Skip to main content

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) 

            

          ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

            เมื่อเวลา 06.30 น.วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2558 ศูนย์รวมข่าว สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา รับแจ้งเหตุระเบิดขึ้นในกุโบร์ หรือสุสานของพี่น้องมุสลิม ในพื้นที่บ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ 6 ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จึงรีบนำกำลังรุดไปตรวจสอบ

          ที่เกิดเหตุพบผู้บาดเจ็บ 1 ราย คือ นายอาซิ เจ๊ะดอมะ อายุ 63 ปี และผู้เสียชีวิต 1 รายโดนแรงระเบิดฉีกร่าง ทราบชื่อคือ อาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) ซัยค์ เจ๊ะดอมะ สังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43

          นอกจากนั้น ยังพบหลุมระเบิดขนาดใหญ่ กว้าง 3 เมตร ลึก 2 เมตร บริเวณปากหลุมมีศพห่อด้วยผ้าขาว 1 ศพ

          สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ อส.ทพ.ซัยค์ พร้อมด้วย นายอาซิ ซึ่งเป็นบิดา ได้เดินทางไปที่หลุมฝังศพมารดาของ อส.ทพ.ซัยค์ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 3 วันก่อน เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา โดยระหว่างที่สองพ่อลูกกำลังอ่านอัลกุรอานอยู่นั้น ปรากฏว่ามีคนร้ายไม่ทราบจำนวน คาดว่าแฝงตัวอยู่ไม่ไกลจากกุโบร์ ได้จุดชนวนระเบิดที่ฝังเอาไว้ใกล้หลุมฝังศพ จนเกิดระเบิดเสียงดังสนั่น แรงระเบิดทำให้ อส.ทพ.ซัยค์ เสียชีวิตคาที่ ส่วนนายอาซิ บิดา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะที่ศพของมารดายังกระเด็นออกมานอกหลุมด้วย

          สำหรับวัตถุระเบิดที่คนร้ายใช้ เป็นชนิดแสวงเครื่อง น้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ประกอบใส่ถังเหล็ก ฝังไว้ในหลุมศพ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าเป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบ  (โปรดดู http://www.isranews.org/south-news/other-news/item/43354-grave.html)

            ในหลักการอิสลามหากมีสงครามเกิดขึ้นอิสลามได้วางกฎการทำสงครามคือ ห้ามฆ่าเด็ก  สตรี  ผู้นำศาสนา ต้นไม้ ศาสนสถานซึ่งสอดคล้องกับการเรียกร้องกับองค์กรสตรีชายแดนใต้คู่สงครามชายแดนใต้หรือองค์กรศาสนาร่วมรณรงค์  กดดันคู่สงครามดังนี้

             1. ยุติการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนโดยเฉพาะเด็กและผู้หญิง และยุติการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน เป็นต้น
            2. รัฐต้องรับผิดชอบในการค้นหาและนำเสนอความจริงต่อสาธารณะโดยเร็วในกรณีเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ได้แก่ การเสียชีวิตของเด็กและผู้หญิง การเสียชีวิตของนักต่อสู้เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การฆ่าด้วยวิธีการทารุณโหดร้าย การฆ่าล้างครอบครัว การเสียชีวิตที่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำเกินกว่าเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจนลุกลามเป็นวงจรความรุนแรงต่อไป
            3. รัฐต้องมุ่งมั่นที่จะขจัดวัฒนธรรมคนทำผิดลอยนวล (impunity)โดยคุ้มครองทั้งสิทธิของผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงให้การดูแลเยียวยาโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือสถานะทางสังคม
            4. พี่น้องประชาชนทุกศาสนิกต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อแรงยั่วยุจากการก่อเหตุความรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดก็ตาม เพื่อไม่ให้วงจรความรุนแรงขยายตัว ทั้งนี้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งทุกรูปแบบต้องเป็นไปโดยยึดหลักสันติวิธี เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และใช้การพูดคุยเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน

            ในศาสนาอิสลามแสดงจุดยืนชัดเจนและปฏิเสธ"การฆ่าและทำร้ายพระ นักบวช ผู้นำศาสนา ตลอดจนประชาชนผู้บริสุทธิ์"          

            หลักธรรมคำสอนศาสนาอิสลามตามคัมภีร์อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 32 ว่า "หากผู้ใดฆ่าผู้บริสุทธิ์แม้เพียงคนเดียว เท่ากับฆ่ามนุษย์ทั้งโลก และหากผู้ใดรักษาชีวิตมนุษย์แม้เพียงคนเดียว เท่ากับรักษาชีวิตมนุษย์ทั้งโลก"

          อีกทั้งคำสอนของ ท่านศาสนฑตมุฮัมมัด ได้มีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการห้ามทำร้ายพระและนักบวช รวมทั้งศาสนสถานของทุกศาสนา ตลอดจนห้ามการทำร้ายศพ ห้ามทำร้ายเด็ก สตรี คนชรา และประชาชนผู้บริสุทธิ์  

          ท่านศาสนฑตมุฮัมมัด ถึงกับกล่าวว่า "ฉันคือศัตรูกับใครก็ตามที่ทำร้ายเพื่อนต่างศาสนิกให้ได้รับบาดเจ็บ และหากฉันเป็นศัตรูกับใครแล้ว ฉันจะไปยืนยันสิ่งนั้นต่อพระผู้เป็นเจ้าในวันพิพากษา"  และท่านศาสนฑูต ยังกล่าวอีกว่า "ผู้ใดทำร้ายคนที่ไม่ใช่มุสลิม เท่ากับทำร้ายฉัน และผู้ใดที่ทำร้ายฉัน ย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับพระผู้เป็นเจ้า"

          ดังนั้นองค์กรศาสนาอิสลามควรทำงานร่วมกับองค์กรศาสนาพุทธ  ประชาสังคมและประชาชนทุกคน ปฏิบัติดังนี้

          1.ตระหนักและยืนหยัดในคำสอนอันเป็นแก่นของศาสนธรรมดังกล่าว เพื่อการอยู่ร่วมกับเพื่อนต่างศาสนิกอย่างสันติ และเนื่องจากทุกศาสนาให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเรื่องความรัก ความเมตตา ควบคู่กับความยุติธรรม ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องอำนวยความยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ถึงแม้ว่าในบางสถานการณ์ที่คนของตัวเองอาจถูกทดสอบจากการกระทำที่ไร้ความยุติธรรม โดยเฉพาะอิสลามกลับสอนให้มุสลิมตอบแทนความอธรรมด้วยความดีงามบนพื้นฐานของความยุติธรรม (อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 8)

          2.แสวงหาแนวทางความร่วมมือกันกับเพื่อต่างศาสนิกในชุมชน เพื่อช่วยกันปกป้องภัยที่คุกคามชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชนทุกศาสนา ดังปรากฏแบบอย่างอันงดงามในธรรมนุญมะดีนะฮ์สมัยท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องช่วยกันยับยั้งการมุ่งทำลายประชาชนผู้บริสุทธิ์ พระ นักบวช เด็ก สตรี และการทำลายศาสนสถาน

          3.ขอจงช่วยกันให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือต่อเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรงในทุกศาสนิก ตลอดจนช่วยกันขอพรจากอัลลอฮ์ เพื่อให้เกิดความสันติในทุกๆ พื้นที่โดยเร็ว

         การทำลายศาสนสถานครั้งนี้เป็นบุคคลที่ขาดจรรยามารยาทถึงแม้จะอ้างความชอบธรรมของการแก้แค้น