Skip to main content

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ ผู้คนกำลังนั่ง

 

"สูตรสำเร็จเคล็ดลับมหาราชภูมิพลนักพัฒนา"

เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า "มหาราชภูมิพล" นั้นสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาวโลกได้หลายประการ โดยเฉพาะในแผ่นดินไทยแล้วนับเป็น "ยุคทอง" ของประเทศที่มีราชาเช่นพระองค์อย่างแท้จริง

ยุทธศาสตร์ที่พระองค์ตกผลึกและทรงใช้การเป็นรูปธรรม จากนั้นจึงทรงพระราชทานให้แก่ข้าราชการและพสกนิกร ในการเป็นฐานคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในการบริการประชาชนของภาครัฐ หรือจะนับเป็นพระราชจริยวัตรที่ทรงยึดมั่น ปฏิบัติให้เห็นอยู่เสมอผ่านวิธีการทรงงานในทุกๆพระราชกรณียกิจ นั้นสรุปเป็นคำสามคำง่ายๆ ที่เราคุ้นหูกันดีคือ

"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่กลางแจ้ง

คนไทยคุ้นชินกันดีกับภาพที่พระองค์ทรงเสด็จไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทยซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ด้านหนึ่งเปรียบเสมือนการปฏิบัติหน้าที่ที่น่ายกย่องของพระมหากษัตริย์ ในอีกด้านนั้นคือการยึดถือ "ราษฏร" เป็นศูนย์กลางในการจัดการปัญหาและการพัฒนา

แผนที่ กล้องถ่ายรูป นั้นเป็นข้อมูลขั้นต้นที่ยังต้องอาศัย "ส่วนสำคัญ" หน้างานนั้นคือ "ข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่จริง" ดังนั้นการสนทนาในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรในแต่ละพื้นที่ย่อมหนีไม่พ้นในเรื่องของภูมิศาสตร์ อากาศ ความเป็นอยู่ของผู้คน หรือบางครั้งอาจจะสอบถามถึงการบริการราษฏรของภาครัฐ อันถือเป็นการตรวจราชการในรูปแบบการสะท้อนกลับของประชาชนที่กลมกลืนยิ่ง

บทเรียนจากพระราชกรณียกิจที่ผมได้แน่ๆคือการบริการหรือพัฒนา การงานใดก็แล้วแต่ ย่อมขาด "ความเห็น"ของผู้รับบริการ ผู้บริโภคมิได้เลย ทางที่ดียิ่งกว่านั้นคือการเยี่ยมเยียนไปยังพื้นที่จริง ที่เราอยู่ในปัจจัยเดียวกับผู้สะท้อนกลับ นับเป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ได้ทั้งข้อมูลจำเป็น และเพิ่มไมตรีในเวลาเดียวกัน กำไรสองต่อแบบนี้ เป็นแนวทางที่ฉลาดครับ

นี่คือกระบวนของการสร้าง "เข้าใจ" + "เข้าถึง" ที่พระองค์ทรงต่อยอด้วยกระบวนการถัดไปคือ "พัฒนา"

"สวนภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน" เป็นพื้นที่ที่พระองค์ทรงสร้างเป็นห้องทดลองนั้นอยู่ไม่ไกลจากพระเนตรของพระองค์ และยังอยู่ในมหานครอันแวดล้อมไปด้วยหน่วยงานราชการส่วนกลางกันครบ ดังนั้นกระบวนการ "พัฒนา" นั้นมีรากฐานส่วนมากห้องทดลองนี้ครับ

โครงการพระราชดำริหลายเรื่อง เกิดขึ้นจากการต่อยอดในพระตำหนักจิตรลดารฯ ที่พระองค์ทรงปรับแต่งในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่พระองค์ทรง "เก็บข้อมูล" ให้ได้มากที่สุด

การตั้งโจทย์ หาทางเลือกต่างๆ หรือการบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญที่สุดคือ "การลงมือทำ" ที่สามารถเห็นรายละเอียดองค์รวม สามารถเรียนรู้ระหว่างการทดลอง ต่ยอดเป็นการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆได้อีกด้วย

ผมถือว่า "ห้องทดลองในสวนจิตรฯ" เป็นเบื้องหลังสำคัญที่พระองค์ทรงงานอย่างเงียบๆ ที่ส่งผลต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ หรืออาจจะเป็นระดับนานาชาติได้ซะด้วยซ้ำ"

นี่คือตัวอย่างเบสิค สำหรับการอธิบายวิธีการทรงงานในภาพรวม ในยุทธศาสตร์ "เข้าใจ" + "เข้าถึง" + "พัฒนา"

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังนั่ง

พอมองออกไหมครับ ?

หน้าที่การบริการประชาชนย่อมหนีไม่พ้นกับบรรดาภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนการปฏิบัตินั้นคือข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานได้ด้วยยุทธศาสตร์ดังกล่าว แม้เพียงคำเดียวจากสามคำที่ว่า ก็นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่สร้างความหวังให้กับประชาชนได้มากทีเดียว

สิ่งที่ท้าทายนอกเหนือจากการเรียนรู้ในยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือคำถามที่ว่า "#จะทำอย่างไรถึงจะนำหลักคิดดังกล่าวนี้มาประยุกต์ใช้กับตนเองได้ ?" ซึ่งคำถามข้อนี้เหมาะสมอย่างยิ่งไม่เฉพาะกับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐในการสร้างสังคมแห่งการพัฒนาที่มีรากฐานแห่งความเข้าใจ เข้าถึงอย่างแท้จริง

การสร้างความ "เข้าใจ"ระหว่างกัน เป็นสิ่งที่จะช่วยให้งานทั้งหลายนั้นสำเร็จได้โดยง่าย เพราะหากเรานำความเข้าใจฝ่ายเราคุมเกมไปทั้งหมดเสียสิ้นนั้น ผลประโยชน์ดังที่คาดหวังก็จะสูญสิ้นเช่นกัน

เมื่อทราบสิ่งที่ต้องแก้ไข ส่วนที่ต้องพัฒนาแล้ว การ "เข้าถึง" ก็เป็นผลดีเช่นกัน เพราะจุดนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เมื่อเราเข้าถึงแล้ว สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ ทำอย่างไรให้เขา "อยาก" เข้าถึงเราด้วย

มันเป็นการสื่อสารสองทาง เป็นมิตรภาพที่ต่างฝ่ายต่างเติมเต็มไปด้วยกัน

แน่นอนเมื่อต่างฝ่ายอยากทั้ง "เข้าใจ" อยาก "เข้าถึง" ด้วยแล้ว

คำว่า "พัฒนา" จะอยู่บนพื้นฐานการเห็นด้วยร่วมกันของทุกฝ่าย และถือเป็นการพัฒนาที่มีศักยภาพสูงยิ่ง

คิดกลับกัน ...

ปัญหาที่แก้กันไม่ตกในสังคมแต่ละอย่างนั้น ย่อมขาดคำใดคำหนึ่งในสามคำนี้เป็นแน่ หรือบางปัญหานั้นหายไปทุกคำเลยก็มี

สิ่งที่เราต้องคิดต่อคือ ... ทำอย่างไรให้มี สร้างอย่างไรให้เกิด

ก็นับเป็นการ "สนองราชาโยบาย" ที่คุ้มค่ายิ่งแล้ว

หากมีใครถามถึงความรักอันเหลือล้นของคนไทยต่อพระองค์ว่ามีที่มาอย่างไร

ตอบสามคำไปว่า "เพราะพระองค์ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คนไทยอย่างแท้จริง" และเมื่อมาดูกันจริงๆ ก็ "เออหว่ะ ... ทั้งรัชสมัยของพระองค์ หนีไม่พ้นสามคำนี้จริงๆ".

 

#PrinceAlessandro

15-10-2017