โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้มีวิสัยทัศน์ไกลให้ความสำคัญภาษาจีนท่ามกลางความรุนแรงล่าสุด
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน
เหตุลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้ากว่า 50 ต้น กระจายในเกือบ 20 อำเภอของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงกลางดึกคืนวันที่ 6 ต่อเนื่องวันที่ 7 เม.ย.60 (https://www.isranews.org/south-news/other-news/55288-pole-55288.html) และเหตุคนร้ายสร้างสถานการณ์ความรุนแรงอย่างน้อย 13 จุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และสงขลา โดยส่วนใหญ่เป็นการปาระเบิดและลอบยิงโจมตีฐานที่มั่นของตำรวจ
https://www.isranews.org/south-news/other-news/55586-dead-55586.html
ทั้งสองเหตุการณ์มีการวิเคราะห์การกระทำต่างๆนานาว่าเป็นฝีมือของขบวนการบ้าง ฝ่ายรัฐบ้างเพื่องบประมาณ หรือกระทั่ง มีการอ้างว่าเหตุการณ์วันที่ 19 เมษายน 2560 เป็นผลงานของ PULA (Patani United Liberation Army)
ที่มา http://patanipost.net/2017/04/19/pula-mengaku-bertanggong-jawab-atas-ser...
และล่าสุดมีการลอบยิงทหารพราน 6 นายที่นราธิวาส
ทังสองเหตุการณ์ใหญ่มีข้อที่น่าสังเกตว่า มีการสูญเสียน้อยมาก ยกเว้นครั้งที่สามที่มีการสังหารทหารพราน แต่ก็เป็นการโจมตีที่พยายามหลีกเลี่ยงเป้าหมายอ่อน (Soft Target) แต่เน้นเป้าหมายแข็ง (Hard Target) จะอย่างไรก็แล้วแต่ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจสำหรับครอบครัวญาติผู้เสียชีวิต ผู้ได้ผลกระทบไม่ว่าร่างกาย ทรัพย์สินและผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือการดำเนินชีวิตเพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายอิสลามนั้นปราชญ์โลกมุสลิมจะรู้จักในนาม مقاصد الشريعة (Maqasid al-Shariah)ผดุงไว้ห้าประการหลัก
1. ศาสนา 2. ชีวิต 3. สติปัญญา 4. ทรัพย์สิน 5. เชื้อสาย (ตระกูล)
เหตุการณ์ในอดีตหลายครั้งเป้าหมายอ่อน (Soft Target) จะเป็นเป้าหมายในการต่อรอง
เป้าหมายอ่อน (Soft Target) คือกลุ่มคนที่ไม่มีความสามารถในการป้องกันตัวและตอบโต้ด้วยอาวุธ เมื่อได้รับการโจมตี ดังนั้นคนชรา ประชาชนทั่วไป สตรีและเด็กถือว่าเป็นเป้าหมาย“อ่อน”
ในขณะที่เป้าหมายแข็ง(Soft Target) คือบุคคลที่มีความสามารถป้องกันตัวและตอบโต้ด้วยอาวุธ เมื่อได้รับการโจมตี ซึ่งจะถึงทหาร ทหารพราน ตำรวจ อส. ชรบ. และบุคคลที่พกพาอาวุธประจำตัว
จากการโจมตีครั้งนี้สะท้อนว่าเสียงของประชาชน ประชาสังคมได้รับการรับฟังในภาวะสงครามคู่ขัดแย้งระหว่างรัฐกับขบวนการที่เรียกร้องตลอดไม่ว่าเรื่องการโจมตีผู้บริสุทธิ คนชรา ประชาชนทั่วไป สตรีและเด็กหรือ การกำหนดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) แต่อดเป็นห่วงไม่ได้ว่ารัฐจะใช้วิธีนอกกฎหมายเช่นกันเก็บผู้ต้องสงสัยซึ่งหวังว่าต่อไปสงครามต้องอยู่ภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Humanitarian Law (IHL) และเจตนารมณ์ของกฏหมายอิสลาม
การโจมตีเป้าหมาย “อ่อน” ในภาวะสงคราม ไม่มีความชอบธรรม (legitimacy) ใดๆ ต่อคู่ต่อสู้แต่กลับผลักให้มวลชนไปอยู่อีกฝ่าย
ท่ามกลางความรุนแรงดังกล่าวโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ให้ความสำคัญภาษาจีนกล่าวคือ
สมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นำตัวแทนคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งสิ้น ๖ จังหวัด ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เมืองซีอาน และเมืองอู๋ฮั่น ประเทศจีน โดยได้มีโอกาสทำข้อตกลงความร่วมมือกัน ระหว่างสมาพันธ์ฯ กับมหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในประเทศจีน เพื่อแลกเปลี่ยนนักเรียน และครู รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่นๆ
ตัวแทนคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการภาค ๘ จัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้จัดทำโครงการค่ายภาษาและวัฒนธรรมจีน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กองกิจการต่างประเทศ ศอ.บต. จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท มีนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า ๒๐๐ คน แต่มีตัวแทนนักเรียนได้รับการคัดเลือกเพียง ๑๒๐ คน ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวส เมืองซีอาน ประเทศจีน ส่งวิทยากรมาช่วยฝึกอบรม พร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรการเรียนขั้นพื้นฐานให้กับนักเรียน เป็นเวลา ๕ วัน ระหว่าวันที่9 - 14 มีนาคม 2560การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม และในระหว่างจัดกิจกรรมค่ายภาษา ได้รับเกียรติจากท่าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เดินทางมาพบปะเยี่ยมเยียนนักเรียนในค่ายภาษา ณ ห้องประชุมขุนศิลป์ สำนักงานศึกษาธิการภาค ๘ และมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่สนใจ ที่จะเข้าร่วมโครงการ Chainese Language Summer Camp จำนวน ๕ ทุน ต่อไป
กิจกรรมต่อมา เป็นการรับสมัครนักเรียนที่สนใจ โครงการ Chainese Language Summer Camp ซึ่งแบ่งนักเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่ม ๑ เดือน จำนวน ๒๒ คน กับ กลุ่ม ๓ เดือน จำนวน ๑๐ คน และมีครูพี่เลี้ยงไปช่วยดูและอีก จำนวน ๒ คน รวมทั้งสิ้น ๓๔ คน ที่เดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศจีน โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวส ในการจัดกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ โดยมีวันเวลาในการเดินทางไปกลับ ดังนี้
กลุ่ม ๑ เดือน ระหว่างวันที่ ๒๐ เมษายน – ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
กลุ่ม ๓ เดือน ระหว่างวันที่ ๒๐ เมษายน – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ถึงแม้ความรุนแรงชายแดนไม่หยุดแต่คาดว่าการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ครั้งนี้ที่หันไปให้ความสำคัญกับจีนนั้นจะทำให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความสนใจที่จะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ณ ประเทศจีน มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาต่อในคณะ ในมหาวิทยาลัยที่นักเรียนมีความสนใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น
กล่าวโดยสรุปการดำเนินโครงการครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับวงการการศึกษาโดยเฉพาะชายแดนใต้ที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและเป็นมิติใหม่ในการเปิดโลกการศึกษาอย่างแท้จริงเพราะเดิมจังหวัดชายแดนใต้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในตะวันออกลางและอาเซียนและจะทำให้รัฐมองพวกเขาใหม่ในมิติความมั่นคง
ขอคุณข้อมูลและภาพจาก
สมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
เราพี่น้องกัน (22/4/60)