Skip to main content

 

ในภาพอาจจะมี 15 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง

 

แถลงการณ์ 114 นักวิชาการ พร้อมเคียงข้างประชาชน เพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา แถลงวันนี้ 22 ธันวาคม 2560 ที่หน้าศาลจังหวัดสงขลา ในโอกาสที่ 16 ผู้ต้องหา ไปรายงานตัวตามนัดที่ศาลสงขลา

 

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการยืนเคียงข้างประชาชนเพื่อหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และพร้อมเป็น “นายประกัน” ให้แก่การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนของพี่น้องประชาชนชาวเทพา

การรณรงค์จัดหานายประกันเพิ่มเติมครั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เป็นนายประกันให้แก่พี่น้องประชาชน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผู้เดินเท้าไปหานายกฯ ซึ่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 มีการสลายการชุมนุมและจับกุมดำเนินคดีชาวเทพา 16 คน ใน 4 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันเดินหรือเดินแห่อันเป็นการกีดขวางการจราจร ปิดกั้นทางหลวง ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายเจ้าหน้าที่ และพกพาอาวุธหรือไม้แหลมไปในเมืองหรือทางสาธารณะ

 

นักวิชาการที่ร่วมกันเป็นนายประกันมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2. อ.สายฝน สิทธิมงคล วิทยาเขตปัตตานี

3. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย วิทยาเขตหาดใหญ่

4. อ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ วิทยาเขตหาดใหญ่

5. อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ วิทยาเขตหาดใหญ่

6. อ.เสาวณี แก้วจุลกาญจน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

ทั้งนี้ยังมีการระบุว่าอาจจะมีการดำเนินคดีชาวบ้านเพิ่มเติม เพื่อหยุดชาวเทพาไม่ให้เรียกร้องความยุติธรรมแก่ตนเอง ลำคลอง ทะเล หาดทราย ป่าชายเลน ผืนดิน สัตว์น้ำ และอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลใจและทำลายจิตใจที่จะปกป้องธรรมชาติ จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงมีการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการซึ่งเป็นเครือข่ายทางวิชาการพร้อมกับนักวิชาการภาคใต้ จากทั่วประเทศ จำนวน 114 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา ทะเล ทรัพยากรป่าไม้ ประมง ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านพลังงาน ด้านชายฝั่ง ด้านสังคม เช่น ศาสนาและปรัชญา สังคมประชากรและความมั่นคงของมนุษย์ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม สังคมวิทยา รัฐศาสตร์การปกครองท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในโครงการขนาดใหญ่ ความเป็นธรรมทางสังคม สันติศึกษา ประวัติศาสตร์ และกฎหมาย เศรษฐศาสตร์

 

โดยเครือข่ายฯ ได้ส่งตัวแทนนักวิชาการ 5 คนลงพื้นที่เข้าพบชาวเทพาและทำการศึกษาในพื้นที่ตั้งโครงการ มีการนำข้อมูลกลับมาประเมิน เพื่อแสวงหาการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหากรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน จากการศึกษาข้อเท็จจริงในพื้นที่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 พบว่าชาวบ้านจำนวนมากยังคงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดทำลายสิ่งแวดล้อมจากโครงการไฟฟ้าจากถ่านหิน และท่าเรือขนถ่ายหินที่หาดบางหลิง อ.เทพา ทั้งนี้ที่ตั้งของโครงการมีความอุดมสมบูรณ์และมีความสวยงามของธรรมชาติที่ขาดการประเมินทั้งในเชิงคุณค่าและมูลค่า ซึ่งไม่ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ดังนั้นความพยายามเร่งรัดโครงการมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ว่า มีความบกพร่องในการศึกษาผลกระทบอย่างมาก และจะส่งผลเสียหายแก่ชีวิตของธรรมชาติมนุษย์และภูมิทัศน์ อย่างร้ายแรง จนมิอาจฟื้นฟูให้คืนกลับมาเช่นเดิมได้ ยิ่งกว่านั้นมีแนวโน้มว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและกังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น ระหว่างผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและตัวแทนของโครงการ

 

เราในฐานะตัวแทนนักวิชาการ 114 คนตามรายชื่อแนบท้าย มีข้อกังวลและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลมีความเร่งรีบในการตัดสินใจท่ามกลางความขัดแย้ง โดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และมีความบกพร่องทางการศึกษาในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รัฐบาลควรที่จะใช้เวลาในการศึกษาถึงผลกระทบที่คนในชุมชนเทพาจะได้รับอย่างถี่ถ้วน การที่รัฐบาลเร่งรีบตัดสินใจอาจเกิดให้คนเข้าใจผิดได้ว่ามีรัฐบาลอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน

2. มีการข่มขู่ที่จะดำเนินคดีแก่ชาวเทพาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ชัดเจนว่าอันเนื่องมาจากความผิดอะไร การข่มขู่อย่างไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ถือว่าเป็นการข่มขู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างไร้ความเป็นธรรม ทั้งนี้ถือว่ารัฐบาลชุดนี้ขาดธรรมาภิบาลและขาดจริยธรรมในการบริหารประเทศ

3. ความเพิกเฉยของนายกรัฐมนตรี เห็นได้ชัดว่า นายกรัฐมนตรียังคงเพิกเฉยที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของชาวเทพา จนมีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเข้าดำเนินการที่จะยุติการเดินเท้าของชาวเทพา ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเป็นการเดินทางโดยสันติที่ชาวเทพาตั้งใจจะนำเสนอความจริงของพื้นที่ด้วยเจตจำนงค์อย่างสุจริตใจต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันโอชา

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาการพยายาม “ปิดเสียง ปิดปาก” คนที่จะพูดแทนธรรมชาติ เครือข่ายนักวิชาการจึงได้มีมติร่วมกันว่าจะพยายามช่วยเหลือประชาชนที่ลุกขึ้นมาปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรณีพี่น้องประชาชนชาวเทพา ด้วยการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเป็น “นายประกัน” ให้ประชาชนมีขวัญและกำลังใจในการปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป นอกจากนี้เครือข่ายฯ จะทำการศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ของพื้นที่ตั้งโครงการรวมถึงผลกระทบทางสังคม เพื่อนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณชนต่อไป

 

แถลงการณ์ในครั้งนี้ประกาศในนามของเครือข่ายนักวิชาการ 114 คน ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560

รายนามเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้มีดังนี้

1. อาจารย์อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2. อาจารย์สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

3. อาจารย์ สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

4. ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

5. อาจารย์ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

6. อาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

7. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

8. ดร.อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

9. ดร.ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

10. ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

11. ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

12. ดร.ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

13. ผศ.ดร.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

14. ดร.สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

15. อาจารย์นัจมีย์ หมัดหมาน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

16. ผศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

17. ผศ.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

18. อาจารย์ สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

19. ดร. ดิเรก หมานมานะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

20. อาจารย์ สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

21. ผศ.มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

22. ดร. ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

23. อาจารย์ อับดุลอาซิส อับดุลวาฮับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

24. อาจารย์ ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

25. อาจารย์ อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

26. ผศ.นุกูล รัตนดากุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

27. อาจารย์ สมศักดิ์ บัวทิพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

28. อาจารย์ สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

29. คุณวิโรจน์ จิเหม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

30. ผศ.เปรมสิรี ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

31. ผศ.บัญชา สำเร็จกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

32. ผศ.ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

33. ดร.ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

34. ดร.สมพร ช่วยอารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

35. อาจารย์ อามีนี สะอีดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

36. ผศ.ดร.วันวิสาข์ ธรรมานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

37. ผศ.สุทธิศักดิ์ ดือเระ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

38. ผศ.ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

39. ผศ.ดร.ภมรี สุรเกียรติ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

40. อาจารย์ วีรพงษ์ ยศบุญเรือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

41. อาจารย์ อริศ หัสมา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

42. คุณมาเรียนา แนกาบาร์ นักวิชาการอุดมศึกษา สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

43. อาจารย์ ฮามีด๊ะ มูสอ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตตานี

44. อาจารย์ วัสสา คงนคร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

45. อาจารย์ สุรางคนา ตรังคานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

46. รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

47. อาจารย์ ฮัมบาลี เจะมะ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

48. ผศ.ดร.นัฐ ตัณศิลา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

49. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

50. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

51. ผศ. มงคล มาลยารม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

52. ผศ.ดร. สมัย โกรทินธาคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

53. ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

54. ดร.สมฤดี คงพุฒ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

55. อาจารย์ จริยภัทร บุญมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

56. อาจารย์ ปพิชญา แซ่ลิ่ม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

57. อาจารย์ ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

58. อาจารย์ ว่องวิช ขวัญพัทลุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

59. อาจารย์ ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ สถาบันสันติศึกษา วิทยาเขตหาดใหญ่

60. ผศ. จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

61. ผศ. ผจญ คงเมือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

62. ผศ.ดร.ณัฐธิดา รักกะเปา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

63. ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

64. อาจารย์ เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

65. อาจารย์ ศุภวีย์ เกลี้ยงจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

66. อาจารย์ นิจนิรันดร์ อวะภาค คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

67. อาจารย์ ดร. พรไทย ศิริสาธิตกิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

68. ผศ.พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

69. รศ.ดร.อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

70. ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์ประจำโปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

71. ดร.อารยา สุขสม อาจารย์ประจำโปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

72. อาจารย์ อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

73. อาจารย์ นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหา วิทยาลัยวลัยลักษณ์

74. ดร. ชุมพล แก้วสม อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

75. ดร.อนิรุต หนูปลอด อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

76. ดร. กรวิทย์ เกาะกลาง อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

77. ดร. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

78. ผศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

79. อาจารย์ วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80. ผศ.ดร. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

81. ดร. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

82. ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

83. รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

84. ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฬงกรณ์มหาวิทยาลัย

85. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

86. ดร. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

87. ดร. ธนศักดิ์ สายจำปา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

88. อาจารย์ ปฐม ตาคะนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

89. ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

90. ผศ. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

91. อาจารย์ ปวลักขิ์ สุรัสวดี มหาวิทยาลัยมหิดล

92. ผศ. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

93. อาจารย์ ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

94. รศ.ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

95. อาจารย์ ชัยพงษ์ สำเนียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

96. ดร. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

97. ผศ.ดร.เก่งกิจ กินิเรียงลาภ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

98. อาจารย์ อนุสรณ์ ติปยานนท์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

99. อาจารย์ วรรณภา ลีระศิริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

100. อาจารย์พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

101. อาจารย์ หทยา อนันต์สุชาติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

102. อาจารย์ อลงกรณ์ อรรคแสง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

103. ดร. ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

104. ดร.โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

105. คุณณัฐดนัย นาจันทร์ นักวิชาการอิสระ

106. คุณรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ

107. อาจารย์ ปราการ กลิ่นฟุ้ง นักวิจัยอิสระ

108. อาจารย์ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระ

109. อาจารย์ ธัญญธร สายปัญญา นักวิชาการอิสระ

110. นางสาวจิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิชาการอิสระ

111. นายณัฐวุฒิ โชติการ นักวิชาการอิสระ

112. นายอดิศร เกิดมงคล นักวิชาการอิสระ

113. อาจารย์วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ

114. ซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรท์ (2553) และบรรณาธิการ The Melayu Review

ในภาพอาจจะมี 13 คน, ผู้คนกำลังยืน, รองเท้า และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ฝูงชน และ สถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม, ฝูงชน

ที่มา นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ