กรณีเจ้าหน้าที่ความมั่นคง (ทหารพราน) มึนเมาสุรา และยิงข่มขู่นักศึกษาหญิง มอ.ปัตตานี
ผมมีประเด็นที่น่าสนใจเรื่อง ความล้มเหลวเชิงระบบของรัฐ ที่ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเช่นนี้เสมอ
ลิงค์ข่าวผู้บังคับบัญชาพร้อมกับเจ้าหนาที่ผู้ก่อเหตุเมื่อคืนนี้ ออกมาแถลงข่าวขอโทษ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1434502176615534&id=11...
มีสี่ประเด็นที่ผมอยากถาม
เจ้าหน้าที่ความมั่นคง + เมาสุรา + พกพาอาวุธปืน + มีความเครียด
- เจ้าหน้าที่เมาสุราและทำผิดวินัย มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง
ผมมั่นใจว่ากรณีเจ้าหน้าที่มึนเมาแอลกอฮอล์ แล้วนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแบบนี้ในสามจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากสุราน้อยที่สุดของประเทศ ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้น
สามปีที่แล้ว มีกรณีทหาร จะขับรถกลับภูมิลำเนาหลังเสร็จสิ้นภารกิจ (นอกเวลาปฏิบัติงาน) ชนรถนร.รร.ธรรมวิทยา เด็กนักเรียนและคนขับรถเสียชีวิต 2 คน
https://manager.co.th/South/ViewNews.aspx…
ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์บอกกันปากต่อปากว่า เจ้าหน้าที่คนนั้นอยู่ในอาการมึนเมา คนที่อยู่ในรพ.วันเกิดเหตุเห็นสภาพทหารก็รับทราบตรงกันว่ามึนเมา แต่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายอื่นๆที่มากันตัวทหารคนนั้นไม่ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด สุดท้ายผู้บังคับบัญชาก็ออกมาแถลงขอโทษและบอกว่าเป็นกรณีสุดวิสัย รัฐจ่ายค่าเยียวยาทำขวัญแก่เด็กนร.ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ (ผมไม่สามารถหาข่าวเรื่องบทลงโทษกรณีนี้)
คลิป ณ ที่เกิดเหตุ
https://www.youtube.com/watch?v=VU6Hz1N9ius
คลิปผู้บังคับบัญชาออกมาแถลงข่าวขอโทษบอกเป็นเหตุสุดวิสัย
https://manager.co.th/South/ViewNews.aspx…
- พกพาอาวุธปืนก่อเหตุในที่สาธารณะ และสุ่มเสี่ยงที่จะมีผู้เสียหายเป็นประชาชน มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง เจ้าหน้าที่มีความเครียด กระบวนการดูแลสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เป็นอย่างไรบ้าง
กรณีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับสิทธิในการติดอาวุธ ในพื้นที่ สุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่ควรต้องได้รับการประเมิน คงไม่มีสายการบินไหนในโลกที่ปล่อยให้นักบินที่กำลังมีปัญหาสุขภาพจิตขึ้นบิน ไม่มีโรงพยาบาลไหนที่ปล่อยให้ศัลยแพทย์ที่มีปัญหาสภาพจิตใจต้องมาผ่าตัดเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย คำถามเดียวกันนี้ควรต้องถามถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอาญาสิทธิในการติดอาวุธเช่นกัน ประชาชนที่ไหนจะไว้วางใจคนติดอาวุธที่ สุขภาพจิตอยู่ในภาวะไม่มั่นคง (ในกรณีนี้ ยังมึนเมาอีกด้วย)
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีกรณี ผอ.รร.แห่งหนึ่งในยะลาโดนยิงเสียชีวิตคาร้านน้ำชา มีการโยงกับกรณีความมั่นคง แต่สุดท้ายกลับเป็นเจ้าหน้าที่มีภาวะเครียดก่อเหตุ และก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่คนเดียวกันเคยแสดงความรุนแรงที่อยู่เหนือการควบคุมอยู่บ่อยครั้ง คำถามคือทำไมรัฐถึงยังสามารถให้เจ้าหน้าที่ที่มีภาวะจิตใจแปรปรวนปฏิบัติงาน และติดอาวุธได้
ลิงค์ข่าว
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_171094
- เมื่อไหร่ที่รัฐจะเลิกปกป้องเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด
ภาพที่เจ้าหน้าที่ระดับสูง ออกมาพูดแป้นแล้น ฉีกยิ้มหน้ากล้อง บอกว่าเป็นเหตุสุดวิสัยบ้าง เป็นอุบัติเหุตบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจะให้อภัยกันได้บ้าง คือการแก้ปัญหาที่ได้ใจลูกน้องมาก แต่สำหรับประชาชนไม่เลย รัฐไม่เคยพิสูจน์ความสามารถในการแจกจ่ายความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ผู้กระทำผิด ในกรณีของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความผิดทั้งในรูปแบบภายใต้คำสั่ง นอกคำสั่ง ในหน้าที่ นอกเหนือหน้าที่ จำนวนมากของความผิดเหล่านี้ได้รับการปกป้องจากกลไกของรัฐเสียเอง เรื่องเช่นนี้ต่อให้ไม่มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่เลย ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนเห็นด้วยและยินยอมพร้อมใจจะร่วมกับรัฐมากขึ้น หนำซ้ำยิ่งทำให้ประชาชนหวาดผวาในตัวเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้นด้วย
- มึนเมาแล้วสร้างความสูญเสีย คนเมารับผิดชอบกันเอง ผู้ผลิตลอยตัว
อาจจะดูเป็นการเชื่อมโยงไกลเกินไป แต่ลองนึกดูดีๆ ว่านี่คงเป็นกรณีที่เท่าไหร่แล้วในสังคมไทยที่ความมึนเมาเป็นสาเหตุของความสูญเสีย เราเสียชีวิตคนเป็นพันคนต่อปี จากอุบัติเหตุทางจราจรที่สุราเป็นสาเหตุ ครอบครัวจำนวนเท่าไหร่ที่แตกแยก ความรุนแรงจำนวนมากที่สาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ ทุกกรณีที่เกิดขึ้นบทลงโทษของความผิดนั้นเป็นของผู้บริโภคแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียว ส่วนผู้ผลิตที่เป็นสาเหตุสำคัญกลับไม่เคยร่วมรับผิดชอบใดๆ โยนความผิดให้ผู้บริโภค ว่าดื่มมากเกินไป ดื่มอย่างไม่รับผิดชอบ ทั้งๆที่ผู้ผลิตเหล่านั้นกระตุ้นการขายด้วยสารพัดวิธีทั้งบนดินและใต้ดิน การกระทำเหล่านี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากการผลิตโดยไร้ความรับผิดชอบเช่นกัน
คงดีไม่น้อยหากทุกกรณีที่ความสูญเสียเกิดจากแอลกอฮอล์ก็ต้องให้ผู้ผลิตที่รวยล้นฟ้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย บางทีอาจจะเรียกสำนึกของผู้ผลิตความสูญเสียที่มากที่สุดแหล่งหนึ่งในประเทศนี้ก็เป็นได้