Skip to main content

      “อาซูรอขนม มากกว่า 1,000 ปี”   

            

                                                    

ขนมอาซูรอ ประเภทชนะเลิศสวยงาม

              วันที่ 28 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ร่วมกับสภาสันติสุขตำบลอัยเยอร์เวง, ชมรมโต๊ะอิหม่าม, โรงเรียนบ้านใหม่วันครู และมัสยิด 10 แห่งในตำบลอัยเยอร์เวง ได้ร่วมกันจัดงานประกวดการทำขนมซูรอของตำบลอัยเยอร์เวง ประจำปี 2553 ณ บริเวณ โรงเรียนบ้านใหม่วันครู บ้านกม.36 ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ภาพทีมงานคณะกรรมการจัดการประกวดกับชมรมโต๊ะอิหม่าม

 

                โดยรายละเอียดนั้นในส่วนแรก องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จะสนับสนุนธัญพืชสมทบกับแต่ละมัสยิดในตำบลอัยเยอร์เวง เพื่อไปจัดทำขนอาซูรอในทุกชุมชนในวันเดียวกัน ในภาคเช้า แลเมื่อทำเสร็จ ก็จะแบ่งส่วนหนึ่งมาส่งประกวดที่ศูนย์การจัดงานที่ โรงเรียนบ้านใหม่วันครูฯ ซึ่งจะมีรางวัลสำหรับผู้ชนะประเภทสวยงาม  3 รางวัล และประเภทรสเลิศ 3 รางวัล โดยมีกรรมการจากทุกภาคส่วน ทั้งข้าราชการ ทหาร และผู้นำศาสนาจากคณะกรรมการอิสลามในอำเภอเบตง ซึ่งบรรยายกาศก็เป็ไปอย่างสนุกสนาน แม้วันนั้นจะมีฝนตกตลอดทั้งวันก็ตาม

เด็กๆจะสานต่อเพราะผู้ใหญ่ถ่ายทอด

เรียนรุ้ซึมซับตั้งแต่วัยเยาว์

เมื่อเติบใหญ่จะได้เป็นวิถี

แม้ขนมอาซูรอสีสันจะไม่ดี

แต่รสชาตินั้น ซูไฮมีบอก "ซือดะห์จริงๆ"

 

                ในส่วนที่สอง ก็เป็นการสาธิตให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และร่วมทำขนมอาซูรอเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่คู่สังคมต่อไปตาบนานเท่านาน  

ยายหลานคู่นี้..เป็นพยาน

 

                 ทั้งนี้ความเป็นมาของการกวนข้าวอาซูรอ หรือกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยศาสดานุฮ (อล) (หนึ่งในศาสดาของศาสนาอิสลาม) หรือศาสดาโนอาร์ (อล) (หากใครเคยดูหนังฝรั่ง ที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมโลก และมีการนำสัตว์เป็นคู่ๆขึ้นเรือใหญ่) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นาของประชาชนและสาวกของศาสดานุฮ (อล) ทำให้เกิดสภาพขาดแคลน ผู้คนทั่วไปอดอาหาร  ท่านศาสดานุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารกันโดยทั่วหน้า และยังผลให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียวในหมู่ชน 

 

ร้อนๆแบบนี้มาเป็นจาน

หรือในกะทะสดๆก็อร่อยเหมือนๆกัน

                คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า"อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน ซึ่งการกวนอาซูรอ มักนิยมทำกันประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และหรือตรงกับวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม อันเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามศาสนาอิสลาม 

 

หนุ่มสาวชาวบ้านร่วมสามัคคี

จะเหลืองหรือแดงก็ไม่เกี่ยง

                การกวนข้าวอาซูรอเริ่มด้วยการที่เจ้าภาพโดยมักจะเป็นผู้นำศาสนาในแต่ละมัสยิดหรือบาราเซาะ ประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อไร แต่จะอยู่ในช่วงเดือนมุฮัรรอมตามที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำวัตถุดิบประเภทผลไม้และธัญพืช เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว ฯลฯ มารวมเข้าด้วยกัน แล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ มาเป็นเครื่องผสมโดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะน้ำมาผสม

  

หน้าตาของขนมอาซูรอในอดีต

vvv

vv

v

อาซูรอในยุคนาโน

 

               วิธีกวนขนมอาซูรอ โดยนำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับกวนขนมอาซูรอ หลังจากที่คั้นน้ำกะทิสดๆใส่กะทะบนเตาไฟให้ร้อนได้ระดับ  ตำหรือบดเครื่องแกงหยาบ ๆ ตามลงไป ยามกะทิเดือดก็ใส่ธัญญาพืชต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ กวนคนด้วยไม้พายจนกระทั่งทุกอย่างสุขเปื่อยยุ่ย กวนต่อไปจนละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ซึ่งในกิจกรรมการกวนจะเป็นการผลัดเปลี่ยนเวียนกันอย่างสนุกสนาน เป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคีได้ดีที่สุดกิจกรรมหนึ่ง และเมื่อเนื้อขนมได้ที่ ก็ตักใส่ภาชนะ ตามแต่ที่ต้องการ จะเป็นถาดหรืออุปกรณ์ใดๆเพื่อให้เกิรูปร่างตามที่ต้องการ ผึ่งให้แห้ง โรยหน้าด้วยไข่เจียวหั่นซอยบาง ๆ โรยหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่นฝอย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ หรือรสนิยมการบริโภคของแต่ละท้องถิ่น ตัดเป็นชิ้น ๆพองาม แจกจ่ายกันรับประทานกันทั่วทั้งชุมชนได้เลย

 

นายดลเดช พัฒนรัฐ

นายอำเภอคนนี้ ชาวบ้านรักมาก

 

นายกคนนี้..ไม่ต้องซื้อเสียง

ผู้กองต้นคนนี้(ขวา) อนาคตไกล

กำนันมะคนนี้..อยุ่ในใจประชาชน

             อย่างที่เคยนำเสนอเมื่อปีกลาย ณ วันนี้ ประเพณีกวนขนมอาซูรอถูกมองข้ามจากเด็กมุสลิมรุ่นใหม่ ขนมขบเคี้ยวหลากสี, ไก่เคนตั๊กกี๊, แฟรน์ฟราย, แฮมเบอร์เกอร์, ช็อคโกแล็ตและสาหร่ายอัดแผ่นจากแดนปลาดิบ มันซึมซับผ่านสื่อทุกวัน ทำให้อิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติมันครอบงำจนยากที่จะยับยั้ง คงไม่เฉพาะเด็กมุสลิม เด็กไทยทั่วประเทศคงไม่น้อยที่ไม่คิดจะร้องหาขนมท้องถิ่น ประเภทห่อนึ่งใบตองอีกแล้ว  ทุกภาพส่วนโดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจะมีวาระที่สำคัญสำหรับวางเป้าหมาย กำหนดยุทธศาสตร์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ อัตลักษณ์แห่งความสมานฉันท์ ในหมู่ประชาชน คงค่าแห่งความดีงามบนรางธารแห่งศาสนา ที่จักถูกยึดโยงสืบสานยังชนรุ่นหลังฯต่อไป .........  

การร้องอนาเซต...อีกมรดกวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษ

เด็กๆร้องแสดงได้น่าสนใจ

กรรมการต่างถิ่นเหมือนรู้ใจ

นายอำเภอโต้โผใหญ่ชิม...กันเปรม

 

 

นายก อบต.ขอบคุณนายอำเภอประธานกรรมการฯ

 

                       

                                             ภาพเมื่อปี พ.ศ. 2552

              

                    เด็กๆเรียนรู้การทำในขั้นตอนนำเนื้อมะพร้าวมาทำกระทิ


              

               

                

                 

                   

                      

หมายเหตุ : เนื้อสมัน ปลาสมัน คือ ปลา หรือเนื้อวัว ที่ต้มเคี่ยวด้วยเครื่องแกงจนแห้ง ใช้ทัพพีขยี้จนเนื้อเหล่านั้นเป็นผงฝอย แล้วนำไปโรยหน้าขนมอาซูรอ ถ้าเป็นชนิดหวานมีส่วนผสมเหมือนอาซูรอชนิดคาว แต่งใส่เครื่องเทศ และอาหารจำพวกเนื้อ เพิ่มน้ำตาลให้มากขึ้นและไม่ต้องโรยหน้า