Skip to main content

ปากคำเหยื่อทางเพศโรฮิงญา ฝันร้ายที่เธอไม่เคยลืม กับความหวังที่อยู่หลังม่านหมอกแห่งความเศร้า เอพีเผยเรื่องราวสุดช็อก การข่มขืนถูกใช้เพื่อสร้างความหวาดกลัวในปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 

(ภาพโดยAP)

 

ฝันร้ายของนาง F 

 

มิถุนายน ทางตะวันออกของรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา 

 

สามีภรรยาโรฮิงญาคู่หนึ่ง ซึ่งเพิ่งแต่งงานกันมาได้เพียงหนึ่งเดือน เขาทั้งสองนอนหลับอยู่บ้านของตัวเอง ก่อนจะมีทหาร 7 นายบุกเข้ามา นาง F ผู้เป็นภรรยารู้ทันทีว่า ความโหดร้ายกำลังจะเกิดขึ้นกับพวกเขา เพราะที่ผ่านมา เธอทราบข่าวมาตลอดว่าตอนนี้กองทัพเมียนมากำลังกวาดล้างหมู่บ้านโรฮิงญา หนึ่งวันก่อนหน้านั้นที่พ่อแม่ของเธอจะโดนฆ่าและพี่ชายได้หายตัวไป  และตอนนี้พวกนั้นได้บุกเข้ามาหาเธอ พวกเขาจับตัวสามีเธอมัดไว้กับเชือก และดึงฮิญาบของเธอไปปิดปากสามี ทหารพวกนั้นยังถอนเครื่องประดับของเธอและ ฉีกเสื้อของเธอออกโยนลงบนพื้น หลังจากนั้น พวกเขาก้ลงมือข่มขืนเธอต่อหน้าสามี 

 

นี่คือเรื่องราวจากคำบอกเล่าของ นาง F หญิงชาวโรฮิงญาอายุ22 ปี หนึ่งในเหยื่อทางเพศที่ได้ให้สัมภาษณ์กับทางเอพี (The Associated Press-AP ) โดยรายงานชิ้นนี้ เป็นผลงานการสอบปากคำ สอบสวนหลังเหตุการณ์ ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ทางรัฐบาลและกองทัพเมียนมาอ้างว่า เกิดจากการเข้าโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาก่อน จากนั้นปฏิบัติการทางทหารจึงเริ่มต้นขึ้น ส่งผลเห็นให้เกิดปรากฏการณ์ผู้อพยพกลุ่มใหญ่จำนวนล้านคน เรียกได้ว่าจำนวนผู้อพยพชาวโรฮิงญานั้นทะลุประวัติการณ์ของโลกในรอบปี 

 

การสัมภาษณ์ปากคำของเหยื่อทางเพศ 29 คน ที่เอพีรายงานพวกเธอทั้งหมดยินดีที่ให้ชื่อจริงของพวกเธอ แต่ในการเผยแพร่ครั้งนี้ได้ใช้เฉพาะตัวอักษรแรกเท่านั้น เพื่อปกป้องชื่อจริงและนามสกุลที่อาจส่งผลต่อครอบครัวและเครือญาติในอนาคตได้ 

 

กลับมาที่เรื่องราวของนาง F เธอเล่าว่าตอนนั้นเธอพยายามสุดแรงที่จะป้องกันตัวเอง แต่ชายอีก4 คน จับแขนและขาเอาไว้ พร้อมกับทุบตีเธอ ขณะเดียวกันนั้นสามีของเธอพยายามดิ้นจนผ้าที่มัดปากหลุด เขาพยายามร้องขอความช่วยเหลือ แต่ทันใดนั้นเอง ทหารนายหนึ่งก็ยิงสามีของเธอเข้าที่หน้าอก และอีกนายก็ตัดคอเขาอีกที 

 

เธออธิบายความรู้สึกตอนนั้นว่า แทบเป็นบ้ากันสิ่งที่เกิดตรงหน้า ทำอะไรไม่ถูกและงุนงงไปกับเหตุการณ์ 

 

เธอเล่าต่อไปว่า หลังจากที่พวกทหารข่มขืนเธอเสร็จ พวกเขาลากร่างของเธอออกไปด้านนอกและตั้งไว้ที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งไฟกำลังไหม้อยู่ โชคดีที่เธอยังรอดชีวิตจากฝันร้ายคืนนั้น

 

นับจากเหตุการณ์ที่อยากลืมนั้นมาสองเดือน เธอรับรู้ว่ามีความผิดปกติในร่างของเธอ ตอนนี้เธอกำลังตั้งท้อง

 

กว่าสามเดือนหลังจากเหตุการณ์บุกบ้านของนาง F  เธอใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อนบ้านที่มีลูกห้าคน สิ่งที่เธอเฝ้าครุ่นคิดมาตลอดคือเด็กที่อยู่ในท้องนี้เป็นลูกของใคร ความเจ็บปวดที่อยู่ในใจเรื่อยมา เธอเฝ้าภาวนาขออย่าให้มีอะไรที่ร้ายแรงไปกว่านี้อีกเลย แต่เเล้วเหมือนบทภาวนาเธอจะช้าไป 

 

กลางเดือนกันยายน ชาย5 คนบุกเข้ามาในบ้านที่เธอมาขออาศัย พวกเขาเริ่มตัดคอเด็กๆ ทั้ง 5 คน และฆ่าผู้เป็นพ่อทิ้ง แล้วทำการข่มขืนภรรยาเจ้าของบ้าน รวมทั้งเธอด้วย 

 

เธอเล่าว่า ตอนนั้นพวกเขาจับเธอและเพื่อนเธอลงพื้น ฉีกทิ้งเสื้อผ้า เพื่อเธอพยายามสู้สุดชีวิต แต่ฝั่งคนพวกนั้นก็ตบตีเธอจนผิวช้ำ ผิวหนังบางส่วนเริ่มหลุด รวมถึงนาง F ก็โดนไปด้วย ระหว่างนั้นเองที่เธอรู้สึกว่า ร่างกายเธอเหมือนล่องลอย เบาหวิว รู้สึกเหมือนว่ามีเลือดไหลออกมาจากระหว่างขาทั้งสองหลังจากผู้ชายคนแรกลงมือข่มขืนเธอ หลังจากนั้นคนที่สองและสามก็หันไปจัดการเพื่อนเธออย่างอำมะหิต หลังจากฝันร้ายคืนนั้นที่เธอเฝ้าภาวนาว่าขออย่าให้เกิด เธอนอนสลบเหมือนคนตายเป็นเวลาหนึ่งวัน 

 

สุดท้าย นางF ก็ฮึดแรงสุดท้ายขึ้นยืน ดึงเพื่อนเธออีกคนขึ้นมา ออกเดินไปยังหมู่บ้านข้างๆ และอีก 10 ต่อมา พวกเธอก็หนีตายข้ามไปยังฝั่งบังคลาเทศ 

 

ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพชาวโรฮิงญา ในเพิงไม้ไผ่ เธอภาวนาว่าเด็กในท้องของเธอจะเป็นผู้ชาย เพราะเหตุผลเดียวคือ “โลกนี้ไม่มีพื้นที่ให้กับผู้หญิง”  เธอบอกว่า ตอนนี้เธอไม่มีใครเหลือแล้ว ความหวังเดียวของเธอคือเด็กน้อยคนนี้ 

 

“ถ้าไม่มีเขา ฉันก็ไม่รู้จะอยู่ต่อไปอย่างไร” นางF  กล่าวทั้งน้ำตา  

 

(นางF กับลูกน้อยของเธอในครรถ์ : ภาพจาก AP)

 

 

รุมข่มขืน ความรุนแรงทางเพศ ปฏิบัติการไร้มนุษยธรรมของทหารเมียนมา

 

 

เอพีระบุว่า รูปแบบการข่มขืนชาวโรฮิงญา โดยกองกำลังทหารเมียนมานั้นที่ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในปฏิบัติการทหาร เรื่องราวชวนน่าหดหู่นี้ ถูกขนานว่าเป็น เครื่องมือที่ใช้เพื่อสร้างความหวาดกลัว "calculated tool of terror" มีเป้าหมายเพื่อกำจัดชาวโรฮิงญา  

 

ตามข้อมูลการสืบสวนครั้งนี้ ระบุว่าอายุขอผู้ให้สัมภาษณ์มีตั้งแต่อายุ 13 ปี ถึง 35 ปี ที่มาจากหมู่บ้านต่างๆ ในรัฐยะไข่ โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง ตุลาคม 2016 และ กลางกันยายนปีนี้ ขณะที่ทางกองทัพเมียนมาไม่ได้มีการออกมาชี้แจงใดๆ กับทาง AP สำหรับประเด็นการข่มขืนของกองทัพ แต่ในรายงานการสอบสวนฉบับของกองทัพเมียนมาเมื่อเดือนพฤจิกายนที่ผ่านมา ไม่มีการระบุถึงกรณีการใช้กำลังข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศอยู่เลย 

 

 

ในช่วงที่ทางการเมืยนมาจัดทริปพานักข่าวลงพื้นที่รัฐยะไข่ ช่วงเดือนกันยายน เมื่อผู้นักข่าวถามถึง กรณีการข่มขืนหญิงชาวโรฮิงญา   นาย Phone Tint รัฐมนตรีต่างประเทศได้ตอบว่า หญิงพวกนี้ที่อ้างว่าตัวเองโดนข่มขืนนั้น ลองดูรูปร่างหน้าตาของพวกเขาสิ น่าข่มขืนตรงไหน 

 

ประโยคนี้สะท้อนอะไรในสถานการณ์แบบนี้? 

 

ขณะที่ทางด้าน แพทย์และองค์กรที่ช่วยเหลือด้านการแพทย์ เปิดเผยว่า พวกเขาต่างตกใจต่อจำนวนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อข่มขืน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่กล้าออกมาพูดเรื่องนี้ อาสาสมัครของ องค์กรหมอไร้พรมแดน หรือ Doctors Without Borders (MSF) เผยว่า ได้ให้การรักษาเหยื่อทางเพศจำนวน 113 คนตั้งแต่สิงหาคมที่เกิดเหตุการณ์ และในจำนวนนั้นมี 3 คนที่เป็นเยาวชนต่ำกว่า 18  ปี อายุต่ำสุดคือเด็กหญิงอายุ 9 ขวบ 

 

ผู้หญิงแต่ละคนที่ให้สัมภาษณ์กับทาง AP อธิบายถึงเหตุการณ์ที่ตัวเองประสบมา ระบุถึง การถูกกลุ่มผู้ชายเข้ามารุมทำร้าย พร้อมกันนั้นยังมีความใช้รุนแรงด้านอื่นๆ ตามมาด้วย นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า คนที่มาข่มขืนนั้นแต่งกายคล้ายชุดทหาร ส่วนมากเป็นสีเขียวเข้มและลายพราง 

 

มีเหยื่อคนหนึ่งที่เล่าต่างไปจากคนอื่น เธอระบุว่า คนที่เข้ามาทำข่มขืนเธอนั้น แต่งกายปกติ ซึ่งเพื่อนบ้านเธอจำได้ว่า เป็นคนจากฝ่ายทหารในพื้นที่ ในส่วนรายะเอียดของเครื่องแต่งกายที่ถูกระบุนั้น เหยื่อหลายคนต่างเล่าว่า บนเสื้อผ้าจะประดับไปด้วยเข็มกลัดรูปดาว หรือบางคนเป็นลูกศร บางเข็มที่ติดบนเสื้อบ่งบอกถึงหน่วยต่างๆ ของทหารเมียนมา 

 

ลักษณะการใช้กำลังความรุนแรงทางเพศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรในปฏิบัติการทางทหารของเมียนมา ซึ่งก่อนหน้าที่ อองซาน ซูจี จะได้ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลเรือนครั้งแรกนับตั้งแต่ตกอยู่ภายใต้ระบบทหารมายาวนาน นางซูจีเคยกล่าวถึงกรณีการใช้ความรุนแรงทางเพศว่า ทหารเมียนมาใช้การข่มขืนเป็นอาวุธเพื่อข่มขู่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แต่เมื่อเธอขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ไม่ใช่เพียงไม่พูดถึงสิ่งเกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา แต่เรื่องการข่มขืนเหล่านี้กลับเงียบหายอย่างสิ้นเชิง ขณะที่ย้อนไปเดือน ธันวาคม 2016 รัฐบาลเมียนมาเคยออกมาโต้กลับหลังมีการเผยแพร่รายงานการข่มขืนหญิงชาวโรฮิงญา ว่ารายงานนั้นเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ 

 

อ้างอิง 

www.apnews.com/5e4a1351468f4755a6f861e39ec782c9