“รายอแน” ระหว่างวัฒนธรรมชุมชนกับศาสนพิธี คิดต่างได้แต่อย่าทะเลาะกัน
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
http://www.oknation.net/blog/shukur
"มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัล ลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน"
“รายอแน” เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประเพณี แม้ไม่มีระบุในคำสอนของศาสนาก็คือ จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองกันอีกครั้ง มีการทำอาหารเลี้ยงกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่เสียชีวิต เยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) ทำความสะอาดกุโบร์ และอ่านอัลกุรอาน มุสลิมมลายูที่นี่เรียกวันนี้ว่า “รายอแน”
ในปีนี้วันรายอแนตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม 2560 เหตุที่เรียกว่า “รายอแน” มาจากภาษามลายู เพราะ “แน” แปลว่า “หก” หมายถึงการถือศีลอดเพิ่มอีก 6 วันในเดือนเชาวาลนั่นเอง และเป็นสิ่งที่พี่น้องมลายูมุสลิมปฏิบัติสืบเนื่องกันมากระทั่งถึงทุกวันนี้
ทำไม มุสลิมมลายูมุสลิมชายแดนใต้จึงจัดให้มีรายอแน ทั้งๆที่ไม่มีระบุในหลักศาสนาหรือวิถีวัฒนธรรมของชาวอาหรับ หรือชุมชนมุสลิมประเทศอื่น
ครับ ผู้เขียนมีทัศนะว่านี่น่าจะเป็นอุบายหรือเป็นความชาญฉลาดของผู้รู้ในอดีตที่เป้าประสงค์หลายประการดังนี้
1. ต้องการให้คนในหมู่บ้านได้ถือศีลอด หกวัน หลังรอมฎอน เพราะการถือศีลอดในหกวันของเดือนรอมฎอนนั้น ท่านศาสนทูตสนับสนุน ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ความว่า
“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน แล้วเขาได้ถือศีลอดต่ออีกหกวันในเดือนเชาวาล นั่นเสมือนกับว่าเขาได้ถือศีลอดถึงหนึ่งปี” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1164)
โต๊ะครูในอดีต จึงนัดชาวบ้านทำอาหาร เพื่อขอบคุณพระเจ้าที่เขาและชุมชนโดยเฉพาะคนแก่ๆสามารถถือศีลอดเต็มหกวัน ซึ่งไม่ใช่ง่ายเช่นกันที่แต่ละคนจะทำได้ และ จึงเรียกวันวันนั้นว่า รายอแน เป็นคำเรียกด้านภาษา มิใช่รายอ หรือความหมายตามศาสนบัญญัติซึ่งในอิสลามมีเพียงสองวันเท่านั้น คือ อิดิลฟิตรฺ และอีดิลอัฎฮา
โดยท่านศาสนฑูตมูฮัมมัด ได้กล่าวไว้ความ ว่า "อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนสองวันนี้ (ที่พวกท่านกำลังฉลองอยู่ตามประเพณีอาหรับโบราณ) ด้วยสองวันอันประเสริฐยิ่งกว่า คือ วันอีดิ้ลฟิตรฺ และวันอีดิลอัฎฮา"
ซึ่งหาก มุสลิมคนใดถือว่าวันนี้ เป็นวันหรือคำด้านศาสนบัญญัติก็จะเป็นบิดอะห์ทันที และผมก็มั่นใจว่าอุลามาอ์ในอดีตคงมีองค์ความรู้พอ เพียง อุลามาอ์รุ่นหลังจะต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจ
ประเด็นต่อมา การเยี่ยมเยียน ญาติพี่น้อง อันเนื่องมาจากคนมลายูมุสลิมมีญาติเยอะและนิยมเยี่ยมญาติ การเยี่ยมญาติหรือแม้กระทั่งสุสานญาติไม่ว่าฝ่ายสามี หรือภรรยา ในวันอีดเพียงวันเดียวไม่เพียงพอต้องใช้เวลา
ครั้นจะเยี่ยมญาติต่อเลยในวันอีดดิลฟิตร์ ก็ติดกับการถือศีลอดอีกหกวัน ซึ่งถ้าหยุดการถือศีลอดหลายๆวัน เขาก็กลัวว่าจะไม่สามารถต่อให้ติด ดังนั้นจึงตัดสินใจถือศีลอดต่อ พอถือศีลอดเสร็จ วันที่เจ็ดจึงตั้งเป็นประเพณี ให้วันเยี่ยมญาติกัน และเป็นที่รู้ก็ของชาวบ้าน ซึ่งการเยี่ยมญาติ การเยี่ยมสุสานศาสนาสนับสนุนอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นการนัดจนเป็นประเพณี จึงง่ายในการจัดการชุมชน ซึ่งมันไม่ใช่อีบาด๊ะห์ที่เจาะจง
2. ประเพณีการละหมาดตัสบีฮฺ ในวันนี้ก็เช่นกันขอชี้แจงดังนี้
การละหมาดตสบีฮฺตามหลักศาสนาพบว่ามีหะดีษเกี่ยวกับการละหมาดตัสบีฮฺนั้นรายงานโดยอบูดาวูด, อิบนุมาญะฮฺ ; อิบนุ คุซัยมะฮฺในซ่อฮีฮฺของเขา และอัฏฏอบรอนีย์ และมีการรายงานจากสายรายงานมากมายและกลุ่มหนึ่งจากเหล่าซอฮาบะฮฺ ดังที่อัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัรกล่าวเอาไว้ อาทิเช่น หะดีษของอิกริมะฮฺ อิบนุ อับบ๊าสฺ ซึ่งท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวในหะดีษนั้นกับท่านอัลอับบ๊าส อิบนุ อับดิลมุฏฎ่อลิบว่า : “หากว่าท่านสามารถที่จะละหมาดตัสบีฮฺ 1 ครั้งในทุก ๆ วัน ท่านก็จงทำเถิด และถ้าหากท่านไม่สามารถก็ให้ละหมาดในทุกศุกร์ (สัปดาห์) 1 ครั้ง ถ้าหากท่านไม่ทำก็ให้ละหมาด 1 ครั้งในทุก ๆ ปี และถ้าหากท่านไม่ทำก็ให้ละหมาด 1 ครั้งในชั่วชีวิตของท่าน”
นักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งถือว่าหะดีษนี้ถูกต้อง (ซ่อฮีฮฺ) ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : อัตติรมีซีย์กล่าวว่า : แท้จริงมีหะดีษมากกว่า 1 บทถูกรายงานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ในเรื่องละหมาดตัสบีฮฺ และมีจำนวนมากไม่ซ่อฮีฮฺ ท่านอิบนุ อัลมุบาร็อกและท่านอื่น ๆ จากนักวิชาการมีความเห็นว่าส่งเสริมให้ละหมาดตัสบีฮฺและพวกเขาได้ระบุถึงความประเสริฐในการละหมาดตัสบีฮฺเอาไว้
ท่านอิหม่ามอบูบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ได้กล่าวไว้ในตำราอัลอะฮฺวะซีย์ ฟี ชัรฮิ อัตติรมีซีย์ หะดีษของอบีรอฟิอฺ (ที่อิหม่ามอัตติรมีซีย์ รายงานเอาไว้และระบุว่าเป็นหะดีษฆ่อรีบ) นี้เป็นหะดีษอ่อน (ฎ่ออีฟ) ไม่มีที่มาสำหรับเรื่องนี้ไม่ว่าหะดีษซ่อฮีฮฺหรือฮะซัน ที่ท่านอัตติรมีซีย์ระบุหะดีษนี้เอาไว้เพื่อเตือนให้รู้และไม่ถูกหลอก และคำกล่าวของอิบนุ อัลมุบาร็อกนั้นมิใช่หลักฐาน นี่เป็นคำพูดของอบูบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ และอัลอุกอยลีย์กล่าวว่า : ไม่มีหะดีษที่ถูกต้องในเรื่องการละหมาดตัสบีฮฺ และอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า : กลุ่มหนึ่งจากบรรดาอิหม่ามของอัศฮาบุชชาฟิอียะฮฺระบุว่าส่งเสริมให้ละหมาดตัสบีฮฺนี้ เช่น อบูมุฮำหมัด อัลบัฆวีย์ และอบุลฮะซัน อัรรูยานีย์ (อัลอัซก๊าร, อันนะวาวีย์ หน้า 168-169)
ท่านชัยค์ อะฏียะฮฺ ศ็อกฺร์ กล่าวว่า : สามารถกล่าวได้ว่าไม่มีข้อห้ามจากการละหมาดตัสบีฮฺ เพราะเป็นเรื่องของความประเสริฐ (ฟะฎีละฮฺ) และบรรดาหะดีษที่อ่อนนั้นถูกยอมรับในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺม๊าลฺ ดังที่นักวิชาการจำนวนมากกล่าวเอาไว้ และการละหมาดตัสบีฮฺเป็นประเภทหนึ่งของการละหมาด มีการซิกรุ้ลลอฮฺในการละหมาดและไม่ได้รวมเอาสิ่งที่ค้านกับหลักมูลฐานที่ถูกต้อง
ส่วนวิธีการละหมาดตัสบีฮฺนั้นคือ มี 4 ร็อกอะฮฺให้ละหมาดทีละ 2 รอกอะฮฺ หรือจะละหมาด 4 รอกอะฮฺรวดเดียวก็ได้ โดยให้ผู้ละหมาดอ่านในแต่ละรอกอะฮฺซึ่งซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ หลังอ่านซูเราะฮฺก่อนการรุ่กัวอฺให้กล่าวตัสบีฮฺ 15 ครั้ง ในการรุ่กัวอฺ 10 ครั้ง ในการอิอฺติด้าล 10 ครั้ง ในการสุหญูดครั้งแรก 10 ครั้ง ในการนั่งระหว่าง 2 สุหญูด 10 ครั้ง ในการสุหญูดครั้งที่ 2 ให้อ่านตัสบีฮฺ 10 ครั้ง หลังการสุหญูดครั้งที่ 2 ให้อ่านตัสบีฮฺ 10 ครั้ง รวมใน 1 รอกอะฮฺมีการอ่านตัสบีฮฺ 75 ครั้ง และใน 4 รอกอะฮฺ มีการอ่านทั้งหมด 300 ครั้ง และการกล่าวตัสบีฮฺนี้ไม่มีสำนวนที่แน่นอน ให้กล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ ว่าลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร” ก็ได้เป็นต้น ส่วนความประเสริฐของการละหมาดตัสบีฮฺนั้น คือ จะได้รับการอภัยโทษ (โทษเล็ก ๆ) ในเบื้องแรก เบื้องท้ายเก่าและใหม่, พลั้งพลาดและเจตนา, เล็กและใหญ่, ลับและเปิดเผย (รายงานโดยอบูดาวูด อิบนุมาญะฮฺ และอิบนุคุซัยมะฮฺ) -อะฮฺซะนุ้ลกะลาม ฟิลฟะตาวา วัลอะฮฺกาม, ชัยค์ อะฎียะฮฺ ศ็อกร์ เล่มที่ 9 หน้า 538-540 โดยสรุป)
ดังนั้นการละหมาดตัสบีฮฺ สามารถทำได้ทุกวัน ทุกอาทิตย์ และทุกปี แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ทำได้หรือไม่ ประเด็นมีอยู่ว่าส่วนใหญ่โต๊ะครูในอดีตมองว่า จะทำอย่างไรให้คนในชุมชนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของตนเองได้ทำอย่างน้อยปีละครั้ง จะเกิดนัดให้ชาวบ้านได้ละหมาดวันนี้
ประเด็นนี้ต้องแยกแยะเช่นกันถ้าการนัดการละหมาดดังเพื่อสะดวกในการทำก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่เจาะจงเหมือนละหมาดที่มีหลักฐานตามศาสนบัญญัติย่อมเป็นบิดอะห์หรืออย่างน้อยที่สุด เป็นการกระทำที่ไม่มีสุนนะฮฺที่ชัดเจน ก็เข้าข่ายว่า คิลาฟุสสุนนะฮฺ คือค้านกับสุนนะฮฺ แต่ไม่ถึงขั้นว่าทำไม่ได้หรือละหมาดไม่เศาะฮฺ
ประเด็นต่อไป คือการละหมาดตัสบีหฮฺนั้นมีสุนนะฮฺ(แบบอย่างศาสนฑูต)ให้ละหมาดแบบญะมาอะฮฺหรือไม่? คำตอบก็คือ ไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺ (อิอานะตุฏฏอลิบีน เล่ม 1 หน้า 299) และถ้าไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺแล้วไปกระทำแบบญะมาอะฮฺล่ะ การละหมาดจะใช้ได้หรือไม่? ในตำราอัน-นิฮายะฮฺระบุว่า “ถ้าหากละหมาดแบบญะมาอะฮฺก็ไม่ถือว่ามักรูฮฺ แต่เห็นต่างกันว่าจะได้ผลบุญหรือไม่? ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าได้ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ได้ (อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 284)
ในตำราอัล-มัจญมูอฺก็ระบุว่าถ้าหากละหมาดแบบญะมาอะฮฺก็ถือว่าการละหมาดนั้นใช้ได้ (อัล-มัจญมูอฺ 3/499) อย่างไรก็ตามการปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำในทำนองนี้ เรียกว่า “คิลาฟุล-เอาลา” ซึ่งหมายความว่าค้านกับสิ่งที่ดีกว่าหรือดีที่สุด แต่ไม่ถึงมักรูฮฺตามกฏเกณฑ์ในมัซฮับ อันนี้ว่าถึงการละหมาดตัสบีหฮฺแบบญามาอะฮฺ
สรุป รายอแน ไม่ใช่ อิบาด๊ะห์คูซูซียะห์ เหมือนวันอีดทั้งสอง มันเป็น ความหมายทางด้านภาษา เท่านั้น ที่โต๊ะครูในอดีต พยายาม นำแนวคิด Islamization มาผนวกกับวัฒนธรรมชุมชน แต่ถ้ารายอแน เป็นพิธีกรรม เหมือน อีดทั้งสอง ย่อมเป็น บิดอะห์ หรืออุตริกรรมอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้ อย่าทะเลาะกัน ยังมีเรื่องฟิกฮ์อีกมากมาย ที่ อุลามาอ์ยังเห็นต่างในแง่วิชาการ เพียงแต่คนปฏิบัติควรรู้ในสิ่งที่เขากำลังทำ และโต๊ะครูก็ต้องช่วยชี้แจง
ที่สำคัญที่สุด ของคนที่กล่าว่าหาว่ามันบิดอ๊ะห์ ท่านได้เยี่ยม ญาติ ไปหลุมศพพ่อ แม่ ญาติสนิทเพื่อรำลึกความตายกี่ครั้งแล้วปีนี้ และถือศีลอด หกวันครบหรือยัง (ที่นบีทำเพราะมันเป็นสุนนะฮ์ )
หมายเหตุ: 1. หลักฐานศาสนบัญญัติ รวมถึงตำราทางศาสนาคัดลอกและเรียบเรียงจาก ทัศนะอาลี เสือสมิง http://alisuasaming.com/webboard/index.php?topic=436.0
2. โปรดดูบทความประกอบของ Matty Ibnufatim Hamady เรื่อง รายอเเน ( อีดิลอับรอร) มีใจความดังต่อไปนี้
หลักฐานของนักวิชาการที่กล่าวว่า มุสลิมไม่สามารถเรียกว่า " รายอเเน" หรือ " อีดิลอับรอร" ได้ เอามาจากคำกล่าวของท่าน อิบนุฮายัร อัลฮัยตามีย์ ในหนังสือ อัลฟาตาวีย์ ฟิกฮียะห์ อัลกุบรอฮ รวบรวมโดยลูกศิษย์ ของท่าน คือ เชค อัลฟากีฮานีย์ เเละ คำกล่าวของท่าน อิบนุมุฟลิฮ รวมทั้ง อิบนุตัยมียะห์ เเละนักวิชาการเหล่านี้มักศึกษาเพื่อหาหลักฐานมาโจมตีคนอื่น
1. ท่าน อิบนุตัยมียะห์ กล่าวว่า
أما اتخاذ موسم غير المواسم الشرعية كبعض ليالي شهر ربيع الأول التي يقال : إنها ليلة المولد أو بعض ليالي رجب أو ثامن عشر ذي الحجة أو أول جمعة من رجب أو ثامن شوال الذي يسميه
الجهال عيد الأبرار فإنها من البدع التي لم يستحبها السلف ولم يفعلوها والله سبحانه وتعالى أعلم
( وأما ثامن شوال : فليس عيداً لا للأبرار ولا للفجار , ولا يجوز لأحد أن يعتقده عيداً, ولا يحدث فيه شيئاً من شعائر الأعياد ) ا. هـ. الاختيارات الفقهية ص/199
ความว่า " การยึดถือฤดูที่ไม่ใช่ฤดูทางชาเราะอุ เช่น การยึดถือบางคืนในเดือนรอบีอุลเอาวัล เป็นคืนเมาลิดนบี ศอลฯ หรือ บางคืนในเดือนรายับ หรือคืนที่ 8 ในเดือนซุลฮิจยะห์ หรือ วันที่ 8 ของเดือนเชาวาล ซึ่งคนโง่ได้ตั้งชื่อว่า อีดิลอัลรอร ( รายอเเน) นั้น เป็นส่วนหนึ่งของบิดอะห์ เเละ ชาวสาลัฟไม่ปฏิบัติกัน ส่วนวันที่ 8 ของเดือนเชาวาล ไม่ใช่วันอีด อัลอับรอร หรือ อัลฟุญญาร เเละไม่อนุญาตให้ยึดว่า เป็นวันอีด เเละห้ามอุตริกรรมสิ่งหนึ่งที่มาจากชีอารของวันอีดต่างๆ "
2. ท่าน อิบนมุฟลิฮ กล่าวว่า
لا يَجوز تسمية الثامن من شوال عيد الأبرار، ولا يجوز اتِّخاذه عيدًا؛ لموافقته انتهاء صيام الست من شوال، لمن صامها متتابعة بعد العيد
ความว่า " ไม่อนุญาตให้ตั้งชื่อวันที่ 8 ของชาวาล เป็นวันอีดิล อัลอับรอร ( รายอเเน) เเละไม่สามารถรวมฉลองวันอีดได้ สำหรับคนที่ถือศีลอด"
วันอีดในศาสนาอิสลามมีเพียง 2 วันเท่านั้น ไม่มีวันอีดบวชหกใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนการละหมาดตัสบีห์และการไปเยี่ยมกุบูรนั้นอนุญาตให้กระทำได้ไม่ว่าจะเป็นวันวันใดของเดือนเชาวาลเพราะไม่มีตัวบทศาสนามาระบุเจาะจงห้าม หากเราทำก็ไม่อนุญาตให้เชื่อมั่นว่าศาสนาได้เจาะจงให้ทำการละหมาดตัสบีห์หรือการเยี่ยมกุบูรในวันที่ 6 หรือ 7 หรือ 8 ของเดือนเชาวาล เพราะถ้าเชื่อเจาะจงเช่นนั้นถือว่าเป็นบิดอะฮ์ เพราะไม่มีหลักฐานมาระบุรับรอง
3. คำกล่าวของท่าน อิบนุฮายัร จาก หนังสือ อัลฟาตาวา อัลฟิกฮียะห์ อัลกุบรอ เล่ม 1 หน้าที่ 272
หมายเหต: ดูเเละอ่านคำตอบของท่าน อิบนุฮายัรให้ดี...นักวิชาการที่ต่อต้านรายอเเน เอาคำตอบของท่าน อิบนุฮายัร ไปหักล้าง โจมตีคนอื่น
(وَسُئِلَ) - رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ - بِمَا لَفْظُهُ فِي شُعَبِ الْإِيمَانِ الْفَارِسِيَّةِ لِلسَّيِّدِ نُورِ الدِّينِ مُحَمَّدٍ الْأَبَجِيِّ - رَحِمَهُ اللَّهُ - أَنَّهُ لَا يَجُوزُ تَسْمِيَةُ الثَّامِنِ مِنْ شَوَّالٍ عِيدًا وَلَا اعْتِقَادُهُ عِيدًا وَلَا إظْهَارُ شَيْءٍ مِنْ شِعَارِ الْعِيدِ فِيهِ فَهَلْ صَرَّحَ بِذَلِكَ غَيْرُهُ أَوْ فِي كَلَامِ غَيْرِهِ مَا يُؤَيِّدُهُ وَهَلْ اتِّخَاذُ الطَّعَامِ الْكَثِيرِ فِيهِ كَمَا فِي الْعِيدِ إظْهَارٌ لِشِعَارِ الْعِيدِ أَوْ لَا؟
(فَأَجَابَ) بِقَوْلِهِ: لَمْ أَرَ لِهَذَا السَّيِّدِ سَلَفًا فِيمَا ذُكِرَ عَنْهُ. وَلَيْسَ مَا ذَكَرَهُ بِصَحِيحٍ إلَّا فِي اعْتِقَادِ أَنَّهُ عِيدٌ وَضَعَهُ الشَّارِعُ كَمَا وَضَعَ عِيدَيْ الْفِطْرِ وَالْأَضْحَى فَتَحْرِيمُ اعْتِقَادِ ذَلِكَ ظَاهِرٌ جَلِيٌّ وَأَمَّا مُجَرَّدُ تَسْمِيَةِ ذَلِكَ عِيدًا أَوْ إظْهَارُ شِعَارِ الْعِيدِ فِيهِ فَلَيْسَ بِمُحَرَّمٍ نَعَمْ يَنْبَغِي أَنَّهُ خِلَافُ الْأَوْلَى وَخِلَافُ الْأَوْلَى يُطْلَقُ عَلَيْهِ أَنَّهُ غَيْرُ جَائِزٍ حَمْلًا لِلْجَوَازِ عَلَى مُسْتَوِي الطَّرَفَيْنِ فَلَعَلَّ السَّيِّدَ أَرَادَ بِقَوْلِهِ: لَا يَجُوزُ ذَلِكَ وَإِلَّا كَانَ مُخَالِفًا لِكَلَامِ الْأَئِمَّةِ بِلَا مُسْتَنَدٍ
ตามทัศนะของอิบนุฮายัร เราก็ไม่ได้ยึด หรือศัทธาว่า เป็นวันอีด ของอิสลามอยู่เเล้ว...เเค่เรียกชื่อ ตามที่คนเเก่คนเก่าเรียกมา...คนฉลาดต้องอ่านคำพูดของอิบนุฮายัร เเละท่าน อิบนุมุฟลิฮ ออกอย่างเเตกฉาน
ท่าน อิบนุ มุฟลิฮ รฮ. กล่าวว่า ...
لا يجوز تسمية الثامن ( ไม่สามารถตั้งชื่อได้)
เราไม่ได้ตั้ง....ต้องไปถามคนที่ตั้ง ว่า เค้านียัต อย่างไร... เเละอิบนุมุฟลิฮ กล่าวว่า لمن صام ( สำหรับคนที่บวชซุนัตชาวาลติดกันเท่านั้น) ส่วนคนบวชที่ไม่ต่อเนื่องกัน..ตั้งชื่อได้หรือไม่..
รายอเเน เป็นภาษาชาวบ้าน.... คำว่า เเน มาจาก อือนัม ( ภาษากลาง) ภาษาอาหรับคือ ست มาจากคำว่า ستة เเปลว่า หก เป็นจำนวนวันบวชในเดือนชาวาล 1 วัน เลยตั้งชื่อว่า รายอเเน (ซึงตรงกับวันที่ 8 ของเดือนเชาวัล หากบวชต่อเนื่องกัน นับจาก 2, 3, 4, 5, 6, 7 (6 วัน) ส่วนวันที่ 1 เชาวาล เป็นวันอีดิลฟิตรีย์ ไม่นับ....
ดังนั้นวันที่ 8 เชาวาล เป็นวันรายอเเน......( วันรายอไม่ทางการ ซึ่งเกิดจากการกียาส หลังถือศีลอด 6 วันติดต่อกัน...ส่วนคนที่ไม่บวช ไม่มีรายอเเน่ เพราะ การกียาสใช้ได้เฉพาะคนที่ถือศีลอด เท่านั้น.. อย่างไรก็ตาม หากจะร่วมทำความดี ก็สามารถทำได้ เพราะทำกันหลายๆ คน มีเเรงจูงใจ
ท่านอีหม่าม อันนาวาวีย์ กล่าวว่า.." ใครก็ตามที่ หากละหมาดตารอเเวะห์ ที่มัสยิด เเล้วทำให้เขาขยันทำอีบาดัตมากกว่า ที่บ้าน ไปละหมาดที่มัสยิดที่กว่า เเต่หากทำที่บ้านเเล้วขยันกว่า ก็ทำที่บ้านดีกว่า "
ตามคำพูดของท่านอีหม่าม อันนาวาวีย์ รฮ.. เราควรฉลาดในการดะวะห์คนอื่น...ๆ เช่น คนที่ชอบไปเยี่ยม กุโบร์ วันรายอ เเน หรือ รอยออิสลาม ทั้ง 2 ก็อย่าไปกล่าวว่า บิดอะห์ คนกำลังมีเเรงใจทำความดี...ให้เค้าทำไปก่อน
หากไปพูดว่า บิดอะห์ เเละเค้าหยุดทำทันที่ ไม่ว่า จะเป็นเดือนไหน วันไหน หรือ หยุด เยี่ยมกุโบร์โดยปริยาย....เราต้องรับผิดชอบ เพราะทำให้เขาขาด motivation ที่จะทำอีบาดัตต่อไป...
รายอเเนเเถวบ้านเรา เป็นเเค่ประเภณี ( อาดัต) ไม่ใช่ (อีบาดัต) ที่เกิดจากการกียาสหลังจากการถือศีลหก 6 วัน .ในวันที่ 8 ใครจะไปเยี่ยมกุโบร์ ไปเยี่ยมได้ ใครจะลหมาดตัสบีฮ ก็ละหมาดได้ ใครจะทำข้าวต้มมัดก็ ทำได้ เเต่อย่ายึดถือว่า วันนี้ เป็นวันอีดของอิสลาม เเค่เท่านั้น เพราะรายอนี้ สำหรับคนที่ถือศีลอดติดกัน 6 วันเท่านั้น เเล้วคนที่ถือศีลอดเเบบไม่ติดกัน จะเรียกรายอเเนได้หรือไม่ หรือ เรียกว่า รายอนาน เช่นถือศีลอดวันท 4 เชาวาล หยุด 3 วัน เเล้วถือศีลอด อีก หรือ เลือกไปถือศีลอด 6 วันสุดท้ายของเชาวาล เขาจะไปรยอเเน เดือนต่อไปหรือ เพราะ การถือศีลอด สามารถถือศีลอดเเบบไม่ต่อเนื่องทันทีได้
ตามคำกล่าวของท่านอีหม่าม อันนาวาวีย์ รฮ
قال النووي في "المجموع"، (6/227): "ويستحبُّ أن يصومَها مُتتابعة في أول شوال، فإن فرقها أو أخَّرها عن شوال جاز، وكان فاعلاً لأصل هذه السنة؛ لعموم الحديث
وإطلاقه".
อะไรก็เเล้วเเต่ที่ไม่มีการห้าม สามารถทำได้ อัลลอฮ ซบ ทรงตรัสในอัลกุรอ่านว่า
قوله تعالى وما آتاكم الرسول فخذوه وما نهاكم عنه فانتهوا
ความว่า " อะไรก็เเล้วเเต่ที่ท่านรอซุล ศอลฯ ได้นำมาให้คุณ จงเอาเเละทำตาม และอะไรก็ตามที่ท่านรอซุลฯ ห้าม ก็จงห้ามเเละหยุดทำ"
ส่วนคนที่ไม่ถือศีลออด 6 วันในเดือนเชาวาลตามทัศนะของท่านอาบูฮานีฟะห์ เเละท่าน อีหม่ามมาลิก ที่กล่าว ว่า มักรุฮ เพราะชาวสาลัฟไม่มีใครทำกันนั้น คงต้องไม่พูดถึงเรืองรายอเเน ขนาดการถือศีลอด 6 วันนี้ มักรุฮ
ตามคำกล่าวของท่านอีหม่าม มาลิก รฮ .ในหนังสือ อัลมุวัฎเตาอ
قال يحيى وسمعت مالك يقول في صيام ستة أيام بعد الفطر من رمضان إنه لم ير أحدا من أهل العلم والفقه يصومها ولم يبلغني ذلك عن أحد من السلف وإن أهل العلم يكرهون ذلك ويخافون بدعته وأن يلحق برمضان ما ليس منه أهل الجهالة والجفاء لو رأوا في ذلك رخصة عند أهل العلم ورأوهم يعملون ذلك وقال يحيى سمعت مالكا يقول لم أسمع أحدا من أهل العلم والفقه ومن يقتدى به ينهى عن صيام يوم الجمعة وصيامه حسن وقد رأيت بعض أهل العلم يصومه وأراه كان يتحراه
ดังนั้น มุสลิมไม่ควรเถียงไปมาในเรื่องที่เปิดกว้าง อย่าทำให้โลกเเคบ คนอื่นอยากจะทำ ก็ให้เขาทำ เป็นอีบาดัตของเขา เพราะในวันอื่นเขาอาจจะไม่มีเเรงจูงใจในการทำ ต้องดะวะห์คนด้วยฮิกมัต อย่าชอบโจมตี ฮุกุ่มคนนั้น คนนี้บิดอะห์ไปหมด ว่างมาก มีสิ่งที่ฮารอมมากมายในสังคมที่ควรไปโจมตี หรือห้าม