Skip to main content

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ภาพระยะใกล้

 

"ยังอยู่กับผู้ใหญ่ลี" (ตอนที่ ๒)

แม้ว่า "ลี กวน ยู" บิดาแห่งสิงค์โปร์จะเป็นนักกฏหมายระดับเกียรติยม มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ แต่แนวคิดการใช้ชีวิตของท่านตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักเศรษฐศาสตร์อยู่เสมอ

ฉะนั้นก้าวย่างของชายผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้นอกจากจะระวังในเรื่องกติกาสังคมแล้ว ยังมีเรื่องการคิดกำไรขาดทุนในทุกๆการตัดสินใจพ่วงอยู่ด้วย

"ผู้ใหญ่ลี" มองว่าชีวิตคนเราควรอยู่เพื่อการลงทุน ถ้ายังมีลมหายใจ ต้องทำให้ชีวิตมีกำไร" สิ่งที่ "ผู้ใหญ่ลี" ค้นพบว่าหนทางแห่งกำไรของคนเรา ล้วนหนีไม่พ้นเรื่อง "การศึกษา"

"ผู้ใหญ่ลี" เป็นหนอนหนังสือที่ผ่านหนังสือมานับพันเล่ม สร้างองค์ความรู้ของท่านไปอย่างไม่สิ้นสุดตลอดระยะเวลาที่ท่านยังอยู่บนโลกใบนี้

สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองที่ "ผู้ใหญ่ลี" นำมาใช้คือ "การพัฒนาความรู้ทางภาษา" เริ่มต้นจากตัวท่านเองที่พบว่าต้นทุนทางภาษาที่ท่านได้ถึงสามภาษาในวัยเด็ก เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นอย่างไร ต่อมาท่านถ่ายทอดไปยังลูกชาย "ลี เซียน ลุง" ที่สามารถพูดได้ทั้งภาษาจีนแมนดาริน มาเลย์ อังกฤษ และภาษารัสเซีย

จนเมื่อลูกชายคนนี้ของท่านดำรงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" สิงค์โปร์ท่านที่สาม ก็ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาด้านภาษาของชาวสิงค์โปร์ ตรงตามหลักสูตรของบิดาแห่งชาติสิงค์โปร์

ช่วงที่ "สิงค์โปร์" ถูกขับออกจาก "มาเลเซีย" ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ นั้น "ผู้ใหญ่ลี" ถึงกับหลั่งน้ำตาออกมาด้วยความคับแค้นใจ

มองไปข้างหน้าสิงค์โปร์จะไปอย่างไร เมื่อสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นไม่มีอะไรเลย แถมพลเมืองยังเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ "สู้กับใครได้ยาก"

มองไปข้างหลังก็ยังมีความไม่ลงรอยทางการเมืองกับประเทศมาเลเซียที่มาเป็น "ประเทศเพื่อนบ้าน" ใหม่ที่ยังคลาบแคลงใจในมิตรภาพที่มี

น้ำตาในวันนั้น ยากจะเอื้อนเอ่ย แต่เป็นน้ำตาที่เป็นดั่งปฏิญานตนของเขาว่า

 

"สิงค์โปร์จะต้องนำหน้าทุกชาติให้ได้ !"

ต้นทุนที่แข็งแกร่งอีกอย่างหนึ่งของ "ผู้ใหญ่ลี" คือ "ครอบครัว" ที่บรรดาสมาชิกครอบครัวต่างมีความสามารถทางการศึกษาที่ดียิ่ง และยึดมั่นในหลักการของการพัฒนาคุณภาพมนุษย์

ความขยันขันแข็งที่อยู่ในสายเลือดชาวจีนยังคงเต้นเป็นจังหวะ แม้กระทั่งบิดาผู้ใหญ่ลีเอง ภายหลังจากเกษียณจากบริษัทเชลล์แล้ว ก็ยังทำธุรกิจนาฬิกา ทั้งๆที่ลูกชายเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศก็ตาม

"ผู้ใหญ่ลี" เริ่มจากจุดนั้น คือ "เอาจุดแข็งของตนเอง มาเผชิญกับความต่ำสุดของความเจริญ"

นามบัตรของผู้ใหญ่ลีในนาม "นายกรัฐมนตรีสิงค์โปร์" ถูกใช้งานมากกว่าสามสิบปี เป็นสามสิบปีที่นับเป็น "มหัศจรรย์" ของชาติสมัยใหม่ ที่จากประเทศเกิดใหม่ก้าวข้ามความล้าหลังมาอยู่ในประเทศโลกที่หนึ่ง หรือ "พัฒนาแล้ว" ภายในระยะเวลาเพียงสามสิบปี ซึงหากเข้าใจไม่ผิด ไม่มีประเทศไหนในโลกที่สามารถทำได้ด้วยระยะเวลาเท่ากับสิงค์โปร์

"ผู้ใหญ่ลี" นอกจากจะออกแบบดินแดนสิงโตด้วยจิตวิญญานของตนเองแล้ว ยังสร้าง "วัฒนธรรม" ทางการเมืองที่น่าอิจฉายิ่ง หากท่านได้รู้จักหรือศึกษาลักษณะนิสัยของนักการเมืองสิงค์โปร์แล้ว จะพบว่ามีนิสัยรักการอ่าน และชอบเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และไม่แปลกเลยที่นักการเมืองสิงค์โปร์ทุกคนจะพูดได้อย่างน้อยสองภาษาขึ้นไป

ตรงตามหลักสูตรของ "ลี กวน ยู" ที่เน้นหนักกับครอบครัวตั้งแต่ยังไม่มีอะไร เป๊ะๆ

แม้ว่า "ผู้ใหญ่ลี" จะไม่ค่อยชอบนักข่าว และมักไม่ค่อยเห็นด้วยกับการเปิดเสรีภาพทางความคิดในสิงค์โปร์ จนเป็นที่กล่าวขวัญในหลายๆเรื่อง

แต่หากในมุมของธุรกิจแล้ว "ผู้ใหญ่ลี" เป็นคนที่เปิดเสรีภาพทางความคิดมาก" จนบรรดานักธุรกิจสิงค์โปร์สามารถสร้างรายได้ได้เป็นกอบเป็นกำ หรือบรรดานักธุรกิจต่างชาติที่เริ่มต้นธุรกิจอย่างก้าวกระโดดเมื่อมาถึงเมืองท่าแห่งนี้

ใน ปี พ.ศ.๒๕๑๓ "ผู้ใหญ่ลี" มองออกว่าในอนาคต ดินแดนเล็กๆที่ตนปกครองอยู่นี้ ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านข้อมูล โจทย์ในขณะนั้นคือจะทำอย่างไรให้พลเมืองสิงค์โปร์เป็นผู้นำด้านข้อมูลของโลก

"ผู้ใหญ่ลี" ไม่รอช้า สั่งการตั้งโรงเรียนสอนคนระดับ "เป็นเลิศ" ขึ้นมาถึง ๙ แห่ง

ผลลัพธ์ออกมาดีเกิดคาด จนต้องสั่งตั้งโรงเรียนในลักษณะเดียวกันอีก ๔ แห่งในปี พ.ศ.๒๕๒๗

บรรดาผลผลิตลูกศิษย์เหล่านั้นได้กลายมาเป็น "กำลังหลัก" ในการสร้างชาติ โดยเฉพาะด้านข้อมูล เศรษฐกิจ ให้สิงโตตัวนี้กลายเป็น "ผู้นำ"ที่น่าเกรงขามมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

สิ่งหนึ่งที่ต้องยกย่อง "ผู้ใหญ่ลี" เป็นการเฉพาะคือเป้าหมายที่มุ่งมั่นและให้ผลดีกับประเทศชาตินั้น "ผู้ใหญ่ลี" จะกัดไม่ปล่อยเด็ดขาด

ส่วนตัวแล้วชอบและชื่นชมในเจตนารมย์ที่ "ผู้ใหญ่ลี" รังเกียจการคอรัปชั่นมาก อาจเป็นเพราะวิสัยทัศน์ท่านไกล ท่านมองเห็นและเข้าใจว่า "คอรัปชั่น"นั้นทำให้ความฝันที่ท่านปราถนาพังลงได้ในพริบตาเดียว

แม้ว่าท่านสามารถทำได้ง่ายกว่าใครอื่น แต่ความฝันของท่านนั้นเริ่มต้น "ยาก" กว่าใครอื่นเช่นเดียวกัน

จนทำให้ "สิงค์โปร์" เป็นชาติที่ติดอันดับการคอรัปชั่นน้อยที่สุดชาติหนึ่งของโลก ในช่วงที่เขาครองอำนาจอยู่

ฉะนั้น ความฝันที่จะทำให้สิงค์โปร์ก้าวหน้ากว่าชาติอื่นๆนั้น ไม่สมควรถูก "ด้อยค่า" ด้วยเศษเงินที่ทำให้เขาและครอบครัวร่ำรวย โดยที่พลเมืองที่เชื่อมั่นในตัวเขาทั้งหลายนั้น "ยากจน"

แบบนั้นผู้ใหญ่ลีคงน้ำตานองหน้าด้วยการถูกขับไล่จากประชาชนของตนเองแน่ๆ ภายหลังจากถูกขับออกจากมาเลเซียแล้วครั้งหนึ่ง

มีความเห็นส่วนหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตว่า ด้วยความที่สื่อถูกควบคุมชนิดละเอียดยิบกระมังที่ทำให้การทุจริตต่างๆภายในรัฐบาลถูกปกปิด มีหนังสือพิมพ์บางฉบับถูกสั่งปิด

แต่กระนั้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางความสามารถของชาวสิงค์โปร์ ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่อรัฐบาลสิงค์โปร์ ที่นับวันต่างเพิ่มความเชื่อมั่นในทุกๆวันของ "ผู้ใหญ่ลี" ก็เป็นคำอธิบายถึงข้อสังเกตนี้ได้อย่างดี

"ผู้ใหญ่ลี" ทำงานหนักมาก ยึดมั่นความเชื่อของตนเองอย่างมุ่งมั่น กว่าจะเข็นสิงค์โปร์มาถึงทุกวันนี้ เมื่อก้าวออกจากตำแหน่งสูงสุดของการบริหารประเทศ "ผู้ใหญ่ลี" ยอมรับว่าประเทศนี้สมควรได้รับ "แนวคิดใหม่" ในการบริหารประเทศ และยังเปิดทางให้มีการ "สืบต่ออำนาจ" อย่างราบรื่น

อย่างไรก็ตาม "ผู้ใหญ่ลี" ยังอดเป็นห่วงถึงอัตราการเกิดของประชากรสิงค์โปร์ที่ลดลงอย่างมาก ถึงขนาดร่างนโยบายหลายประการเพื่อสนับสนุนให้ชาวสิงค์โปร์เร่งผลิตทายาทเพื่อประเทศชาติ

นั้นคือวิสัยทัศน์ที่ "ผู้ใหญ่ลี" มองเห็นเมื่อหลายสิบปีก่อน

และมัน(เริ่ม)กลายเป็นวิกฤตในหลายๆชาติ ไม่ยกเว้นประเทศไทย ที่มีอัตราเกิดตกต่ำมาตลอดระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา

"ผู้ใหญ่ลี" มองว่าการที่จะได้มาซึ่งกำไรนั้น จำเป็นต้องมีทุน

และเมื่อ "ประชากร" ซึ่งเป็น "ต้นทุน" ที่สำคัญที่สุดของชาติลดน้อยถอยลง

"กำไร" ก็ลดลงตามกันไปด้วย หรืออาจประสบสภาวะ "ขาดทุน" ก็เป็นได้

เรื่องนี้ "ผู้ใหญ่ลี" มองขาดครับ .

 

#PrinceAlessandro

10-10-2017

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

"วกลงมาแดนสิงโต" (ตอนที่ 1)