Skip to main content

WFP รายงานพบชาวโรฮิงยากว่าแสนคน ยังขาดแคลนอาหาร ปัจจัยพื้นฐาน เด็กเข้าภาวะเสี่ยงโรคขาดสารอาหาร จี้รัฐบาลเมียนมาเปิดทางความช่วยเหลือน วอนให้คำนึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก 

ที่มาภาพ  2016 Reuters 

เมื่อวันที่ 7 ..60 โครงการอาหารโลกหรือ WFP ได้ออกรายงานถึงสถานการณ์ขาดแคลนอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงยาในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยพบว่า ปัจจุบันมีชาวโรฮิงยากว่า 100,000คน โดยในจำนวนนี้มีเด็กราว80,000 คน ยังคงขาดแคลนอาหารและปัจจัยพื้นฐาน แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงจากกองทัพจะหยุดลงชั่วคราว 

WFP ระบุว่า กลุ่มคนเหล่านี้กำลังเผชิญหน้าต่อความเสี่ยงทางโถชนาการที่ร้ายแรง หากยังไม่รีบให้การช่วยเหลือ โดยเฉพาะภาวะขาดสารอาหารในเด็กซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต และเสี่ยงถึงชีวิต
 
WFP ยังระบุอีกว่า การกีดกันความช่วยเหลือจากภายนอกเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงอาหารตามหลักโภชนาการได้อย่างเพียงพอ โดยยกให้สถานการณ์ครั้งนี้เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์
 
WFP เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาเร่งจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยของให้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของชาวโรฮิงยา รวมไปถึงการเปิดทางให้องค์กรภายนอกเข้าช่วยเหลือเพื่อช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเร็ว
 
ขณะที่รัฐบาลเมียนมาได้ประกาศปฏิเสธในตัวแทนขององค์การสหประชาชาติในการเข้ามาสอบสวนประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงยา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลเมียนมาไม่รับรองว่าเป็นคนในประเทศ
 
โดยทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.. 60 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาซึ่งนำโดย นางอองซาน ซูจี ได้ออกมาแถลง ปฏิเสธการให้ความร่วมมือในความแก้ปัญหาเรื่องโรงฮิงยาของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่มีการพูดคุยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
 
นาย Kyaw Zeya เลขาธิการประจำกระทรวงการต่างประเทศ เมียนมา กล่าวว่า หาทางยูเอ็นส่งคนเข้ามาเพื่อมาตรการดังกล่าว เราก็ไมมีเหตุผลอะไรที่จะอนุญาตให้พวกเขาเข้ามา
ด้านนางอองซาน ซูจี ซึ่งเข้ามาดำรงในตำแหน่งที่ปรึกษารัฐและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐบาลทหาร เผชิญหน้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรงฮิงยาในรัฐยะไข่ ส่งผลให้มีชาวโรงฮิงยากว่าล้านคนต้องอพยพออกจากพื้นที่ ขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ในรัฐยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธ และชาวเมียนมาส่วนใหญ่ กลับมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์โรงฮิงยาคือกลุ่มผู้อพยพจากบังคลาเทศไม่ใช่คนเมียนมา
 
นางซูจี กล่าวระหว่างการเยือนประเทศสวีเดนในภารกิจของยูเอ็น ว่าการทำตามข้อเรียกร้องของยูเอ็นรังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าชุมชน มีรายงานว่าเมื่อปีที่เเล้ว มีชาวโรงฮิงยากว่า 75,000 คนอพยพไปยังบังคลาเทศหลังจากมีการปะทะอย่างรุนแรงจากฝ่ายทหารที่อ้างว่า เหตุฆ่าเจ้าหน้าที่9 นายที่ชายแดนเป็นฝีมือชาวโรงฮิงยา หนึ่งในชาวโรงฮิงยาซึ่งอพยพออกมากล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพวกเขานั้นคือสิ่งที่ขัดต่อมนุษยธรรมร้ายแรงเพราะนี่คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกเขา
 
รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธที่จะเข้าร่วมภารกิจด้านมนุษยชนที่มีการตกลงในช่วงมีนาคม โดยสหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพในการพูดคุย เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์โรงฮิงยาในรัฐยะไข่ ขณะเดียวกัน นางIndira Jaisingทนายประจำศาลฎีกาอินเดีย ประกาศสนับสนุนและจะดำเนินการในเรื่องนี้ พร้อมกับความสนับสนุนจากสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ อีกสองคน ได้แก่ ทนาย Radhika Coomaraswamy  จากศรีลังกา  และนายChristopher Dominic จากออสเตรเลีย
 
ขณะที่นายMyint Swe รองประธานาธิบดี กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมามีการสอบสวนประเด็นนี้อยู่เเล้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้ว และไม่เข้าใจว่าทำไมยูเอ็นถึงพยายามกดดันในเรื่องนี้ ในเมื่อเครื่องมือการสอบสวนในประเทศก็ดีอยู่เเล้ว
 
ด้าน Human Right Watch รายงานว่า ช่วงที่กองทัพทางการเมียนมาทำการกวาดล้างชาวโรฮิงยา ได้มีการปิดกั้นไม่ให้มีการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยชน ทั้งด้านอาหารและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ รวมทั้งการปิดกั้นสื่อมวลชน องค์กรเอ็นจีโอ ด้านรัฐบาลเมียนมาได้ประกาศยุติปฏิบัติการในพื้นที่เมื่อกุมภาพันธ์ 2017 แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีหลายพื้นที่ที่ยังคงมีการตรึงกำลัง 
 
ที่มาข่าว: https://www.hrw.org/news/2017/07/07/burmas-manmade-disaster