Skip to main content

 

 

(ปล.มีผู้อ่านบางท่านอยากให้ผมรับใช้ถึงข้อมูลในการสืบสัตติวงศ์ของราชวงศ์ซาอูดคร่าวๆ จึงเรียบเรียงให้ได้อ่านกันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ร่วมกันนะครับ)

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม

 

๑. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอาซิส

"ราชอาณาจักรซาอุดีอารเบีย" ถูกสถาปนาอย่างเป็นทางการโดย "สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอาซิส" ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาอูด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปีเดียวกับสยามเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี

เอกลักษณ์ในการปกครองอย่างหนึ่งของราชวงศ์นี้คือกฏมณเฑียรบาลที่ "คิงอับดุลอาซิส" ได้ทรงดำริตั้งเกณฑ์ถึงการสืบทอดอำนาจ "จากพี่สู่น้อง" ในบรรดาพระราชโอรสของพระองค์

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, หมวก และ ภาพระยะใกล้

 

๒. สมเด็จพระราชาธิบดีซาอูด บิน อับดุลอาซิส

"คิง อับดุลอาซิส" ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ครองราชย์ได้ ๒๑ ปีเศษๆ จึงเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรจึงมี "สมเด็จพระราชาธิบดีซาอูด บิน อับดุลอาซิส" ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ของ "คิงอับดุลอาซิส" ขึ้นเป็นประมุขครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน

 

๓. สมเด็จพระราชาธิบดีไฟซอล บิน อับดุลอาซิส

"คิงซาอูด" ครองราชย์ได้ประมาณ ๑๑ ปี ถูก "เจ้าชายไฟซอล" พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์ปฏิวัติทางราชบังลังค์ด้วยเหตุผลทางการบริหารราชการแผ่นดิน จนเกิดข้อตกลงที่ "คิงซาอูด" จะเสด็จไปใช้ชีวิตในแผ่นดินกรีซ และ "เจ้าชายไฟซอล" จะสวมมงกุฏคิงแทน

"เจ้าชายไฟซอล บิน อับดุลอาซิส" จึงขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชาธิบดีไฟซอล" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๗

"คิงไฟซอล" ครองราชย์ได้เกือบ ๑๑ ปี ก็ถูกลอบปลงพระชนม์จากพระราชนัดดาของพระองค์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ นั้นเอง อันเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก และส่งผลให้ทิศทางของราชอาณาจักรเปลี่ยนองศานับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, เครา

 

๔. สมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด บิน อับดุลอาซิส

ภายหลังจากยุค "คิงไฟซอล" แล้ว "เจ้าชายคอลิด" พระราชโอรสอีกพระองค์ของ "คิงอับดุลอาซิส" ขึ้นเป็นพระประมุขของชาติ รัชสมัยของคิงคอลิดนี้ ราชอาณาจักรเริ่มมีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขนานใหญ่ พระองค์ทรงอยู่ในบัลลังค์ได้ ๗ ปี ก็เสด็จสวรรคต

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน

 

๕. สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัด บิน อับดุลอาซิส

"เจ้าชายฟาฮัด" เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา (พี่ชาย) ต่างมารดาในเดือนมิถุนายนปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็น "สมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัด"

พ.ศ.๒๕๓๘ พระองค์ทรงประชวรด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) จึงทำให้ไม่สามารถทรงงานได้เต็มกำลัง "มกุฏราชกุมารอับดุลลอฮ" จึงต้องทำหน้าที่แทนพระองค์นับตั้งแต่นัั้นจนถึง พ.ศ.๒๕๔๘ "คิงฟาฮัด" เสด็จสวรรคตในกรุงริยาด นครหลวงของราชอาณาจักรซาอุดีอารเบีย

๒๓ ปีของรัชสมัย "คิงฟาฮัด" ทำให้พระองค์ถูกนับเป็นพระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซาอูด

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, สถานที่กลางแจ้ง และ ภาพระยะใกล้

 

๖. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ_บิน_อับดุลอาซิส

ภายหลังจากการทรงงานในฐานะ "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ของ "คิงฟาฮัด" พระเชษฐาต่างพระราชมารดานับทศวรรต เมื่อราชบังลังค์ว่างลง "เจ้าชายอับดุลลอฮ" จึงเสวยราชย์เป็น "สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ" ในพระชนมายุ ๘๐ พรรษา เมื่อสิงหาคมปี พ.ศ.๒๕๔๘

รัชสมัยของ "คิงอับดุลลอฮ" นั้น โลกได้อยู่ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว มีปรากฏการณ์หลายวาระที่ทำให้นโยบายของราชอาณาจักรนี้ต้องเผชิญกับความผันผวนทางการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นปรากฏการณ์ "อาหรับสปริงค์" ที่ส่งผลให้มีการทบทวนนโยบายขนานใหญ่ของประเทศ

เช่นกันที่ "คิงอับดุลลอฮ" ทรงตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงทางบริบท โดยเฉพาะในเรื่อง "อายุ" ของบรรดาพระราชโอรสของ "คิงอับดุลอาซิส" ที่เข้าสู่ช่วงบั้นปลายชีวิตด้วยกันทั้งนั้น

ด้วยข้อประจักษ์ในเรื่องนี้ พระองค์จึงดำริให้มี "สภาสวามิภักด์" (هيئة البيعة‎‎ , Allegiance Council ) ขึ้นในธันวาคมปี พ.ศ.๒๕๕๐

โดยมีบรรดาเจ้าชายที่เป็นพระราชโอรสของ "คิงอับดุลอาซิส" เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง และบรรดาเจ้าชายที่เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของ "คิงอับดุลอาซิส" สมทบกลายเป็นสภาขึ้น

"สภาสวามิภักด์"นี้มีหน้าที่ในการจัดการให้การสืบสัตติวงศ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยถือว่ามติของสภาฯนี้เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้สืบสัตติวงศ์ต้องได้รับการเห็นชอบ มิเช่นนั้นแล้วจะไม่ครบเงื่อนไขในการเป็นประมุขของราชอาณาจักรนี้ได้

"คิงอับดุลลอฮ" บริหารประเทศเป็นเวลาทั้งสิ้นเกือบ ๑๐ ปี จึงเสด็จสวรรคตใน ๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ ทาง "สภาสวามิภักด์"มีมติให้ "เจ้าชายซัลมาน บิน อับดุลอาซิส" ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อไป

 

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน

 

๗. สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน_บิน_อับดุลอาซิส

ภายหลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว "คิงซัลมาน" มีพระราชโองการแต่งตั้งมกุฏราชกุมารไปแล้วถึง ๓ พระองค์ ได้แก่ "เจ้าชายมุกริน" พระอนุชาต่างพระราชมารดา , "เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน นาเยฟ" พระเชษฐาน และ "เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน" พระราชโอรสวัย ๓๒ พรรษา

ขึ้นชั้นเป็น "สมเด็จพระราชาธิบดี" ที่มีมกุฏราชกุมารในรัชสมัยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซาอูด

นี้เป็นการกล่าวถึงการสืบสัตติวงศ์แห่งราชวงศ์ซาอูดคร่าวๆ ให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นภาพใหญ่ อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาความเป็นไปในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะดินแดนมหาเศรษฐีทองคำดำแห่งนี้

จะสังเกตเห็นว่า "สมเด็จพระราชาธิบดี" ที่สืบราชบังลังค์ต่อจาก "คิงอับดุลอาซิส" ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ ล้วนมีคำลงท้ายพระนามว่า "บิน อับดุลอาซิส" อันหมายถึง "บุตรของอับดุลอาซิส" ตามดำริในกฏมณเฑียรบาล "พี่สู่น้อง" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น

การตั้ง "สภาสวามิภักด์" ของ "คิงอับดุลลอฮ" นั้น นอกจากการเตรียมตัวเพื่อความเรียบร้อยในการสืบราชบังลังค์แล้ว ยังหมายถึงสัญลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เราทราบถึง "ความไม่ลงตัว" ในอำนาจ ที่จำต้องมีองค์กรหนึ่งขึ้นมาเพื่อดูแลและจัดการอุปสรรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การเปลี่ยนผ่าน" จากรุ่นลูกสู่หลานนี้

น่าติดตามที่ว่าเมื่อแผ่นดินทะเลทรายแห่งนี้เปลี่ยนรัชกาลอีกครั้ง "สภาสวามิภักด์" จะมีทิศทางในการตัดสินใจอย่างไรต่อไป เมื่อกลยุทธ์การกระชับอำนาจของ "เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน" เริ่มทำงาน

เป็นช่วงเวลาแห่งการ "เปลี่ยนผ่าน" ที่เปราะบางและอยู่ในความสนใจของผู้สนใจในความเคลื่อนไหวของโลก

ว่ากันว่าการเปลี่ยนผ่านจากรุ่นลูกสู่หลานในราชบังลังค์ซาอุดีนี้ จะเป็น "ย่อหน้า" ทางประวัติศาสตร์สำคัญ ที่มีผลต่อภูมิภาคตะวันออกกลางทั้งภูมิภาค และย่อมมีผลกระทบต่อการหมุนของโลกอย่างแน่นอน

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใคร

 

๘ สมเด็จพระราชาธิบดี__________บิน_________

 

เป็นใครพระองค์ไหน ...

โลกเราก็ยังหมุน เพียงแต่จะหมุนเร็ว หมุนช้า ตามความคิดของใครนั้น ก็จะเมินการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ยากจริงๆ.

#PrinceAlessandro

10-11-2017