาบันเหล่านั้นก็เป็นไปตามสภาพการณ์เท่านั้น เพราะท่านกระหายที่จะเพิ่มพูนวิชาความรู้ที่เป็น อัลฮักก์ และท่านก็ยังคงย้ายสถาบันแล้วสถาบันเล่า และอาลิมคนแล้วคนเล่า เมื่อท่านไม่พบว่าสิ่งที่จะให้ประโยชน์กับท่าน ณ ที่บรรดาคณาจารย์ของท่านอีก ท่านก็ได้เริ่มศึกษาด้วยความเพียรพยายามของท่านเอง และท่านก็ได้ดื่มด่ำกับสิ่งที่มีอยู่ในหนังสือแม่บทต่างๆที่มีอยู่มากมายในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นตัฟซีร หะดีษ นะฮฺว์ อิลมุลกะลาม ฟิกฮฺ และมันติก ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมในการท่องจำหาตัวจับได้ยาก เมื่อสายตาของท่านได้ทอดไปตามวิชาการเหล่านั้นท่านก็ท่องจำมันจนขึ้นใจ จนกระทั่งว่า ท่านท่องจำหนังสือที่เป็นแม่บทต่างๆ เกือบเก้าสิบเล่ม และด้วยความยอดเยี่ยมในวิชาการอันกว้างขวางซึ่งท่านได้พากเพียรขวนขวายแต่วัยเยาว์ ท่านก็ได้เข้าร่วมการเสวนาทางวิชาการกับบรรดาอุละมาอฮฺ และก็ได้มีมัจลิสมากมายที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ท่านได้เสวนากับบรรดาเชคและอุละมาอฺต่างๆ ในย่านนั้น จนกระทั่งชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และในปี ฮ.ศ. 1314 หรือ ค.ศ.1897 ท่านได้เดินทางไปยังมือ แวน (Van) ณ ที่นั้น ท่านได้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำการศึกษาให้ลึกซึ้งทางด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ จนกระทั่งท่านเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเหล่านั้นถึงระดับที่สามารถแต่งหนังสือได้ ดังนั้น ท่านจึงถูกตั้งฉายาว่า บะดีอุซซะมาน (....) ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการในอัจฉริยะและความรอบรู้อันมากมายและกว้างขวางของท่าน
2.1.2 ข่าวที่แทงใจท่าน
ในช่วงนี้เองได้มีการตีแผ่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า นายกรัฐมนตรีของพวกนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ Gladstone ได้กล่าวอย่างชัดเจนในสภาของอังกฤษในขณะให้โอวาทกับผู้แทนราษฎรว่า "ตราบใดที่อัลกุรอานยังอยู่ในมือของบรรดามุสลิม ดังนั้นเราก็ไม่มีวันที่จะปกครองพวกเขาได้ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีทางอื่นนอกจากจะต้องทำให้อัลกุรอานหมดไปจากการมีอยู่ หรือไม่ก็ตัดความเชื่อมโยงของบรรดามุสลิมที่มีต่ออัลกุรอาน" ข่าวดังกล่าวนี้ทำให้ร่างของท่านสั่นสะท้านด้วยความโกรธ ท่านขบกรามแน่น และประกาศกับคนรอบข้างท่านว่า "แน่แท้ฉันจะต้องพิสูจน์ให้โลกรู้ว่า อัลกุรอ่านนั้นคือดวงตะวันแห่งนามธรรม (มะอฺนะวียะฮฺ) ที่แสงของมันไม่มีวันดับลง และเป็นไปไม่ได้ที่จะดับรัศมีของมันได้" หลังจากนั้นท่านก็ได้รีบรุดไปยังอิสตันบูลในปี ค.ศ. 1907 และได้เสนอโครงการต่อท่านสุลต่านอับดุลฮามีดที่สอง (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน) เพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยในทางทิศตะวันออกของอนาโตเลีย โดยท่านให้ชื่อมหาลัยแห่งนั้นว่า "มัดร่อซะฮฺ อัซซะฮฺรออฺ" –ตามชื่อมหาลัย อัซฮัร อันทรงเกียรติ- เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความสัจจริงต่างๆ แห่งอิสลาม สอดประสานกันระหว่างการเรียนศาสนาและวิชาการสมัยใหม่ ตามคำที่ท่านได้กล่าวว่า"ความสว่างไสวแห่งหัวใจ คือวิชาการแห่งศาสนา รัศมีแห่งปัญญาคือวิชาการสมัยใหม่ ดังนั้นด้วยกับการรวมมันทั้งสองเข้าด้วยกันฮะกีกัตก็จะประจักษ์แจ้ง พลังแห่งนักศึกษาก็จะถูกสร้างขึ้นมาและสูงส่งด้วยปีกทั้งสองข้าง และด้วยการแยกมันทั้งสองออกจากกันการตะอัศศุบก็จะเกิดขึ้นในสิ่งแรก (ความสว่างไสวแห่งหัวใจ) และการล่อลวงและความคลุมเครือก็จะเกิดขึ้นในสิ่งที่สอง (รัศมีแห่งปัญญา)"
ในปี 1911 ท่านได้เดินทางไปยังประเทศชาม และได้พบกับผู้คนและอุละมาอฺที่นั่น และเนื่องจากพวกเขาสัมผัสจากความรู้และบุคลิกภาพของท่าน พวกเขาเหล่านั้นจึงได้สดับฟังคุตบะฮฺของท่าน ณ มัสยิดญามิอฺ อัลอุมะวีย์ อัชชะฮีร โดยมีผู้ละหมาดหลายพันคน เป็นคุตบะฮฺที่ได้มีการบันทึกไว้จนมาถึงพวกเรา และเป็นที่เลื่องลือในผลงานของท่านว่า "คุตบะฮฺชามียะฮฺ" คุตบะฮฺดังกล่าวนั้นได้รวมไว้ซึ่งเนื้อหาทางการเมืองและทางสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ
2.1.3 การต่อสู้อย่างกล้าหาญต่อหน้าศาลทหาร
ท่านบะดีอุซซะมาน ซะอีด อัลนุรซีย์เป็นคนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้เผชิญหน้ากับที่แขวนคอประหารชีวิต ภายหลังจากเหตุการณ์วันที่ 31 เมษายน ทั้งที่บทบาทของท่านในเหตุการณ์ครั้งนี้ท่านเป็นผู้ที่ต้องการความสงบ เพราะท่านได้ส่งให้ทหารกลับไปยังกองประจำการของพวกเขา และให้เกียรติต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชา.. ท่านได้พูดกับกองทหารพวกนี้หลายครั้งในนัยยะดังกล่าว...ท่านได้กล่าวในศาลทหารในระหว่างเหตุการณ์วันที่ 31 เมษายนว่า"แท้จริงฉันเป็นผู้เรียกร้องชะรีอะฮฺ ด้วยเหตุนี้ฉันจึงชั่งทุกอย่างด้วยตราชั่งแห่งชะรีอะฮฺ ดังนั้นอิสลามเพียงประการเดียวเท่านั้นที่เป็นแนวทางของฉัน เนื่องจากสิ่งดังกล่าวนี้ฉันจึงต้องทำทุกอย่างให้เที่ยงตรงและพิจารณาสิ่งนั้นๆ ด้วยกรอบแห่งอิสลาม และแท้จริง ฉันกำลังยืนอยู่ใกล้กับโลกแห่งบัรซัค ที่พวกท่านทั้งหลายได้เรียกมันว่า คุก รอคอย ณ สถานีแห่งการประหาร รถไฟที่จะพาฉันไปสู่อาคิเราะฮฺ ฉันทุกข์ระทมและวิพากษ์สิ่งที่ได้ดำเนินไปในสังคมมนุษย์จากสภาพการณ์ที่อธรรมและการทรยศ ดังนั้นคำพูดของฉันไม่ได้มุ่งหมายไปยังพวกท่านเพียงเท่านั้น แต่ทว่าฉันมุ่งหมายคำพูดของฉันไปยังมนุษย์ทุกคนในยุคนี้ บรรดาฮะกีกัตได้ถูกแผ่ออกมาจากสุสานแห่งหัวใจ ไร้พันธนาการ เพียงแค่ความเร้นลับแห่งอายะฮฺอันมีเกียรติ " يَوْمَ تُبْلَى السَّرَائِرُ"(วันที่สิ่งเร้นลับทั้งหลายจะถูกเปิดเผย" ใครก็ตามที่เป็นผู้แปลกหน้าที่ไม่ได้เป็นมะฮฺรอม ดังนั้นเขาก็จะไม่มองไปยังมัน (ความเร้นลับนั้น) แท้จริงแล้ว ฉันเตรียมตัวที่จะไปสู่อาคิเราะฮฺด้วยความคะนึงหา และพร้อมแล้วที่จะเดินทางไปสู่มันพร้อมกับบรรดาผู้ที่ถูกแขวนคอทั้งหลาย รัฐบาลนี้ได้ทะเลาะวิวาทกับสติปัญญาในวันเวลาแห่งการกดขี่ แต่บัดนี้มันได้เป็นศัตรูต่อชีวิตโดยสมบูรณ์ หากรัฐบาลที่มีรูปแบบและตรรกะเช่นนี้ ก็ปล่อยให้คนบ้า ให้ความตายมีชีวิตอยู่ไปเถิดและญะฮันนัมก็จะมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นที่พำนักของบรรดาผู้อธรรม ฉันเคยหวังที่จะตระเตรียมสถานที่ให้กับตัวเองเพื่ออธิบายความคิดของฉัน และนี่แหละศาลทหารแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดที่ฉันจะเผยแพร่ความคิดของฉัน ในช่วงวันแรกๆ ของการตรวจสอบ พวกเขาถามฉันเหมือนกับที่พวกเขาได้ถามคนอื่นๆ ว่า ท่านก็เช่นกันหรือ ที่เรียกร้องชะรีอะฮฺ? ฉันกล่าวว่า: หากแม้ว่าฉันมีสักหนึ่งพันวิญญาณ แน่นอนฉันก็จักตระเตรียมมันเพื่อพลีในหนทางแห่งฮะกีกัตเพียงประการเดียวจากบรรดาฮะกีกัตต่างๆ ของชะรีอะฮฺ เพราะชะรีอะฮฺคือสาเหตุแห่งความผาสุก และเป็นความยุติธรรมโดยแท้ และเป็นความประเสริฐยิ่ง ฉันหมายถึงว่า: ชะรีอะฮฺที่เที่ยงแท้ ไม่ใช่อย่างที่พวกดื้อรั้นได้พากันแสวงหา" และคำตัดสินได้ออกมาให้ความบริสุทธิ์ต่อท่านบะดีอุซซะมาน ซะอีด นุรซีย์ จากศาลทหารอันน่าหวาดกลัวซึ่งหลายสิบคนได้ถูกแขวนคอไป
2.1.4 บดีอุซซามานกับการรับใช้เป็นทหาร
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านคนหนึ่งที่สมัครเข้ารับหน้าที่ของบรรดานายร้อย ในระหว่างท่านอยู่ในแค้มป์ทหารในแวดล้อมของท่านมีนักศึกษาเวลาเรียนพิเศษเรียนอูลุมกรุอ่าน และเป็นที่ประหลาดของท่านคือท่านได้แต่งหนังสือซึ่งเป็นภาษาอาหรับได้ชื่อว่าท่านบาดีอุซามาน
เป็นเฉลยศึกต่อรัสเซียและท่านถูกพาตัวไปยังไสบีเรีย และที่นั่นท่านได้ใช้ชีวิตเป็นเวลาอันยาวนานพอสมควร พร้อมกับอากาศหนาว แต่ท่านบาดีอุซามานสามารถแหกคุกได้สำเร็จ และได้หนีเข้าไปยังอิสตันบูลผ่านเส้นทางเยอรมันบัลแกเรีย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษก็สามารถยึดเมืองอิสตันบูลในปี 1918
2.1.5 อัลนุรซีย์ในฐานะผู้นำและมุฟัซซิร
และด้วยการระเบิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่บะดีอุซซะมาน ซะอีด อัลนุรซีย์จะรีบรุดเป็นแถวหน้าของบรรดามุญาฮิดีน ดังนั้นท่านได้จัดตั้งกลุ่มพลีชีพจากบรรดาลูกศิษย์ของท่าน และท่านได้พลีชีพพร้อมกับพวกเขาในการปกป้องดินแดนในตอนหน้าของกัฟกาส (Kavkaz) ท่านได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้กับรัสเซีย และถูกจับเป็นเชลย ท่านได้ถูกนำตัวในสภาพเสมือนศพไปยัง قوصتورما จากแคว้นของรัสเซีย โดยท่านใช้เวลาสองปีกับสี่เดือนที่นั่น และระหว่างการปฏิวัติ بلشفية อัลลอฮฺได้ตระเตรียมการหลบหนีให้กับท่าน ท่านจึงได้กลับไปยังประเทศของตนเอง (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เดือน รอมะฎอน ปี 1336 หรือ 8/71918) ท่านได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากทางเคาะลีฟะฮฺ ชัยคุลอิสลาม ผู้นำทั่วไป และนักศึกษาวิชาการชะรีอะฮฺ ท่านได้รับเหรียญเกียรติยศแห่งสงคราม และรัฐอุษมานียะฮฺก็ได้เสนอตำแหน่งหน้าที่ให้ท่านดูแลรับผิดชอบ แต่ท่านปฏิเสธปฏิเสธมันทั้งหมด นอกจากสิ่งที่ผู้นำทหารให้เจาะจงให้ท่านจากการเป็นสมาชิกใน "ดารุลฮิกมะฮฺอัลอิสลามีะฮฺ" ซึ่งที่ตำแหน่งดังกล่าวจะถูกเสนอให้เฉพาะอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น ดังนั้นในช่วงเวลานี้เองที่หนังสือของท่านที่เป็นภาษาอาหรับได้รับการเผยแพร่ ส่วนหนึ่งจากงานเขียนเหล่านั้นคือ ตัฟซีรที่ทรงคุณค่า "อิชารอต อัลอิอฺญาซ ฟี มะซฺอนิ อัลอียาซ" ซึ่งท่านได้เขียนมันในช่วงสมรภูมิต่างๆ และอีกชิ้นหนึ่งคือ "อัลมัษนะวีย์ อัลอะร่อบีย์ อัลนูรีย์"
2.1.6 การโจมตีจากภายใน
และหลังจากที่ได้มีการบุกรุกเข้ามายังอิสตันบูล โดยในวันที่13/11/1991 เรือรบนาวิกโยธินของฝ่ายพันธมิตรจำนวน 55 ลำ ได้เข้ามาประชิดอัสตัสบูล ทั้งนี้เป็นไปตามสัญญาการพักรบ "مندروس" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30/10/1918 "...22 ลำเป็นของอังกฤษ... 12 ลำ จากฝรั่งเศส 17ลำจากอิตาลี 4 ลำจากกรีก...มุ่งหน้ามาที่วังของเคาะลีฟะฮฺซึ่งอยู่ในสภาพเหมือนเชลยในวัง และอังกฤษก็ได้เข้ายึดครองอิสตันบูลในวันที่ 18 เมษา 1920 จากเหตุการณ์นี้เองทำให้ท่านซะอีด อัลนุรซีย์รู้สึกได้ถึงการโจมตีอันใหญ่หลวงที่กำลังเข้ามาสู่โลกอิสลาม ดังนั้นก็เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าท่านได้ยืนอยู่ในแนวหน้าของบรรดาผู้ที่เผชิญหน้าต่อการต่อสู้อย่างห้าวหาญ ท่านได้รีบออกหนังสือเล่มเล็กที่มีชื่อว่า "ขั้นตอนทั้งหก" เพื่อปลุกจิตวิญญาณของผู้คนในมาตุภูมของท่าน และท่านได้วางวิสัยทัศน์ของท่านเพื่อขจัดความต่ำต้อยและปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการตกต่ำซึ่งความพ่ายแพ้ได้ทำให้มันเกิดขึ้นกับเดาละฮฺอุษมานียะฮฺและบรรดามุสลิมีนทั้งหมด
2.1.7 ทางโค้งที่อันตราย
ในช่วงนี้เองที่ (คือเริ่มตั้งแต่ปี 1922) กฎหมายต่างๆ ได้ถูกตราขึ้นและมีการลงมติกันเพื่อการถอนรากถอนโคนอิสลามและทำให้ประกายไฟแห่งอิหม่านในหัวใจของอุมมะฮฺดับมอดลง ดังกล่าวนี้หลังจากที่ธงแห่งอิสลามได้โบกสะบัดเป็นระยะเวลานานถึงหกศตวรรษ อำนาจการปกครองแห่งรัฐอุษมานียะฮฺได้ถูกยกเลิกในวันที่ 1/11/1922 และตามมาด้วยกับการยกเลิกเคาะลีฟะฮฺในวันที่ 3/3/1924 การเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนได้ถูกห้ามโดยทั้งหมด ตัวเลขและตัวอักษรอาหรับที่ใช้ในการเขียนได้ถูกเปลี่ยนเป็นอักษรลาติน การอะซานตามบทบัญญัติอิสลามและการอิกอมะฮฺเป็นภาษาอาหรับได้ถูกห้าม และได้มีความพยายามในการอนุมัติ (ทำให้ฮะลาล) ให้การแปลอัลกุรอานอัลกะรีมถูกใช้ในการอิบาดัตต่างๆ การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมใดๆ ที่เป็นผลประโยชน์ของอิสลามถูกห้ามทั้งหมด ดังนั้นการตีพิมพ์ตำราอิสลามก็ถูกห้ามไปด้วย ประชาชนถูกบังคับให้เปลี่ยนจาก ซัยย์ (ز) เป็น ซี (Z) แบบยุโรป บรรดาบุรุษถูกบังคับให้ใส่หมวกปีก (hat) และบรรดาสตรีถูกบังคับให้เปิดเผยใบหน้าและโชว์ส่วนต่างๆ ศาลต่างๆ ได้ข่มขู่และสร้างความหวาดกลัวไปทั่วทุกหนทุกแห่งของประเทศ มีการยัดเยียดหยาม การแขวนคอประหารชีวิตให้การบรรดาอุละมาอฺผู้มีเกียรติ และให้กับทุกคนที่พูดกับตัวเองว่าจะหันหลังให้กับอำนาจการปกครอง บรรยากาศแห่งความสับสนมองหม่นและความหวาดกลัวได้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ จนกระทั่งผู้คนต้องซ่อนอัลกุรอานอัลกะรีมให้พ้นจากสายตาของเจ้าพนักงานรัฐ หนังสือพิมพ์ได้เริ่มเคลื่อนไหวในการเผยแพร่ความหยาบคายและดูถูกศาสนา หนังสือของพวกปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าก็เริ่มแพร่ออกมา
2.1.8 การเสียชีวิต
อุซตาซฺ อัลนุรซีย์ได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺในวันที่ 25 เดือนรอมาฎอน ปี ฮ.ศ. 1379 หรือ วันที่ 23 มีนาคม 1960 ศพของท่านถูกฝัง ณ เมือง อุรฟะฮฺ.... แต่ทว่า พวกผู้นำทหารที่ปกครองอยู่ในขณะนั้นไม่ปล่อยให้ร่างของท่านได้พักแม้แต่ในกุโบร์ของท่าน เพราะหลังจากการฝังร่างของท่านได้ 4 เดือน พวกเขาได้ทำการขุดกุโบร์ของท่านและได้ย้ายร่างของท่านโดยนำขึ้นเครื่องบินไปยังสถานที่ที่หนึ่งซึ่งไม่มีใครรู้ ดังนั้นกุโบร์ของท่านจึงไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ใดจนกระทั่งทุกวันนี้
2.1.9 วาทะของบดีออุซซามาน
ถ้าหากฉันมีวิญญาณพันครั้งฉันจะหุ่มเพื่ออิสลาม และฉันจะไม่ยอมรับศาสนาอื่นนอกจากศาสนาอิสลาม และฉันจะบอกพวกคุณว่าว่าฉันกำลังจะไปสู่อีกโลกหนึ่งที่พวกท่านเรียกว่าคุก และฉันรอรถไฟที่สถานีนี้เพื่อจะเดินทางต่อไปยังสถานีสุดท้ายในวันกียามัต และฉันเป็นคนที่รักและชอบในวันนั้น และฉันก็จะเดินทางพร้อมกับคนที่จับฉันในวันนี้
โอ้ท่านผู้ปกครองที่ฉันมานี่ในข้อหา ฉันเอาศาสนามาทำลายความมั่นคงของรัฐและฉันบอกว่าที่ฉันทำงานคือเกี่ยวกับศาสตร์ของอิสลามและฉันไม่รับใช้พวกท่านนอกจากรับใช้สิ่งที่อัลลอฮพอใจ โอ้ความหวังของข้าพเจ้าอยากจะรับใช้ศาสนา
2.2 ลูกศิษย์ของบดีอุซซามาน
1.ศ.ดร.นัจมุดดีน อัรบากาน (ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนท่าน)
ผู้นำตุรกีพรรคซาลามะห์ พรรคเรฟะฮฺ(ช่วง ค.ศ.1996-1997) พรรคฟาดีละห์ พรรคซาอาดะห์ ที่ถูกทหารและศาลซึ่งเป็นเซคคิวลาห์ ตามฟ้องร้องให้ยุบถึงหลายพรรค และตนเองต้องถูกแบนจากการเมือง 5 ปี ข้อหาคือ กระทำการหลายกรณีซึ่งเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญระบอบเซคคิวลาห์ ส่วนหนึ่งในนั้นคือ การสวมฮิญาบของภรรยาของเขาและ ผู้คนที่ชื่นชอบเขา เพราะว่า รัฐธรรมนูญตุรกีถือว่าการสวมฮิญาบคือ สัญลักษณ์ต่อต้านระบอบเซคคิวลาห์…
 |
รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน |
ผู้เป็นวิศวกรจบจากประเทศเยอรมัน ท่านมีลูกศิษย์ผู้หนึ่งมีชื่อว่า รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน ผู้นำพรรคอาดาละห์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศตุรกีอ่านต่อประวัติของท่านได้ที่คลิก (http://www.jihadforjannah.com/bp5/node/695 )ซึ่งมีอุดมการณ์อิสลาม ที่คอยขับเคลื่อนอิสลามในประเทศตุรกีปัจจุบัน รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน กล่าวปราศรัยครั้งหนึ่งท่านได้ พูดขึ้นว่า“คนเรา จะผสมผสานกันระหว่างมุสลิมกับเซคคิวลาห์กันนั้นไม่ได้ ท่านจะต้องเลือกการเป็นผู้ศรัทธาเท่านั้น และทิ้งการเป็นเซคคิวลาห์ซะ” และเขาก็ได้ยกกลอนชิ้นหนึ่งของนักสู้มุสลิมคนหนึ่งของตุรกีว่า “มัสยิดนั่นคือค่ายทหารของเรา โดมของมันคือหลุมหลบภัยของเรา ส่วนหอคอยนั้นเล่า คือดาบปลายปืนของเรา และผู้ศรัทธาในที่นั้น คือทหารกล้าของเรา หลังจากท่านปราศัยเสร็จ ท่านก็ถูกจับเข้าคุกโดยรัฐบาลแซคคิวลาร์ แล้วก็มีประชาชนมาประท้วงรัฐบาล เพื่อให้ปล่อยตัวท่านไป แล้วท่านได้พูดกับประชาชนของท่านว่า ขอให้พวกท่าน(ประชาชน)กลับไปทำงานของท่าน ส่วนฉันก็จะทำงานของฉันเช่นกัน(แม้ ต้องอยู่ในคุก) …
มีลุงคนหนึ่งนามว่า ฮิลมี มาดาคุร คนงานในโรงงานพลาสติก กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ กล่าวว่า“ผู้นำอาหรับทั้งหลายควรที่จะ เอานายกอัรดูฆอนเป็นแบบอย่าง คือความกล้าหาญและความจริงใจใน ตัวเขา… เขาไม่ไช่คนอาหรับ แต่เขาก็ได้ปกป้องชาวฟาลิสฏีนอย่างแข็งแกร่งและกล้าหาญ มากกว่าพวกผู้นำอาหรับเสียอีก ผมหวังว่าเขาจะนำระบอบคีลาฟะฮฺกลับมา” … Gulf News
2.ฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน
ฟัตฮุลลอฮฺ กูเลน เห็นว่าการเคลื่อนไหวทางด้านจิตวิญญาณไม่อาจมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ เขามองความเป็นไปในโลกเหมือนกับไข่ไก่ในมือของเขาและสรุปว่าปัญหาของมนุษย์คือ ความไม่รู้ ความจน และการแตกแยกของผู้คน ดังนั้น เขาจึงเริ่มรณรงค์กำจัดความไม่รู้ ต่อสู้ความยากจนและสร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่ผู้คน
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
1.ยุทธศาสตร์การกำจัดความไม่รู้ของเขาคือ การส่งเสริมการศึกษาด้วยการตั้งโรงเรียนทุกระดับตั้งแต่ประถมฯถึงมหาวิทยาลัย
2.ยุทธศาสตร์การต่อสู้ความยากจนของเขาคือ การก่อตั้งองค์กรและมูลนิธิช่วยเหลือคนยากไร้
3.ยุทธศาสตร์การสร้างความสามัคคีของผู้คนคือ การสานเสวนาเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนทุกศาสนิก
ยุทธศาสตร์ทั้งหมดไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในประเทศตุรกีเท่านั้น แต่ยังแพร่กระจายไปตามประเทศต่างๆทั่วโลกโดยไม่จำกัดแต่เฉพาะมุสลิม(http://www.oknation.net/blog/knowislam/2011/01/11/entry-1)
3.บทสรุป
ปัจจุบันนี้ขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการก้าวขึ้นมาบริหารประเทศได้ คงนี้ไม่พ้นขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามในประเทศตุรกี ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลในการบริหารประเทศตุรกีได้ ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามในประเทศต่างๆ ไม่สามารถที่จะก้าวมาถึงตรงจุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นญามาอะห์อิควานอัลมุสลีมูนหรือมุสลิมบราเทอร์ฮูด แห่งอียิปต์ เป็นญามาอะห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ญามาอะห์ฮารอกะห์ อันนัฮเดาะห์แห่งตูนีเซีย ญามาอะห์อิสลามีย์แห่งปากีสถาน ญามาอะห์ดะวะห์ตับลีฆแห่งอินเดีย ซึ่งญามาอะห์เหล่านี้พยายามที่จะก้าวมาเป็นรัฐบาลในการบริหารประเทศ ยกเว้นญามาอะห์ดะวะห์ตับลีฆที่ไม่มีนโยบายในด้านการเมือง แต่ก็ต้องเจอปัญหาอุปสรรคต่างๆที่ท่านฝ่ายตรงข้ามที่มีแนวคิดแซคคิวลาร์ ต่อต้านทุกรูปแบบ ถูกขัดขว้างต่างๆนานาส่วนญามาอะห์อิควานนั้น ตอนแรกๆที่ก่อตั้ง ก็ไม่มีนโยบายด้านการเมืองเช่นเดียวกัน แต่สุดท้ายก็ต้องบรรจุ นโยบายด้านการเมืองเข้าในนโยบายของกลุ่มอิควานอัลมุสลีมูนหรือมุสลิมบราเทอร์ฮูด
ถึงแม้ว่าวันนี้ ญามาอะห์อันนูรไม่สามารถที่จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้ในการปกครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะต้องต่อสู้กับแนวคิดแซคิวลาร์ อีกมายมาย ที่แพร่ระบาดในประเทศตุรกีปัจจุบัน แต่อย่างน้อยการที่มีประธานาธิบดีอย่าง อับดุลเลาะห์ กุล และมีนายกรัฐมนตรีอย่างรอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน ที่มีอุดมการณ์อิสลามอย่างลึกซึ้ง จะทำให้ในอนาคตอันใกล้นี้ จะสามารถขจัดแนวคิดแซคคิวลาร์ ออกจากความคิดของประชาชนชาวตุรกีได้ทั้งหมด และในวันนั้นชารีอะห์อิสลามจะถูกกลับมาใช้ใหม่ในประเทศตุรกี อินชาอัลลอฮ
บรรณานุกรม
อับดุลเลาะห์ อุมา. เอกสารประกอบสอนรายวิชาหลักการบริหารในอิสลาม3. มปป.
เว็บไซต์ข้อมูลภาษาอาหรับญามาอะฮอันนูร
เรียบเรียงโดย ฆอซาฟี มะดอหะ