Skip to main content

 

 

จำนวนพลเมืองชาวมาเลเซียกว่า ๙๕ ชีวิตที่ตกลงใจเดินทางเข้าร่วมขบวนการ ISIS ในพื้นที่ซีเรียและอิรัก ทำให้รัฐบาลมาเลเซียตระหนักถึงอันตรายจากแนวคิดสุดโต่งหัวรุนแรงที่สามารถทำให้ประชากรของตนทั้งที่เป็นเจ้าของธุรกิจ นักวิชาการในมหาวิทยาลัย หรือเยาวชนคนทั่วไปเห็นด้วยและสนับสนุนได้

(ในรายงานเสนอว่ามีชาวมาเลเซียเข้าร่วมเป็นกองกำลังติดอาวุธด้วย)

ภายหลังจากการสิ้นชีพของ ๓๔ คนใน ๙๕ ชีวิตดังกล่าว ส่งผลให้เรื่อง ISIS กลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในประเทศที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ หน่วยงานความมั่นคงมีภารกิจในการสะสางความไม่สงบนี้

๕๓ ใน ๙๕ ยังอยู่ในพื้นที่ความรุนแรง แบ่งเป็น ชาย ๒๔ , หญิง ๑๒ ที่น่าสลดคือมีเด็กชาย ๙ และเด็กหญิงอีก ๘ ชีวิตอยู่ในจำนวนดังกล่าวด้วย

ส่วนที่เหลืออีก ๘ ชีวิตใน ๙๕ ตัดสินใจกลับประเทศ

แผนการรับมือของทางการมาเลเซียอาศัยการบูรณาการระหว่างฝ่ายรัฐที่นำโดยหน่วยงานความมั่นคง ฝ่ายศาสนา ที่ร่วมมือโดยองค์กรศาสนาถูกกฎหมาย และฝ่ายท้องถิ่นที่อาศัยประชาสังคม เริ่มด้วยการสร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของแนวคิดสุดโต่ง

ด้านหนึ่งมุ่งเป้าไปยังการ "หยุด" จำนวนพลเมืองมาเลเซียมิให้เลยเถิดเข้าร่วมกับ ISIS ไปมากกว่านี้ และอีกด้านคือการป้องกันแนวคิดสุดโต่ง ก้าวร้าว มิให้ระบาดในสังคม

ทางการสนับสนุนโครงการการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการ ทัศนคติ ต่อหลักการศาสนา โดยมีทั้งการอธิบายความเข้าใจตนเอง อธิบายความเข้าใจสังคม อธิบายความเข้าใจต่อสถานการณ์โลก ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมแล้วกว่า ๙ หมื่นรายทั่วประเทศ

ทั้งนี้เขายังคิดถึงแผนการฟื้นฟูสำหรับผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงเหล่านี้ โดยผนวกกับกระทรวงกิจการภายในประเทศ (Ministry of Home Affairs) กรมราชทัณฑ์ และกรมการพัฒนาอิสลามมาเลเซีย ( Malaysian Islamic Development Department - JAKIM -)

สามหน่วยงานนี้จะสร้างความเข้าใจอิสลามในเชิงสันติ ช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้ต้องขัง ทั้งในด้านบุคลิกภาพ ทักษะความสามารถในการหาเลี้ยงชีพ รวมถึงการประเมินสภาวะความรุนแรงทางความคิด และความสุดโต่งในแนวคิด

โปรแกรม นี้ มีการทบทวนเป็นระยะๆ หลังๆเริ่มมีกิจกรรมสันทนาการระหว่างผู้เกี่ยวข้องกันบ่อยครั้งขึ้น ทั้งการละศีล-อดทานอาหารร่วมกันในรอมฎอน การเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน ด้วยความตั้งใจที่ว่าหากบรรดาผู้เคยนิยมแนวคิดสุดโต่งสามารถเข้าสังคมได้อย่างปกติแล้ว ก็จะลดความรุนแรงทางความคิด เพิ่มความผูกพันกับชุมชน จะเพิ่มความเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ดีขึ้น

การรักษาสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ให้สมดุลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการป้องกันความคิดสุดโต่งได้ ข้อนี้เขานำกรณีศึกษาที่สมาชิกส่วนใหญ่ของ ISIS ล้วนมาจากประเทศที่สิทธิมนุษยชนอ่อนแอทั้งนั้น.

 

ปล. ทั้งหมดนี้เป็นข้อสรุปจาก "สารวัตร Shafinah" แห่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย ( Royal Malaysia Police) ใน การประชุม UN WOMEN ณ ฯรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ .

 

#PrinceAlessandro

26-09-2017

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

มุมมองตัวแทนประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของ UN WOMEN