แซมซู แยะแยง สื่อสันกาลาคีรี
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSW)
โดยปฏิญญาปัตตานีปัตตานีดังกล่าว รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีหมาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้อ่านปฏิญญาเป็นภาษาไทย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศจอร์แดนเป็นผู้อ่านคำประกาศเป็นภาษาอาหรับ เนื้อหาของปฏิญญาปัตตานี สรุปได้ดังนี้
สืบเนื่องจากการหารือในการประชุมนานาชาติ เรื่อง “Roles of Islamic Studies in Post Globalized Societies” ณ จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม 2553 พวกเราเห็นพ้องต้องกัน และรับหลักการสำคัญเพื่อการพัฒนาอิสลามศึกษา จึงขอประกาศปฏิญญาว่า
1. อิสลามศึกษาจะนำไปสู่สันติสุข และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เฉพาะระหว่างชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงมวลมนุษยชาติ
2. อิสลามศึกษาจะบูรณาการศาสนา การศึกษาด้านวัฒนธรรม การฝึกอบรมด้านวิชาชีพและทักษะที่สอดคล้องกันเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน และอนาคตของเยาวชนในรุ่นต่อๆไป
3. อิสลามศึกษาจะส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งรวมถึงความมั่นคงและความยุติธรรมทางสังคมด้วย
4. อิสลามศึกษาจะส่งเสริมความเป็นนานาชาติของมุสลิม ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างพลเมืองของโลก
5. อิสลามศึกษาจะส่งเสริมในเรื่องโอกาสในการพูดคุยระหว่างสมาชิกประชาคมมุสลิม และเสริมสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้ตระหนักถึงสันติภาพของชาติ และป้องกันความคิดที่สุดโต่ง
ภายใต้หลักการสำคัญเหล่านี้ พวกเราในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ขอให้คำมั่นว่า
1. พวกเราจะตระหนักถึงเรื่องความสำคัญ ของคุณภาพ และความสมบูรณ์ของอิสลามศึกษา เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานอิสลามศึกษา (Islamic Studies Coordinating Committee : ISCCO) ภายในปี พ.ศ.2555 (ค.ศ.2012 / ฮ.ศ.1434)
2. พวกเราจะจัดตั้งเครือข่ายองค์กรการวิจัย (Research Organization Network : RON) เพื่อประสานและอำนวยความสะดวกในคุณภาพของงานวิจัยทางวิชาการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่ออิสลามศึกษาและสังคมของเรา
3. ให้การงานวิชาการมีความง่ายดายและสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา
4. การร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น ระหว่างนักวิชาการต่างๆ ในเรื่องของการทำวิจัย
5. มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจร่วม
6. การจัดหลักสูตรทางด้านการศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์
7. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา เป็นจุดศูนย์รวมภาษาอาหรับในประเทศไทย
8. การประชุมลักษณะนี้จะจัดทุกๆ 2 ปี