Skip to main content

 

color:#1D2129">วิชาการยาเสพติดในโลกนี้ ไปถึงไหนแล้ว

 

นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

 

 

color:#1D2129">ช่วงนี้ผมจะอยู่ที่ไต้หวัน มาร่วมงานประชุมวิชาการ Asia Pacific Society for Alcohol and Addiction Research (APSAAR) ซึ่งเป็นงานวิชาการเฉพาะเจาะจงเรื่องของแอลกอฮอล์ และสารเสพติดในระดับทวีป

color:#1D2129">การประชุมวิชาการเป็นสิ่งสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการ การเอาคนที่ทำงานด้านเดียวกัน มานัดพบกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อค้นพบใหม่ๆ กระบวนการวิธีการ ทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวในแต่ละพื้นที่ ทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมน่าจะพอได้ไอเดียอะไรกลับไปต่อยอดงานของตัวเองได้ color:#1D2129"> 
เนื่องจากงานวิชาการเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจพอสมควร เช่น ใช้ในการกำหนดนโยบาย ซึ่งมีผลต่อการกำหนดงบประมาณ หรือใช้สำหรับการผลิตยา หรือกระบวนการรักษาบางอย่างที่สามารถทำให้เป็นสินค้าได้ ดังนั้นองค์ความรู้เหล่านี้ต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่ง เอาแค่ค่าลงทะเบียนธรรมดาก็หมื่นกว่าบาท สำหรับการร่วมประชุมสี่วัน ยังไม่รวมค่าที่พักและเดินทาง ตัวนักวิชาการจึงต้องหวังเข้ามากอบโกยความรู้หรือไอเดียใหม่ๆ ให้คุ้มค่ากับการลงทุน

color:#1D2129">ในวันแรกของการประชุม มีการบรรยายที่น่าสนใจมาก ในเรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Gene therapy (ยีนบำบัด) ในการแก้ไขปัญหาการยาเสพติด หรือพฤติกรรมเสพติดอื่นๆ

color:#1D2129">โดยทั่วไปแล้ว การติดสารเสพติดของคนใดคนหนึ่ง นักวิชาการด้านนี้ได้แบ่งปัจจัยหลักๆเป็น 3 อย่าง และองค์ความรู้ในด้านวิชาการสารเสพติดจึงกระจายลงไปศึกษาในสามปัจจัยดังต่อไปนี้

color:#1D2129">นั่นคือ 
1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม 
2.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยด้านนี้ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจ ความเครียด สภาพแวดล้อมในสังคม สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ บริบทพื้นที่และสังคม เป็นต้น 
 3.ปัจจัยด้านตัวยา อธิบายให้ง่ายคือปกติแล้วมนุษย์เราจะมีชีวติอยู่ได้ หรือต้องการมีชีวิตต่อไปเพราะสามารถหาความสุขให้กับตัวเองได้ เมื่อมนุษย์ได้ทำกิจกรรมบางอย่างที่ตัวเองรักหรือชอบ สมองก็จะให้รางวัลแก่คนคนนั้น (reward effect) โดยการหลั่งสารสื่อประสาทที่ให้ความสุขออกมาก มนุษย์มีกิจกรรมเป็นล้านๆกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข บางคนก็มีความสุขกับการเล่นกีฬา ดนตรี เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช แต่สำหรับบางคนในชีวิตปกติ กิจกรรมที่ต้องทำทั่วไปในชีวิตประจำวันไม่สามารถทำให้ตัวเองมีความสุขได้ หรือต้องเผชิญกับความทุกข์มากมาย เช่น ความไม่รู้ การศึกษาน้อย ความยากจน การได้รับบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นต้น คนเหล่านี่จึงต้องหาสารเคมีบางอย่างที่สามารถหลอกสมองให้หลั่งสารแห่งความสุขออกมาได้ ให้เป็นสิ่งทดแทนสำหรับคนที่หาความสุขในชีวิตจริงไม่ได้ เมื่อใช้ไปนานๆเข้า สมองก็ต้องการสารเคมีเหล่านั้นมากขึ้น ใช้ในปริมาณเท่าเดิมก็ไม่ได้ความสุขแบบที่เคยได้รับ จึงต้องใช้มากขึ้น ใช้ถี่ขึ้น จิตใจก็โหยหาแต่ความสุขจาการเคมีตัวนั้นๆ ถึงตอนนั้นเราก็จะเรียกอาการเหล่านั้นว่าอาการเสพติดแล้ว

color:#1D2129">ดังนั้นองค์ความรู้ทั้งสามจะถูกนำมาพัฒนาเป็น ยา เป็นกระบวนการรักษา หรือเป็นนโยบาย ตามแต่จะสามารถ ซึ่งนี่คือผลลัพธ์สุดท้ายของงานวิชาการ

color:#1D2129">กลับมาที่ประเด็นที่ผมจะนำเสนอ ความรู้เรื่อง Gene therapy เป็นองค์ความรู้ที่มีอายุไม่นาน แต่ก้าวหน้าและพัฒนาไปเร็วมาก ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการแก้ปัญหายาเสพติดเท่านั้น แต่องค์ความรู้นี้ถูกเอาไปใช้ในการแพทย์ด้านอื่นๆด้วย เช่น การใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โรค metabolic ต่างเช่น (ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน) เอาเข้าจริงๆแล้วแทบทุกโรคล้วนมีผลจากพันธุกรรมทั้งนั้น

color:#1D2129">Gene therapy เอามาใช้ทำอะไรบ้างในวิชาการสารเสพติด
ตอนนี้เป็นเรื่องที่คนในวงการจิตแพทย์หรือนักวิชาการสารเสพติดรับรู้โดยทั่วกันแล้วว่า พันธุกรรมนั้นมีส่วนสำคัญในการทำให้ใครคนใดคนหนึ่งติดสารเสพติด เคยมีการศึกษาเอาลูกที่มีพ่อแม่ติดสุราเทียบกับลูกที่พ่อแม่ได้ติดสุรามาเทียบกัน พบว่าลูกของครอบครัวติดสุราจะมีโอกาสติดสุรามากกว่า ซึ่งมีอีกหลายงานวิจัยที่สำรวจจากผลลัพธ์ที่แสดงออกเป็นอาการ 
แต่ตอนนี้การศึกษามันไปลึกถึงระดับ Gene หรือ DNA ไปแล้ว ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าการมี Gene บางตัว จะทำให้คนคนนั้นมีความเสี่ยงในการติดสารเสพติดมากกว่าคนที่ไม่มี ที่อเมริกา มีการทำสถิติเทียบกันระหว่างชนชาติต่างๆ แล้วมาดูกันว่าคนชนชาติเหล่านี้มี Gene ที่ทำให้ติดสารเสพติดง่ายขึ้นกี่เปอร์เซ็นของคนในเชื้อชาตินั้นๆ ซึ่งผลออกมาน่าสนใจมากว่า แต่ละชนชาตินั้นมีตัวเลขที่แตกต่างกัน กลุ่มคนที่น้อยที่สุดคือ กลุ่มเชื้อชาติยิวที่พบเพียง 6% ส่วนมากที่สุดคือ Native American ที่พบมากถึงประมาณ 70% 
องค์ความรู้เหล่านี้ถูกพัฒนามาเป็นดัชนีการพยากรณ์ที่ชื่อว่า Genetic Addiction Risk Score (GARS) ซึ่งจะบอกว่าคนเหล่านี้จะมีโอกาสติดสารเสพติดมากนอกแค่ไหน นอกจากจะเอามาใช้ในการพยากรณ์แล้ว อนาคตมันจะถูกต่อยอดเพื่อเอามาใช้รักษาอาการติดสารเสพติดทุกชนิด ไม่ใช่ชนิดใดชนิดหนึ่งแบบที่เราพยายามทำอยู่ในปัจจุบัน

color:#1D2129">ความรู้เรื่อง Gene กับเรื่องพฤติกรรมเสพติดนี้ ยังทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่า คนที่มี Gene ที่แตกต่างกัน ควรคาดหวังผลลัพธ์ในการบำบัดอาการเสพติดได้มากแค่ไหน และตอบสนองการรักษาให้คนเหล่านี้อย่างเหมาะสม

color:#1D2129">ความเข้าใจเรื่อง Gene บวกกับเรื่อง สารเคมีในสมองที่กล่าวมาข้างต้นนี่เอง ที่ทำให้โลกเปลี่ยนมุมมองคนใช้ยาเสพติดจากอาชญากรไปเป็นผู้ป่วย ซึ่งนักวิชาการเหล่านี้จะต่อต้านการใช้นโยบายที่รุนแรงต่อการปราบปรามยาเสพติดอย่างมาก นักวิชาการที่ใช้วิทยาศาสตร์ในการอธิบายพฤติกรรมการเสพติด บอกไว้ล่วงหน้าเลยว่า ประเทศที่ใช้สงครามยาเสพติด จะไม่ทำให้ยาเสพติดหมดไปจากประเทศ แต่จะผลักดันให้เกิดยาเสพติดชนิดใหม่ขึ้นมา เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดเดิมนั้นเป็นโรคสมองติดยา และสมองนั้นจะสั่งการให้ผู้ใช้ยาเสพติดหายาเสพติดมาสนอง ต้องก่ออาชญากรรมเพื่อหายาให้ได้ ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องหาสารเคมีตัวอื่นมาทดแทน จึงทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดต้องทดลอง หาสารเคมีตัวใหม่ที่ให้ความสุขมาทดแทน และรัฐบาลก็ต้องต่อสู้กับสงครามยาเสพติดที่ไม่มีวันจบสิ้นแทน (ในกรณีของไทยเคยเปลี่ยนเทรนด์ของยาเสพติดมาหลายครั้ง ตั้งแต่ ฝิ่น-->เฮโรอีน-->กัญชา-->ยาบ้า,ไอซ์-->กระท่อม)

color:#1D2129">องค์ความรู้ที่พัฒนากันไปทุกวัน ด้วยหวังว่าเพื่อนมนุษย์จะมีชีวิตที่ดีขึ้นและโลกก็จะน่าอยู่ขึ้น มโนคติแบบโลกสวยแบบนี้แหละ ที่ทำให้งานวิชาการยังก้าวหน้าไปต่อได้ และหวังว่าสักวันหนึ่งงานวิชาการที่นักวิชาการด้านสารเสพติดทำกันอยู่ คงทำให้เหยื่อของสารเสพติดน้อยลงไป หรือไม่มีเลยก็น่าจะดี

 

color:#1D2129">

ปล. บทความนี้สรุปจากการบรรยายของ color:#1D2129">Prof.Kenneth Blum จาก University of Southern California, USA
บรรยายหัวข้อ Genetic Addiciton Risk Score (GARS) Predicition Severity Index - MV Alcohol and Drug - Risk score in Multi-Center Study