Skip to main content

THAI MEDIA HAS SPOKEN

My last two articles in the DEEPSOUTH(DSW),An open letter to Thai media (http://www.deepsouthwatch.org/jw/node/4913) and the Malay version : Surat terbuka kepada media Thai (http://www.deepsouthwatch.org/ms/node/4909) had drawn considerable attention with almost 3000 viewers to date. It is a wake- up call for both Thai media operators and journalists alike, to review themselves in terms of facts finding, news reporting and presentation to the public ,concerning the political conflict in the Deep South.
Early this month a selected group of Thai main-stream media journalists made history. For the first time, they sat face to face with the representatives from BRN,PULO and BIPP, the three main Patani liberation movements in the current Kuala Lumpur peace dialogue process. The venue of the meeting was, however, not disclosed.
The media representatives were from Isranews, The Bangkok Post, Thai PBS  TV station, Post Today, Thairat Online and the FT Media. The atmosphere of discussion was very open , informative and  fruitful. Many questions were put forward, clarifications made and not surprisingly, we made friends too.
So far, the Isranews has published 2 articles about the meeting :  เปิดใจ "จูแว" พลัดถิ่น (1) "ครู-พระ"ถูกทำร้ายเพราะอยู่ใกล้ทหาร (http://www.isranews.org/south-news/special-talk/item/25205-disclose.html and   เปิดใจ "จูแว" พลัดถิ่น (2) ขอทวงสิทธิดินแดน - ชนชาติ - การเมือง (http://www.isranews.org/south-news/special-talk/item/25234-right_25234.html)
We are looking forward to more interaction and exchange of information for the benefit and support of  the KL peace process. Both sides  agree that this process is the most practical path to take towards peace and stability in Patani.
This time, however, I would like to repost an article that was published in a Thai media a fews months earlier :
 
ข้อบกพร่องของสื่อ ในการเสนอข่าวชายแดนใต้
"ปัญหาความรุนแรงชายแดนใต้ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ด้านหนึ่ง สื่อมวลชนไทยเชื่อว่าองค์กรทั้งหลาย  ควรร่วมกันหาแนวทางสร้างสันติภาพ  แต่ในอีกด้านหนึ่ง สื่อก็ไม่เคยตระหนัก ว่า ตัวสื่อมวลชนเอง ก็เป็นอุปสรรคต่อสันติภาพในพื้นที่เช่นกัน  รายงานชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นว่าการเสนอข่าวของสื่อกระแสหลักไทย ขัดขวางสันติภาพอย่างไร
เวทีเสวนา color:#333333"> ที่สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  เมื่อวานนี้(18ก.ค.56) มีตัวแทนสื่อมวลชนร่วมแสดงความเห็นว่าโจทย์หลักของสามจังหวัดชายแดนใต้คืออะไร และควรแก้ปัญหาอย่างไร  สิ่งที่ตัวแทนสื่อมวลชนพูด สะท้อนให้เห็นว่า สื่อเองก็เป็นอุปสรรคสำคัญต่อสันติภาพในพื้นที่
เมื่อนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ ถูกตั้งคำถามเรื่องขอบกพร่องของสื่อในการเสนอข่าวเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้  เขายอมรับว่าสื่อกระแสหลัก ยังมีข้อบกพร่อง  เพราะมักรายงานข่าวเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบรายวัน แต่ไม่นำเสนอเนื้อหาที่กว้างพอ  ที่จะช่วยให้ผู้ชมสามารถวิเคราะห์หาวิธีการแก้ปัญหาได้
แต่ในความเป็นจริง ข้อบกพร่องของสื่อกระแสหลักนั้น มีมากกว่าที่นายเสริมสุขพูด
ปัญหาข้อแรกคือ color:#333333"> สื่อให้พื้นที่แต่กับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่เคยให้พื้นที่ผู้ก่อความไม่สงบ  สื่อบอกผู้ชมเพียงแค่ว่า คนเหล่านี้คือ "โจร" ข้อมูลเท่านี้เพียงพอแล้วที่จะทำให้คนนอกพื้นที่พิพากษาคนเหล่านี้ และสนับสนุนให้รัฐใช้ความรุนแรงกับพวกเขา โดยไม่จำเป็นต้องฟังเหตุผลใดๆ  ผลที่ตามมาคือจนบัดนี้ คนทั่วไป ยังไม่รู้เลยว่าใครคือผู้ก่อความไม่สงบ พวกเขาต้องการอะไร และอะไรทำให้พวกเเขาคับแค้นจนต้องเสี่ยงชีวิตสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ  
จากการรวบรวมเบื้องต้น ในรอบปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่างไทยรัฐ ใช้คำว่า "โจรใต้" ในพาดหัวข่าวกว่า 300 ชิ้น  และใช้วลี "โจรใต้เหิม" ในพาดหัวข่าวอย่างน้อย 11 ชิ้น  ข้อมูลนี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ที่วิจารณ์การใช้ภาษาของสื่อว่าเป็นอุปสรรคต่อสันติภาพ
ข้อบกพร่องอีกเรื่องหนึ่งของสื่อ ถูกพูดถึงโดยนายอนุสรณ์ อุณโณ นักมนุษยวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมืองมุสลิมและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เขากล่าวว่า สื่อกระแสหลักรายงานข่าว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้อุดมการณ์แบบรัฐไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
ซึ่งมุมมองของนายนครินทร์ ชินวรโกมล ผู้สื่อข่าวเครือเนชั่นและ ททบ. 5 ประจำจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นชาวไทยพุทธ สะท้อนอุดมการณ์นี้ได้ดี
นายนครินทร์เป็นชาวไทยพุทธ และมองปัญหาความไม่สงบว่า  เป็นความพยายามขับไล่ชาวไทยพุทธออกจากพื้นที่ทั้งที่ตามสถิติแล้ว ผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เขาเรียกชาวไทยพุทธว่า "คนไทย" แต่เรียกชาวไทยมุสลิมว่า "คนมุสลิม" เขายังเลือกพูดถึงเฉพาะความรุนแรงต่อชาวไทยพุทธ โดยไม่พูดถึงความรุนแรงต่อชาวมุสลิม และไม่พูดถึงความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงต่อชีวิตและร่างกาย หรือการทำลายอัตลักษณ์และวัฒนธรรม
นอกจากนี้ นายนครินทร์ยังกล่าวต่ออีกว่า หากกลุ่ม BRN สามารถหยุดความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนได้ตามสัญญา จะเป็นผลเสียต่อไทย เพราะกลุ่ม BRN จะมีความชอบธรรมเพิ่มขึ้น และได้เปรียบฝ่ายรัฐไทยในการเจรจาครั้งต่อไป
คำพูดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คำกล่าวที่ว่า วงการสื่อมวลชนไทย มีอคติต่อเชื้อชาติและศาสนา ยังคงมีน้ำหนักเหนือความเชื่อในสันติวิธี  เพราะหากเชื่อในสันติวิธี  คนในพื้นที่เห็นว่า สื่อต้องเปลี่ยนวิธีการนำเสนอข่าวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่  มองความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็นความขัดแย้งทางการ เมือง ไม่ใช่แค่การปราบขบวนการอาชญากร ที่ภาครัฐเป็นฝ่ายธรรมะ และมี "อาชญากร" เป็นฝ่ายอธรรม  สื่อต้องเปิดพื้นที่ผู้ก่อความไม่สงบ ญาติพี่น้อง และประชาชนในพื้นที่ ได้แสดงออกถึงความคับข้องใจและอธิบายข้อเรียกร้องของเขา หาไม่แล้ว สื่อย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญต่อสันติภาพเสียเอง "
 
From now on we would like to see positive changes in the Thai media reporting and presentation and to  assume its role as supporter  and proponent of peace .
With regards,
Abu Hafez Al-Hakim - from out side the fence of Patani
Muharram/November 2013.