Skip to main content

 

ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านในจังหวัดชายแดนใต้ คือ อะไร ตอนที่ 1

 

อัญชนา  หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ

เมื่อหลายปีก่อนข้าพเจ้าได้ฟังบรรยายจาก ดร.แพทริค แบรอน ผู้อำนวยการภูมิภาค โครงการความขัดแย้งและการพัฒนา มูลนิธิเอเชีย เมื่อ ปี 2558 เรื่อง ความยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านคืออะไร? ซึ่งก็ได้ทำความเข้าใจว่า ความยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) คือชุดของกลไกชั่วคราวที่ช่วยรัฐและสังคมในการจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายภายหลังช่วงเวลาของความขัดแย้งหรือหลังระบอบเผด็จการดังเช่นที่เคยเกิดในช่วงทศวรรษ 1980 (ช่วงทศวรรษที่ 2520) ซึ่งเป็นช่วงของ คลื่นลูกที่สามแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย (Third Wave of Democratic Transitions) และเมื่อปี 2559 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกับองค์กร Swiss Peace อีกครั้งเรื่อง การจัดการกับปัญหาในอดีต (Dealing with the Past -DwP)  ที่ได้อธิบายถึงการจัดการกับปัญหาในอดีตว่า การจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากทีเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางใหม่ที่เกิดจากผลพวงของความขัดแย้งที่รุนแรงหรือการปกครองโดยเผด็จการ การจัดการกับปัญหาในอดีตคือการให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับผลที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตในลักษณะที่ครอบคลุมและรอบด้านและมีศักยภาพที่จะพัฒนาความสงบสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคม กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ยาวนานและเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของกิจกรรมรวมถึงการหยิบยกรากเหง้าของความขัดแย้งมาดำเนินการด้วย

ล่าสุดข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมที่จัดโดย AJAR หรือ Asia Justice and Rights ทำให้เข้าใจคำว่า ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและการจัดการกับปัญหาในอดีตมากขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและการจัดการกับปัญหาในอดีตคือเรื่องเดียวกันนั่นก็คือ TJ หรือ DwP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับอาชญากรรมจำนวนมากหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นในระหว่างความขัดแย้ง TJ หรือ DwP  มีกรอบแนวคิดที่เหมือนกันอยู่สี่ประการนั่นก็คือ

·        การค้นหา   Truth seeking หรือ สิทธิในการรับรู้ ( Right to know ) นั่นก็คือ สังคมและบุคคลมีสิทธิที่จะทราบความจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดความความขัดแย้ง และตระหนักถึงความสำคัญของการระลึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการเยียวยารักษาผู้ได้รับผลกระทบและสังคมโดยรวม  นอกจากนี้กฎหมายระหว่างประเทศได้ตระหนักอย่างชัดเจนถึงสิทธิของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและผู้รอดชีวิตที่จะทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงของของพวกเขาและเกี่ยวกับผู้ที่ต้องรับผิดชอบหรือระบอบการปกครองที่กดขี่   นอกจากนี้ยการจงใจที่จะเขียนประวัติศาสตร์และปฏิเสธการสังหารโหดเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ในอดีต  การแสวงหาความจริงจึงก่อให้เกิดการสร้างประวัติศาสตร์ที่ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำ และยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พวกเขาได้รับความเดือดร้อนเช่นชะตากรรมของบุคคลที่หายไปหรือทำไมคนบางคนทำไมต้องตกเป็นเป้าหมายของการละเมิด

·        การสืบสวนดำเนินคดี Prosecution หรือ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม (Right to justice ) นั่นก็คือการสืบสวนและการดำเนินคดีกับผู้นำที่ทรงอำนาจเช่นนักการเมืองหรือทหาร การดำเนินคดียังคงเป็นความต้องการที่สำคัญของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ เมื่อดำเนินการในรูปแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ' ความต้องการและความคาดหวังของพวกเขามีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูศักดิ์ศรีของพวกเขาและการนำความยุติธรรมให้กับผู้ที่เป็นเหยื่อ และเพื่อลดช่องว่างของการไม่รับผิดในอาชญากรรมที่ร้ายแรงโดยเฉพาะการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การฟ้องร้องไม่สามารถบรรลุความยุติธรรมได้เพียงกลไกเดียวเพราะธรรมชาติของอาชญากรรมที่ร้ายแรง มักจะไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบยุติธรรมทางอาญาปกติได้ เพราะวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีกับอาชญากรรมที่ร้ายแรงมักจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ที่วางแผนและผู้กระทำอาชญากรรมในระดับสูงมากกว่าดำเนินคดีเฉพาะผู้ที่มียศต่ำกว่าหรือมีความรับผิดชอบในระดับล่าง

·         การชดเชยเยียวยา Reparation หรือ สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยา (Right to reparation) นั่นก็คือ การชดใช้เยียวยาจะไม่แก้ปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอดีตที่เป็นผลมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงและสร้างสันติภาพได้ในทันที และไม่สามารถแก้ไขได้เฉพาะในระดับบุคคลและส่วนรวม การชดเชยเยียวยาเป็นกระบวนการหนึ่งไม่ใช่การกระทำเพียงครั้งเดียว หรือการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว  ในที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินและรูปแบบต่างๆของการให้ความช่วยเหลือ สิ่งที่สำคัญคือไม่เฉพาะรูปแบบที่จะชดใช้ให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในรูปการเงินหรือวัตถุสิ่งของ แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น   มาตรการที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนมุมมองทางการเมืองและสังคมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ  การชดใช้เป็นกระบวนการทางการเมืองที่พยายามที่จะสร้างและฟื้นฟูชุมชนเพื่อที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับการยอมรับและเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการเมืองและสังคม

·        การปฏิรูปเชิงสถาบัน Institutional Reform หรือ การรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก ( Guarantee of non-recurrence ) นั่นก็คือ การปฏิรูปสถาบันของรัฐที่เกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้วัดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านที่ส่งเสริมความรับผิดชอบและช่วยป้องกันการเกิดซ้ำของการละเมิด ในสังคมที่ฟื้นตัวจากการทารุณและการกดขี่ รวมถึงการมุ่งเน้นไปที่ความยุติธรรมสำหรับการละเมิดที่ผ่านมา  สถาบันต่างๆ เช่นตำรวจ ทหารและตุลาการ- มักจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อเปลี่ยนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นการปฏิรูปสถาบันดังกล่าวมีความสำคัญ  การปฏิรูปสถาบันเป็นกระบวนการของการตรวจสอบและการปรับโครงสร้างสถาบันของรัฐเพื่อให้พวกเขาเคารพสิทธิมนุษยชน    รักษาหลักนิติธรรม และมีความรับผิดชอบ   โดยผสมผสานองค์ประกอบของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและความพยายามในการปฏิรูปทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดของแต่ละบุคคลและยุติโครงสร้างที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

กรอบแนวคิด Transitional justice และ Dealing with the past

ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

(Transitional Justice)

การจัดการกับปัญหาในอดีต

(Dealing with the past)

การค้นหา   Truth seeking

สิทธิในการรับรู้  Right to know

การนำคนผิดมาลงโทษ Prosecution

สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม Right to justice

การชดเชยเยียวยา Reparation

สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยา Right to reparation

การปฏิรูปสถาบัน Institutional reform

การรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุซ้ำ Guarantee of non-recurrence

 

 

ทั้งนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงก็คือ  เหยื่อหรือผู้เสียหาย Victims  คือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือได้รับความสูญเสียจากความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สิน  ผู้กระทำผิด Perpetrators  คือผู้ทำร้ายบุคคลอื่น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน  ซึ่งทั้งเหยื่อและผู้กกระทำผิดต่างก็ได้รับความเจ็บปวดจากความรุนแรงไม่แตกต่างกันเช่น ภาวะซึมเศร้านอนไม่หลับ หรือการหวนคิดซ้ำถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา และนั่นก็ส่งผลต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเขาและครอบครัว  ดังนั้นความสำคัญของความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านเหยื่อและผู้กระทำผิดก็คือสามารถมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้โดยปราศจากความรู้สึกว่าตนเองเป็นเหยื่อตลอดเวลา การต้องการแก้แค้นต่อผู้กระทำ และในส่วนของผู้กระทำผิดคือการทำให้เขาไม่กระทำผิดอีกต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการทำให้คนสองกลุ่มนี้กลับมาเป็นประชาชนแบบทั่วไปๆ นั่นเอง

ในครั้งต่อไปข้าพเจ้าจะนำเสนอว่า   TJ และ Dwp เกี่ยวข้องอย่างไรกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้

เอกสารอ้างอิง

สืบค้นเพิ่มเติม

Swisspeace, A Conceptual Framework for Dealing with the Past archivesproject.swisspeace.ch/.../DwP_Conceptual_Framework_October

What is Transitional Justice?  https://www.ictj.org/about/transitional-justice

Truth-seeking, Memory, and Memorials | ICTJ https://www.ictj.org/our-work/transitional-justice-issues/truth-and-memory

Justice, truth and reparation in the Colombian peace process - NOREFnoref.no/var/ezflow_site/.../5e7c839d7cf77846086b6065c72d13c5.pdf

Institutional Reform - The International Center for Transitional Justice  https://www.ictj.org/our-work/transitional-justice.../institutional-reform

Dealing with the Past and Transitional Justice: Creating ... - Swisspeacewww.swisspeace.ch/.../Sisson__Jonathan__Dealing_with_the_Past_and_Transitional_J