ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
สถานที่ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ถ.บรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร
วันเวลา : 30-31 สิงหาคม 2550
การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ
เรื่อง
"วิกฤติการรับรู้และการธำรงชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ"
The International Seminar on Crisis of Perception and Ethnicity in Suvarnabhumi
หลักการและเหตุผล
"สุวรรณภูมิ" เป็นชื่อเรียกภูมิภาคอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่โบราณกาลราว 2,000 ปีมาแล้ว หมายถึงดินแดนที่มีพัฒนาการของบ้านเมืองบนพื้นฐานของความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทั้งทางชีวภาพ และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Groups) ที่มีความหลากหลายทั้งทางภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม จนอาจกล่าวได้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภูมิภาคนี้ต่างก็คือบรรพชนทางวัฒนธรรมของคนไทยในทุกวันนี้ด้วย ดังหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ล้วนชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในภูมิภาคนี้ได้มีการติดต่อ แลกเปลี่ยน สังสรรค์กันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ยังไม่มีการเกิดขึ้นของรัฐชาติ และเส้นแบ่งเขตแดนออกเป็นประเทศต่างๆ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการพยายามปรับเปลี่ยนประเทศให้เป็นตะวันตก เช่น การสร้างความเป็นชาติที่เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และได้พัฒนาเป็นกระแสความรู้สึกชาตินิยมในสมัยต่อมา ได้ถูกยกมาเป็นแกนในการสร้างสำนึกให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประเทศไทยเกิดมีพัฒนาการและเป็นแผ่นดินที่อยู่ของประชากรที่เป็นคนเชื้อชาติไทยมาแต่เดิม ทำให้สังคมไทยขาดความสนใจใยดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เคยมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบ้านเมืองมาตลอด
ปัญหาการขาดความเข้าใจและการรับรู้อย่างผิดๆ เกี่ยวกับพื้นภูมิของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย ได้กลายเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบทั้งต่อบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างให้กลายเป็นชนส่วนน้อยที่ด้อยโอกาสในทุกๆ ด้าน ทั้งในแง่การต้องสูญเสียอัตลักษณ์ ปัญหาคนพลัดถิ่น ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ และต่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของผู้คนทั้งประเทศ ดังที่ปรากฏเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งระหว่างกลุ่มชน และความขัดแย้งที่มีต่อรัฐชาติอยู่ขณะนี้ ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าสังคมไทย ได้นำความรังเกียจเดียดฉันท์ การแบ่งพรรคพวกอย่างรุนแรง และการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมต่อประชาชนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในสังคมไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนด้อยของความเข้าใจและการขาดความรับรู้เรื่องราวที่ถูกต้องของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายในภูมิภาคนี้
การจัดสัมมนานานาชาติครั้งนี้ นอกจากเป็นเวทีให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้นำเสนอและถ่ายทอดตัวตนของตนเอง รวมถึงปัญหาตามสถานการณ์ที่เผชิญอยู่แล้ว ยังเป็นโอกาสให้นักวิชาการที่สนใจปัญหาเหล่านี้ ได้พบปะ แลกเปลี่ยน เสนอและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจและการมีมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เกิดการรับรู้ที่สร้างสรรค์ ทั้งยังส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรม และการธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในด้านวิชาการและแนวทางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาที่ละเอียดอ่อนดังกล่าวอย่างปราศจากอคติ
วัตถุประสงค์
มุ่งให้บุคลากรทางการศึกษาของไทยและนานาชาติในระดับภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านชาติพันธุ์และความหลากหลายทางภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน
สถานที่ดำเนินงาน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ถ.บรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร
กำหนดการ
30 - 31 สิงหาคม 2550
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2550
08.15 - 08.45 น.--ลงทะเบียน
08.45 - 09.00 น.--พิธีเปิด
09.00 - 10.00 น.--ปาฐกถาพิเศษ "วิกฤติการรับรู้และการธำรงชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ"
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุเทพ สุนทรเภสัช
10.00 - 10.15 น.--รับประทานอาหารว่าง
10.15 - 12.15 น.--สัมมนา "Voices of Transborder Groups" เสียงสะท้อนกลุ่ม
ชาติพันธุ์ข้ามพรมแดนและนำเสนอเรื่องทางออกของปัญหา
โดย คุณวุฒิ บุญเลิศ ประธานสภาวัฒนธรรมกะเหรี่ยง
ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
อ๊อกปาย วงศ์รามัญ ตัวแทนชาวมอญ
ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
12.15 - 13.15 น.--รับประทานอาหารกลางวัน
13.15 - 15.45 น.--สัมมนา "Shifting Ethnic Identity" การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์
ทางชาติพันธุ์ท่ามกลางบริบทต่าง ๆ
โดย Prof. Huang Luong Hanoi University
Prof. Dr. Yang Guanyuan Yunan Nationalities University
อาจารย์ดำรง ทายานิน ม.ลุนด์ ประเทศสวีเดน
อาจารย์พิเชฐ สายพันธุ์ ม.ธรรมศาสตร์
15.45 - 16.00 น.--รับประทานอาหารว่าง
16.00 - 17.00 น.--สัมมนา "Conceptualization of Transborder and Ethnic Identity"
แนวคิดทฤษฎีข้ามพรมแดน และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
โดย ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
อาจารย์เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2550
08.30 - 09.00 น.--ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 น.--สัมมนา "Ethnic Relation in Crisis" ความสัมพันธ์ของคนในภาคใต้
ปัญหาของคนจีน ไทย มุสลิม พุทธ
คุณมะรอนิง สาและ นักวิจัยท้องถิ่นบ้านดาโต๊ะ จังหวัดปัตตานี
คุณดือราแม ดาราแม ปราชญ์ชาวบ้านนราธิวาส
คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา
คุณสุมาลี ขุนพิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้านทรายขาว จังหวัดปัตตานี
คุณภาวิณี ไชยภาค
10.30 - 10.45 น.--รับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น.--สัมมนา "Ethnic Perception in Media" มโนทัศน์ การรับรู้
และอคติทางชาติพันธุ์ที่ปรากฏในสื่อ
โดย ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
คุณวันดี สันติวุฒิเมธี สาละวินโพสต์
ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ impect
12.00 - 13.00 น.--รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.--Open Discussion
โดย รองศาสตาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธุ์
ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ม.เชียงใหม่
ศาสตราจารย์ ดร.ยศ สันตสมบัติ ม.เชียงใหม่
รองศาสตาจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ม.ธรรมศาสตร์ *
รองศาสตาจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
ม.ธรรมศาสตร์ *
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย
14.30 - 14.45 น.--รับประทานอาหารว่าง
14.45 - 16.30 น.--Open Discussion
สรุปและพิธีปิด
พิธีกร : รองศาสตราจารย์ชนัญ วงษ์วิภาค รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะโบราณคดี
อาจารย์ดำรงพล อินทร์จันทร์ หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี
* หมายเหตุ : วิทยากรอยู่ในระหว่างการติดต่อ