วิกฤตตะวันออกกลางควรใช้กระบวนการทางการทูต
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนหรือตรงกับวันที่ 10 เดือนรอมฎอน ตามปฏิทินอิสลามซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของโลกมุสลิมชาติสมาชิกกลุ่ม สันนิบาตอาหรับ (ประเทศมุสลิม) ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อียิปต์, หลังจากนั้น ลิเบีย, เยเมน และ มอริเตเนีย นอกจากนี้ยังมี มอริเชียส และ มัลดีฟส์ ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกาตาร์ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า รัฐบาลโดฮา ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย และแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น ในขณะ ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตทางการทูตครั้งนี้ ได้แก่1.สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิม 2.ท่าทีต่ออิหร่าน 3.ความขัดแย้งในเขตปกครองด้านตะวันออกของลิเบีย
ส่วนวันที่ 7 มิถุนายน 2560 รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดีอาระเบียแถลงจุดยืนสำคัญว่ากาตาร์จะเลือกใครระหว่างกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและขบวนการฮามาส เพื่อแลกกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจกับพวกเรา ซึ่งสอดคล้องกับนักวิเคราะห์ทั่วโลกว่า ประเทศเหล่านี้ต้องการกำจัดภราดรภาพมุสลิมและขบวนการฮามาสเพราะกลัวอำนาจและบรรลังก์ของตนในประเทศจะสั่นสะเทือนหลังเกิดอาหรับสปริงส์เพียงแต่ไม่มีโอกาสเท่านั้น และกระทบฃิ่งไปที่สื่ออัลจาซีเราะห์ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดเชิงปฏิรูปการเมือง การปกครองสังคมอาหรับ ซึ่งได้โอกาสตัดสัญญาณสื่อนี้ในประเทศตนด้วยเช่นกัน
ในความเป็นจริงแล้วกาตาร์เองไม่ใช่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ถูกตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต และโลกอาหรับก็มีความขัดแย้งตลอดมาในอดีตถ้าเข้าใจพลวัตการเมืองโลกอาหรับ
สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ามีหลายประการ เช่น1. ความมั่นคงทางด้านอาหารโดยกาตาร์นำเข้าจากเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเดือนถือศีลอด 2. การเงินและลงทุน ที่จะมีผลต่อว่า “ภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนและตลาดหุ้น 3.การก่อสร้างไม่ว่าวัสดุที่นำเข้า ตลอดจนคนงานจากอียิปต์ที่เข้าไปทำงาน 4. การเป็นเจ้าฟุตบอลโลกอีก 5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญที่สุดไม่เฉพาะความแตกแยกระดับผู้นำแต่จะส่งผลต่อผู้นำศาสนาที่เริ่มนำหลักศาสนามาสนับสนุนทั้งสองฝ่าย อันส่งผลต่อมวลชนมุสลิมทั้งในโลกอาหรับ มุสลิมอาเซี่ยนหรือแม้แต่สังคมมุสลิมไทยซึ่งเริ่มใช้โซเซียลมีเดียโจมตีซีงกันและกัน
หากปล่อยให้ความขัดแย้งนี้ดำเนินต่อไปผลกระทบก็จะมีมากขึ้นและจะส่งผลต่อสันติภาพโลกซึ่งโลกอาหรับเองก็มีสงครามกลางเมืองอยู่ทั่วไม่ว่าอิรัค ซีเรียและ เยเมน
ดังนั้นในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐและวันอีดิลฟิตร์ที่จะมีขึ้นประมาณวันที่ 25 หรือ 26 มิถุนายน 2560 ขอพรต่อพระเจ้าให้วิกฤตครั้งนี้ผ่านไปด้วยดีโดยใช้การฑูตอย่างสันติเจรจารวมทั้งสนับสนุนแนวคิดผู้นำตุรกีประธานาธิบดีแอร์โดฆอนที่มีความกระตือรื้อรนในการประสานใกล่เกลี่ยระหว่างขั้วทั้งสองซึ่งท่านได้กล่าวไว้เนื่องในงานละศีลอดแก่คณะทูตานุทูตประเทศมุสลิมในอังการ่าว่า ”โปรดดู https://youtu.be/-cA06rfyzkA”
แต่ก็มิได้หมายความว่าตุรกีจะมีความเหมาะสมทางการฑูตในการเป็นคนกลางที่จะให้ทั้งสองฝ่ายมาคืนดีกันเพราะจุดยืนของตุรกีอีกฝั่งหนึ่งมองว่าหนุนกาตาร์ดังนั้นก็ควรมีองค์กรที่เป็นกลางพร้อมเป็นคนกลางให้ทั้งสองขั้วดีกันได้โดยวางเหตุผลว่าฉันถูก คุณผิด และยึดประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเป็นภัยที่ร้ายกว่าหากเกิดสงครามหรือความสัมพันธ์ที่ยังคงตึงเครียดเช่นนี้เพราะตลอดอาทิตย์นี้ผู้เขียนมีทัศนะว่าเพียงพอแล้วในการอธิบายเหตุผลแต่ละฝ่ายหรือแนวร่วมแต่ละฝ่าย