Skip to main content

ศอ.บต.ตั้งผู้เชี่ยวชาญไทย – มลายู – อังกฤษ พิจารณาตั้งป้าย 3 ภาษา แถมจีนบางพื้นที่ เน้นรักษาอัตลักษณ์คนชายแดนใต้ เริ่มที่ป้ายบอกเมือง คาดติดได้ช่วงฉลองสิ้นสุดรอมฎอน ส่วนป้ายบอกทางดำเนินการปีหน้า

ป้าย3ภาษา

ป้าย 3 ภาษา – ป้ายบอกทางตามถนนหนทาง รวมทั้งป้ายสถานที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ภาคใต้ ะเริ่มเปลี่ยนเป็นป้าย 3 ภาษาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2555 เป็นต้นไป โดยจะเพิ่มข้อความภาษามลายูอักษรยาวีอีกหนึ่งแถว ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) เห็นชอบ

นางอลิสรา มะแซ ผู้ช่วยรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เปิดเผยว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาและคณะทำงานจัดทำป้าย 3 ภาษาแล้ว เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา โดยมีจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านภาษาทั้ง 3 ภาษาดังกล่าว และมีคณะที่ปรึกษาอีก 9 คน

นางอลิสราเปิดเผยต่อไปว่าคณะทำงานชุดนี้ มีหน้าที่ในการพิจารณา แนวทางการทำงาน การออกแบบป้ายชื่อภาษาที่ถูกต้อง การใช้ตัวอักษร อักขระให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และเป็นไปตามอัตลักษณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะที่ปรึกษา พร้อมกับการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง

นางอลิสราเปิดเผยอีกว่าเดิมคณะทำงานตั้งใจว่าจะให้มีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ 3 ภาษาดังกล่าวให้ได้ก่อนเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม ที่จะเริ่มประมาณวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 นี้ โดยเริ่มจากป้ายบอกเมืองก่อน แต่เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการทำงาน จึงคาดว่าป้ายดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงวันฮารีรายอ หรือวันสิ้นสุดของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ส่วนการติดตั้งป้ายบอกทางริมทางหลวงที่มี 3 ภาษานั้น คณะทำงานคาดว่าจะเริ่มจัดทำได้ในปี 2556

ป้าย3ภาษา2

ส่วนป้ายทางเข้าสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา มีการเพิ่มข้อความภาษามลายูอักษรยาวีแล้ว 

 

ทั้งนี้ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ 122/2555 ระบุว่า ศอ.บต.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้ง 1/2555 เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 ที่เห็นชอบให้รณรงค์การจัดทำป้ายชื่ออย่างน้อย 3 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษามลายูถิ่น รวมทั้งภาษาจีนในพื้นที่ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับรายชื่อคณะทำงาน ประกอบด้วย

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">1) นายฐานิส ศรียะพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นประธานคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">2) รศ.ดร.รัตติยา สาและ อาจารย์มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">3) นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน อาจารย์ประจำภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">4) นายมัสลัน มาหะมะ อาจารย์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">5) แขวงการทางจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">6) นายสะมะแอ มะแซ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครองอำเภอมายอ เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">7) นายมาโนช บุญญนุวัฒน์ อุปนายกพุทธสมาคมจังหวัดยะลา เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">8) นายสุขเกษม จารง เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">9) นายชาลี เร็งมา เป็นคณะทำงาน

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">10)ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรมและกีฬา เป็นคณะทำงานและเลขานุการ

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">11)นางอลิสรา มะแซ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (ตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม หรือ วธ.) เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">12)นางสาปีน๊ะ ประชัยเทพ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

ส่วนรายชื่อคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">1.เลขาธิการ ศอ.บต.

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">2.นายประมุข ลมุล รองเลขาธิการ ศอ.บต.

mso-fareast-font-family:Tahoma">3.นายอดินันท์ ปากบารา รองเลขาธิการ ศอ.บต.

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">4.นายฐานิส ศรียะพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">5.ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">6.นายวิเชียร จันทรโณทัย รองเลขาธิการ ศอ.บต.

7.ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

 

mso-fareast-font-family:Tahoma">8.ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา

9.ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน